ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า หลังยอดค้าปลีกเดือน พ.ค.พุ่งทำสถิติใหม่

ค้าปลีก ช็อปปิ้ง
Photo by ISABEL INFANTES / AFP

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพ รายงานว่า ภาวะการเคลื่อนไหวตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันที่ 17 มิถุนายน 2563ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันนี้ (17/6) ที่ระดับ 31.11/13 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าจากระดับปิดตลาดในวันอังคาร (17/6) ที่ระดับ 31.07/09 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าหลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขยอดค้าปลีกสหรัฐเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7 ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 หลังจากดิ่งลงร้อยละ 14.7 ในเดือนเมษาน

ตัวเลขเดือนพฤษภาคมนั้นถือว่าเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ ทำลายสถิติสูงสุดที่เคยเกิดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 2544 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 โดยในครั้งนี้ได้รับแรงหนุนจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค หลังจากที่รัฐบาลผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์

นอกจากนั้น เมื่อคืนนี้ (16/6) นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ ได้ทำการแถลงการณ์รอบครึ่งปีต่อสภาคองเกรซ (Testify) ซึ่งมีใจความสำคัญกล่าวถึงความไม่แน่นอนที่เศรษฐกิจจะต้องเผชิญในการฟื้นตัวจากพิษของโควิด-19 อย่างไรก็ตามการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยังไม่สิ้นสุด และภาคส่วนที่จะต้องเผชิญความเสี่ยงมากที่สุดได้แก่ ธุรกิจขนาดย่อม และผู้ที่มีรายได้ระดับต่ำ รวมถึงชาวอเมริกันซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อย

นายพาวเวลยังคงเน้นย้ำว่า ธนาคารกลางสหรัฐจะใช้เครื่องมือทุกอย่างเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ อย่างไรก็ดี เขาไม่ได้ระบุถึงมาตรการที่ชัดเจนที่จะดำเนินมาตรการในอนาคต

ด้านสำนักรัฐมนตรีสหรัฐ คณะบริหารของนายโดนัลด์ ทรัมป์ นายกรัฐมนตรีสหรัฐกำลังเตรียมแผนการใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐาน วงเงิน 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีเป้าหมายที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวจากผลกระทบของโควิด-19 โดยแหล่งข่าวระบุว่า กระทรวงคมนาคมของสหรัฐกำลังเตรียมแผนการดังกล่าวในเบื้องต้น โดยจะมีการนำเม็ดเงินส่วนใหญ่ไปใช้ในการก่อสร้างถนนและสะพาน นอกจากนี้ จะมีการกันเม็ดเงินส่วนหนึ่งสำหรับโครงการ 5G และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในชนบท

ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยูในกรอบระหว่าง 31.11-31.20 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 31.17/19 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับค่าเงินยูโร ค่าเงินยูโรเปิดตลาดเช้าวันนี้ (17/6) ที่ระดับ 1.1266/70 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร อ่อนค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันอังคาร (16/6) ที่ระดับ 1.329/32 ดอลลาร์สหรัฐ ค่าเงินยูโรยังคงอ่อนค่าต่อเนื่อง โดยปัจจัยหลักยังคงเป็นประเด็นการเจรจาข้อตกลงการแยกตัวของสหราชอาณาจักรจากสหภาพยุโรป (ฺBrexit) ที่ยังคงไม่ได้ข้อสรุป ถึงแม้ว่าเย็นวานนี้ (16/6) สถาบัน ZEW ได้เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจขงสหภาพยุโรปออกมาที่ 58.6 สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 46.0 และของประเทศเยอรมนีที่ 63.4 สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 46.0

บ่ายวันนี้สหภาพยุโรปเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) เดือนพฤษภาคมออกมาที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) เดือนพฤษภาคมออกมาที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยดัชนีทั้งสองตัวนั้นเท่ากับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้

นอกจากนี้ สหภาพยุโรปเสนอให้มีการจัดเก็บภาษีนำเข้าในสินค้ากลุ่มผ้าใยแก้ว (Glass Fiber Fabrics) จากประทเศจีนและอียิปต์ เนื่องจากผู้ผลิตของทั้งสองประเทศได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลจีนและอียิปต์ ทำให้สามารถตั้งราคาสินค้าต่ำกว่าราคาตลาด ซึ่งเป็นการบิดเบือนราคา ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1.1234-1.294 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดที่ระดับ 1.247/48 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร

สำหรับค่าเงินเยน ค่าเงินเยนเปิดตลาดเช้าวันนี้ (17/6) ที่ระดับ 107.31/33 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าเล็กน้อยจากระดับปิดตลาดเมื่อวันอังคาร (16/6) ที่ระดับ 107.40/43 เยน/ดอลลาร์ ค่าเงินเยนทรงตัวหลังจากเคลื่อนไหวในแนวอ่อน ค่าบาทบ่ายวานนี้ (16/6) หลังจากที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นมีมติคงอัตราดอกเบี้ย

อย่างไรก็ดี เช้าวันนี้ (17/6) ญี่ปุ่นเปิดเผยตัวเลขดุลการค้าเดือนพฤษภาคมออกมาที่ขาดดุล 8.33 แสนล้านเยน ซึ่งเกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายนที่ขาดดุลไปกว่า 9.31 แสนล้านเยน โดยมูลค่าของธุรกรรมด้านส่งออกลดลงร้อยละ 28.3 และด้านนำเข้าลดลงร้อยละ 26.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า

ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินเยนเคลื่อนไหนอยู่ในกรอบระหว่าง 107.17-107.44 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 107.35/37 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ

ดัชนีสำคัญทางเศรษฐกิจในสัปดาห์นี้ ได้แก่ จำนวนใบอนุญาตก่อสร้างของสหรัฐ เดือนพฤษภาคม (17/6), ดัชนีราคาผู้บริโภคของยูโรโซนเดือนพฤษภาคม (17/6), ดัชนีราคาผู้บริโภคของอังกฤษ เดือนพฤษภาคม (17/6), ใบอนุญาตจำนวนบ้านสร้างใหม่ของสหรัฐ เดือนพฤษภาคม (17/6), การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของอังกฤษ (BOE) (18/6), รายงานดัชนีการผลิตรัฐฟิลาเดเฟีย เดือนมิถุนายน (18/6), ดัชนียอดค้าปลีกของอังกฤษ เดือนพฤษภาคม (19/6)

สำหรับอัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ -0.40/-0.20 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราป้องกันความเสี่ยง ภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ +.50/+1.20 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ