บาทแข็งค่า หลังตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรย่ำแย่ที่สุด

แฟ้มภาพ

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพ รายงานว่า สภาวการณ์เคลื่อนไหวตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันที่ 11 พฤษภาคม 2563 ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันน้ (11/5) ที่ระดับ 32.1/20 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าระดับปิดตลาดในวันศุกร์ (8/5) ที่ระดับ 32.25/26 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ดอลลาร์ปรับตัวในทิศทางแข็งค่าหลังจากนักลงทุนกลับเข้าซื้อสินทรัพย์เสี่ยง หลังมีการคลายล็อกดาวน์ในหลาย ๆ ประเทศ ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญเมื่อวันศุกร์นี้ (8/5) กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรดิ่งลง 20.5 ล้านตำแหน่งในเดือน เม.ย. ซึ่งเป็นตัวเลขการจ้างงานที่ย่ำแย่ที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐ อย่างไรก็ดี ตัวเลขการจ้างงานในเดือน เม.ย.ดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะร่วงลง 21.5 ล้านตำแหน่ง ส่วนอัตราการว่างงานพุ่งขึ้นสู่ระดับ 14.7% ในเดือน เม.ย. ซึ่งสูงกว่าระดับ 10.8% ซึ่งเป็นอัตราการว่างงานสูงสุดในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ต่ำกว่าระดับ 24.9% ซึ่งเป็นตัวเลขอัตราการว่างงานในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ส่วนตัวเลขอัตราการว่างงานสูงสุดในช่วงเกิดวิกฤตการเงินในเดือน ต.ค. 2552 อยู่ที่ระดับ 10%

นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากข่าวที่ว่า ผู้แทนการค้าสหรัฐและจีนได้หารือกันเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าเฟสแรก โดยจีนระบุว่า ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะปรับปรุงบรรยากาศเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว

ปัจจัยในประเทศ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า การกู้เงินตามพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท เพื่อเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 นั้น ทำให้ระดับหนี้สาธารณะของรัฐบาลหลังการกู้ 1 ล้านล้านบาทแล้วในปี 2564 จะพุ่งขึ้นไปในระดับ 57% ซึ่งใกล้เคียงกับกรอบวินัยการเงิน การคลัง ที่กำหนดไว้ไม่เกิน 60% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) และหากการแพร่กระบาดของโควิด-19 ยังคงยืดเยื้อ และรัฐบาลจำเป็นต้องใช้เงินกู้เพิ่มเติม คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติแล้วว่าให้กระทรวงการคลังสามารถขยายกรอบเพดานหนี้สาธารณะให้สูงกว่าปัจจุบันได้ ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 31.80-32.06 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 32.15/17 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโร ค่าเงินยูโรเปิดตลาดเช้าวันนี้ (11/5) ที่ระดับ 1.0843/44 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร อ่อนค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (8/5) ที่ระดับ 1.0841/42 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร สหรัฐค่าเงินยูโรอ่อนค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ Ifo ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจของเยอรมนี เปิดเผยว่า การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ทำให้ธุรกิจในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของเยอรมนีพากันเลิกจ้างพนักงาน ไม่ว่าจะในอุตสาหกรรมยานยนต์ไปจนถึงอุตสาหกรรมบริการ

รายงานดังกล่าวระบุว่า บริษัทยานยนต์ 39% ธุกิจโรงแรม% 50% ธุรกิจร้านอาหาร 58% และตัวแทนท่องเที่ยว 43% ต่างมีการเลิกจ้างพนักงานบางส่วนเมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา เพื่อให้ธุรกิจของตนเองอยู่รอด อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมยาดูจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เนื่องจากยังไม่พบว่ามีการเลิกจ้างพนักงาน ทางด้านอังกฤษ นายจอห์นสันกล่าวว่า การยกเลิกมาตรการล็อกดาวน์จะยังไม่เกิดขึ้นในสัปดาห์นี้ แต่ทางรัฐบาลจะดำเนินการอย่างระมัดระวังในการปรับมาตรการต่าง ๆ โดยในขั้นตอนที่ 1 รัฐบาลจะผ่อนคลายมาตรการบางอย่าง โดยจะอนุญาตให้ประชาชนที่ไม่สามารถทำงานจากที่บ้านได้ ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1.1089-1.1234 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดที่ระดับ 1.0816/19 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยน ค่าเงินเยนเปิดตลาดเช้าวันนี้ (11/5) ที่ระดับ 106.95/96 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (8/5) ที่ระดับ 106.35/36 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินเยนในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตราโตเกียวเช้านี้ หลังกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน เม.ย.ร่วงลงน้อยกว่างที่วิตกกันขยับตัวผันผวน ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) รัฐบาลญี่ปุ่นส่งสัญญาณเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า อาจจะยกเลิกการประกาศภาวะฉุกเฉินในพื้นที่ที่มีรายงานการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ลดลง และเงินเยนยังได้รับแรงหนุนจากที่รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศงบประมาณครั้งที่สอง เพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจของ COVID-19 รวมถึงความช่วยเหลือสำหรับบริษัทที่มีปัญหาเรื่องจากจ่ายค่าเช่าและเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากยอดขายที่ชะลอตัว โดยในวันนี้ โดยธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะรายงานสรุปมุมมองทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 105.89-107.41 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 106.03 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ

ดัชนีสำคัญทางเศรษฐกิจในสัปดาห์นี้ ได้แก่ รายงานสรุปมุมมองทางเศรษฐกิจของคณะกรรมการธนาคารกลางญี่ปุ่น (11/5) ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือน มี.ค.ญี่ปุ่น และดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือน เม.ย.ของสหรัฐ (12/5) ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน มี.ค.ญี่ปุ่น การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน มี.ค.ของอียู และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือน เม.ย.ของสหรัฐ (13/5) ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือน เม.ย.ของเยอรมนี จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์และราคานำเข้าและราคาส่งออกเดือน เม.ย.ของสหรัฐ (14/5) ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือน เม.ย.ของญี่ปุ่น อัตราเงินเฟ้อเดือน เม.ย.ของฝรั่งเศส ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1 ของอียูและเยอรมนี ดุลการค้าเดือน มี.ค.ของอียู ยอดค้าปลีกเดือน เม.ย. ของสหรัฐ ดัชนีภาคการผลิต (Empire State Manufacturing Index) เดือน พ.ค.จากเฟดนิวยอร์ก การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน เม.ย. สต๊อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือน มี.ค.ของสหรัฐและความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน พ.ค. จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน (15/5)


สำหรับอัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ +0.5/+0.75 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราป้องกันความเสี่ยง ภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ -2.50/-0.5 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ