ตัวเลขจ้างงานหนุนดอลลาร์สหรัฐ

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพ รายงานว่า สภาวการณ์เคลื่อนไหวตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม 2563 ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันนี้ (10/8) ที่ระดับ 31.16/18 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวแข็งค่าเล็กน้อยจากระดับปิดตลาดในวันศุกร (7/8) ที่ระดับ 31.18/20 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐได้ปรับตัวแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 1.763 ล้านตำแหน่งในเดือน ก.ค. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 1.48 ล้านตำแหน่ง แต่ต่ำกว่าระดับ 4.79 ล้านตำแหน่งในเดือน มิ.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงเป็นประวัติการณ์ ขณะที่อัตราการว่างงานลดลงสู่ระดับ 10.2% โดยต่ำกว่าระดับ 11.1% ในเดือน มิ.ย. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 10.6% ขณะเดียวกัน ตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ยของแรงานเพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือน ก.ค. เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทั้งนี้ ตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงนับเป็นข้อมูลที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญเพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ภาวะเงินเฟ้อ นอกจากนี้กระทรวงแรงงานสหรัฐยังได้ปรับตัวเลขการจ้างงานในเดือน มิ.ย. โดยปรับเป็นเพิ่มขึ้น 4.791 ล้านตำแหน่ง จากเดิมที่รายงานว่าเพิ่มขึ้น 4.8 ล้านตำแหน่ง และปรับตัวเลขการจ้างานในเดือน พ.ค. โดยปรับเป็นเพิ่มขึ้น 2.725 ล้านตำแหน่ง จากเดิมที่รายงานว่าเพิ่มขึ้น 2.699 ล้านตำแหน่ง นอกจากนี้ได้ระบุว่า ภาคเอกชนมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 1.462 ล้านตำแหน่ง ขณะที่ภาครัฐจ้างงานเพิ่มขึ้น 301,000 ตำแหน่ง ส่วนตัวเลขอัตราการเข้าสู่ตลาดแรงงานของสหรัฐ ซึ่งแสดงสัดส่วนของกำลังแรงงานต่อจำนวนประชากรทั้งหมดเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 61.4% โดยตัวเลขการจ้างงานดังกล่าวช่วยหนุนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐให้ปรับขึ้นในวันศุกร์ ก่อนที่สหรัฐจะเปิดขายพันธบัตร .12 แสนล้านดอลลาร์ในสัปดาห์นี้ อย่างไรก็ดีนักลงทุนติดตามรอดูท่าทีระหว่างสหรัฐกับจีนก่อนการเจรจาการค้าวันที่ 15 ส.ค. รวมถึงประเด็นข้อกฎหมายของคำสั่งฝ่ายบริหารซึ่งประธานาธิบดีทรัมป์ของสหรัฐ ลงนามเพื่อให้จ่ายสวัสดิการว่างงาน 400 ดอลลาร์ต่อสัปดาห์แก่ชาวอเมริกันที่ตกงานเพราะ COVID-19 หลังจากที่สมาชิกพรรคเดโมแครตและรีพับลิกันไม่สามารถตกงกันเรื่องมาตรการกระตุ้นทางการคลัง โดยระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 31.11-31.20 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 31.12/14 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับความเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโร เปิดตลาดเช้านี้ (10/8) ที่ระดับ 1.1807/10 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ปรับตัวอ่อนค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (7/8) ที่ระดับ 1.1779/82 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร หลังจากตัวเลขจ้างงานของสหรัฐหนุนค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น แม้ว่าความเชื่อมั่นของนักลงทุนในยูโรโซนเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันในเดือน ส.ค. แต่อข้อมูลที่ระดับต่ำบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจยังคงอยู่ในภาวะถดถอยในไตรมาส 3 ขณะที่ ดัชนีความเชื่อมั่นสำหรับยูโรโซนเพิ่มขึ้นสู่ระดับ -13.4 จาก -18.2 ในเดือน ก.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ก่อนใช้มาตรการล็อกดาวน์ในเดือน ก.พ. และเทียบกับที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ -15.1 ส่วนดัชนีสถานการณ์ปัจจุบันเพิ่มขึ้นสู่ระดับ -41.3 จาก -49.5 ในเดือน ก.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่เดือน มี.ค. ความเชื่อในเยรอมนีเพิ่มขึ้นเป้นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1.1754-1.1801 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาด ที่ระดับ 1.1771/72

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยน ค่าเงินเยนเปิดตลาดเช้าวันนี้ (10/8) ที่ระดับ 106.17/20 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวอ่อนค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (7/8) ที่ระดับ 104.6/79 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ค่าเงินเยนเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ขณะที่ตลาดญี่ปุ่นปิดทำการ โดยระหว่างวันค่าเินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 105.73-106.04 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 105.92/95 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ

ดัชนีสำคัญทางเศรษฐกิจในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและัตราการหมุนเวียนขอแรงงานสหรัฐ (10/8), ดัชบัญชีเดินสะพัดเดือน มิ.ย. ของญี่ปุ่น (11/8) อัตราว่างงานของอังกฤษ (11/8), ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ ของกลุ่มยูโรโซน (11/8), ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐ (11/8), การผลิตภาคอุตสาหกรรมของกลุ่มยูโรโซน (12/8),  ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของเยอรมนี (13/8), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และราคานำเข้าและราคาส่งออกเดือน ก.ค. ของสหรัฐ (13/8), ยอดค้าปลีกของสหรัฐและความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือน ส.ค. จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน (14/8)

สำหรับอัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ +0.6/+0.7 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราป้องกันคามเสี่ยง ภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ +2.0/+3.60 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ