ดัชนีความเชื่อมั่นเดือนพ.ค.ยังดิ่งที่ 34.4 ชี้ ภาคขนส่งอ่วมคนหยุดทำงาน-เว้นระยะห่าง

ธปท.เผยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนพฤษภาคม 63 ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ 34.4 ถือว่าอยู่ในระดับต่ำ สะท้อนความเชื่อมั่นที่ยังคงลดลง ส่วนในอีก 3 เดือนข้างหน้า ดัชนีฯ เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 41.1 ต่ำกว่าระดับ 50 ในทุกธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่มขนส่งลดลง เหตุการเดินทางน้อย-การเว้นระยะห่าง แม้ว่าโควิด-19 ผ่อนคลายขึ้น ด้านสภาพคล่องดัชนีลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8

ผู้สื่อข่าวรายงาน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้รายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนพฤษภาคม 2563 ดัชนีฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน มาอยู่ที่ 34.4 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นในเกือบทุกองค์ประกอบและในหลายธุรกิจ ทั้งในภาคการผลิตและภาคที่มิใช่การผลิต ยกเว้น กลุ่มผลิตยานยนต์และกลุ่มผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ดัชนีฯ ยังคงลดลงต่อเนื่องและอยู่ในระดับต่ำมาก เนื่องจากการซื้อสินค้า ราคาสูงของผู้บริโภคลดลงภายใต้ความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจ

เช่นเดียวกับผู้ประกอบการในกลุ่มโรงแรมและร้านอาหาร และกลุ่ม ขนส่งที่ความเชื่อมั่นลดลงต่อเนื่องและอยู่ในระดับต่ำจากการที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจยังกลับมาไม่มากแม้จะเริ่มมีการผ่อนคลาย มาตรการ lockdown และผู้ประกอบการบางรายยังปิดกิจการต่อ เพราะประเมินว่าไม่คุ้มทุนหากกลับมาเปิดเร็วเกินไป

ขณะที่ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ดัชนีฯ ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน มาอยู่ที่ 41.1 ตามสถานการณ์ไวรัส COVID-19 ที่มีแนวโน้มดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯ ยังอยู่ต่ำกว่า 50 ในทุกธุรกิจ สะท้อนว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่าภาวะธุรกิจในระยะข้างหน้าจะยังคงแย่ลงจากปัจจุบัน โดยเฉพาะความเชื่อมั่นในกลุ่มขนส่งที่ลดลง ต่อเนื่องและอยู่ในระดับต่ำ คาดว่าจากต้นทุนต่อหน่วยที่เพิ่มสูงขึ้น จากมาตรการเว้นที่นั่งระหว่างผู้โดยสาร ประกอบกับการเดินทางจะยังไม่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ จนกว่าจะมีการค้นพบวัคซีนซึ่งอาจใช้ เวลานานกว่า 1 ปี ส่งผลให้คาดการณ์ผลประกอบการและการลงทุนของธุรกิจแย่ลง

ส่วนกลุ่มผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีความเชื่อมั่นลดลงตามคาดการณ์คำสั่งซื้อปริมาณการผลิตและผลประกอบการที่ลดลง เนื่องจากในช่วงนี้บางรายได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนบางประเทศที่ปิดประเทศ ทำให้ความต้องการในระยะถัดไปมีแนวโน้มลดลง

ดัชนีความเชื่อมั่นด้านอื่นๆ โดยดัชนีฯ ด้านสภาพคล่องปรับสูงขึ้นแต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 ต่อเนื่อง เป็นเดือนท่ี 8 สะท้อนว่าธุรกิจส่วนใหญ่ยังคงมีสภาพคล่องลดลงจาก เดือนก่อน นอกจากนี้ ธุรกิจส่วนใหญ่ยังได้รับสินเชื่อจากสถาบัน การเงินไม่เพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจ

และสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิดที่มีแนวโน้มดีขึ้น ส่งผลให้ ความกังวลต่อความไม่แน่นอนเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจลดลง แต่กำลังซื้อ จากทั้งจากในและต่างประเทศท่ีมีแนวโน้มอ่อนแอลงกลายเป็น ข้อจำกัดในการดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้นในเดือนน้ี ท้ังน้ี การคาดการณ์ อัตราเงินเฟ้อในอีก 12 เดือนข้างหน้าทรงตัวที่ 1.5%