ดอลลาร์ทรงตัว จับตาตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐ

เงินดอลลาร์

ดอลลาร์สหรัฐทรงตัว จับตาการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรสหรัฐ พฤหัสบดีนี้

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพ รายงานว่า ภาวะการเคลื่อนไหวตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน 2563 ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันนี้ (29/6) ที่ระดับ 30.90/92 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ทรงตัวจากระดับปิดตลาดในวันศุกร์ (26/6) ที่ระดับ 30.90/62 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ภายหลังกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ เพิ่มขึ้น 0.1% ในเดือน พ.ค. หลังจากร่วงลง 0.4% ในเดือน เม.ย. เมื่อเทียบรายปี ดัชนี PCE พื้นฐานเพิ่มขึ้น 1.0% เช่นกันในเดือน เม.ย.

นอกจากนี้ ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐดีดตัวขึ้นสู่ระดับ 78.1 ในเดือน มิ.ย. จากระดับ  72.3 ในเดือน พ.ค. โดยดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากการเปิดเศรษฐกิจครั้งใหม่ หลังจากที่รัฐบาลใช้มาตรการล็อกดาวน์เพื่อสกัดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

อย่างไรก็ตาม ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐยังคงถูกกดดัน หลังศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ของสหรัฐระบุว่าจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 อาจมีจำนวนสูงกว่าตัวเลขที่มีการรายงานถึง 10 เท่า

ทั้งนี้ศูนย์วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมเชิงระบบ (CSSE) แห่งมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ รายงานว่า ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในสหรัฐอยู่ที่ 2,422,312 ราย และยอดผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 124,415 ราย โดยนายโรเบิร์ต เรดฟิลด ผู้อำนวยการ CDC กล่าวว่า การประเมินดังกล่าวอ้างอิงจากการตรวจแอนติบอดี้ ซึ่งบ่งชี้ว่าชาวอเมริกันอย่างน้อย 24 ล้านคนได้ติดเชื้อโควิด-19 ในขณะนี้

ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 31.88-31.92 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ก่อนปิดตลาดที่ระดับ 31.8/31.90 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโรในวันนี้ (29/6) ค่าเงินยูโรเปิดตลาดที่ระดับ 1.1232/33 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร แข็งค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (26/6) ที่ระดับ 1.1221/22 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ภายหลังธนาคารกลางยุรป (ECB) เปิดเผยว่า ECB จะปล่อยเงินกู้สกุลยูโร โดยมีหลักทรัพย์ค้ำประกันให้กับธนาคารกลางต่าง ๆ ที่อยู่นอกเขตยูโรโซน เพื่อสนับสนุนตลาดการระดมทุนท่ามกลางวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

ECB ระบุในแถลงการณ์ว่า ภายใต้ระบบการปล่อยเงินกู้ให้กับธนาคารกลางหรือ Eurosystem repo facility for central banks (EUREP) นั้น ECB จะจัดสรรสภาพคล่องสกุลยูโรให้กับบรรดาธนาคารกลางที่อยู่นอกเขตยูโรโซน โดยต้องวางหลักทรัพย์ค้ำประกันสกุลยูโรที่สามารถซื้อขายได้ ทั้งนี้ โครงการป่อยกู้ใหม่ดังกล่าวซึ่งจะมาเสริมข้อตกลงสวอปทวิภาคีและข้อตกลงซื้อคืนพันธบัตรที่มีอยู่แล้วนั้น จะดำเนินไปจนถึงสิ้นเดือน มิ.ย. 2564 โดยระหว่างวันค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1.1217-1.1268 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดที่ระดับ 1.1254/55 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยนในวันนี้ (29/6) เปิดตลาดที่ระดับ 107.26/28 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (26/6) ที่ระดับ 106.91/92 เยน/ดอลลาร์ ภายหลังการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐที่ออกมาในระดับที่ดี ส่ผลให้นักลงทุนลดการถือครองสกุลงินปลอดภัยอย่างเยน และหันไปถือครองสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น ทั้งนี้ค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 107.05-107.38 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 107.20/21 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ

ดัชนีสำคัญทางเศรษฐกิจของสหรัฐในสัปาห์นี้ ได้แก่ ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) เดือน พ.ค. (9/6), ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือน พ.ค. (10/6), คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) แถลงมติอัตราดอกเบี้ย (10/6), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ (11/6), ดัชนีราผู้ผลิต (PPI) เดือน พ.ค. (11/6), ความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้น มิ.ย.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน (12/6)

สำหรับอัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ +0.1/+0.4 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราป้องกันความเสี่ยง ภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ -1.7/0.0 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ