ราชกิจจาฯเผยแพร่ประกาศ ธปท.ตีกรอบการยืนยันตัวตนลูกค้าของธุรกิจ ‘e-Money’

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 5 พ.ค.2563 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้ลงประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การรู้จักลูกค้า (Know Your Customer : KYC) สำหรับการเปิดใช้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีสาระสำคัญ ลงนามโดยนายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 พ.ค.2563 เป็นต้นไป

โดยประกาศดังกล่าว ได้ระบุสาระสำคัญว่า บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่อำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าเพื่อใช้ชำระค่าสินค้าหรือค่าบริการและโอนเงิน ซึ่งได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันรูปแบบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์มีความหลากหลายและในแต่ละประเภทมีระดับความเสี่ยงที่แตกต่างกัน รวมทั้งกระบวนการพิสูจน์ตัวตนลูกค้าของผู้ประกอบธุรกิจหลายรายไม่สามารถตรวจสอบหลักฐานแสตงตนและตัวตนที่แท้จริงของลูกค้าได้

ประกอบกับรูปแบบของการให้บริการที่มุ่งใช้องทางออนไลน์และนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ในการทำธุรกรรมทางการเงิน เพื่อนำไปต่อยอตการให้บริการทางการเงินอื่น ๆ ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม (Digital Platforms) ได้หลากหลายมากขึ้น เช่น การกู้ยืม และการเปิดบัญชีผ่านซ่องทางดิจิทัล จึงอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงจากการปลอมแปลงหรือใช้ข้อมูลของบุคคลอื่นมาเปิดใช้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการฟอกเงินและการทุจริตได้

ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีกระบวนการในการรู้จักลูกค้า (Know Your Customer : KYC) สำหรับการเปิดใช้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งประกอบด้วย 2 ขั้นตอนที่สำคัญ ได้แก่ (1) การแสตงตนของลูกค้า (Identification) และ (2) การพิสูจน์ตัวตนลูกค้า (Verification)

โดยนอกจากผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การรู้จักลูกค้าตามกฎหมายว่าตัวยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินแล้ว ต้องถือปฏิบัติเพิ่มเติมในส่วนการพิสูจน์ตัวตนลูกค้าตามประกาศฉบับนี้ด้วย เพื่อให้การพิสูจน์ตัวตนลูกค้าของผู้ประกอบธุรกิจเป็นไปอย่างเหมาะสม และสอดคล้องตามระดับความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์และซ่องทางการเปิดใช้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งจะช่วยป้องกันการทุจริตจากการปลอมแปลงหรือใช้ข้อมูลบุคคลอื่น ตลอดจนเป็นมาตรการในการป้องกันการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (Anti-Money Laundering, Combating Financing of Terrorism and Combating Proliferation Financing : AML/CFT/CPF) อีกด้วย

หลักเกณฑ์ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างสภาพแวดล้อมของการรู้จักลูกค้าให้มีความปลอดภัยนำเชื่อถือตามระดับความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์และซ่องทางการเปิดใช้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงินอื่น ๆผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม เพื่อให้ทุกฝายสามารถให้และใช้บริการร่วมกันได้อย่างสะตวกและปลอดภัย โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนึงถึงความเท่าเทียมในการกำกับดูแลระหว่างผู้ประกอบธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นสถาบันการเงินและที่มีไช่สถาบันการเงิน


ทั้งนี้ รายละเอียดของประกาศฉบับดังกล่าว มีดังนี้ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/107/T_0045.PDF