ตลาดหลักทรัพย์ฯ เล็งพิจารณาต่ออายุมาตรการดูแลตลาดทุน

ตลาดหุ้นไทย-ตลาดหลักทรัพย์ฯ

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยอมรับอยู่ระหว่างพิจารณาขยายมาตรการประคองตลาดหุ้น ‘ชอร์ตเซล-ซีลลิ่ง/ฟลอร์’ ก่อนครบกำหนดสิ้นเดือน ก.ย.นี้ ชี้ตลาดหุ้นไทยค่าความผันผวนสูงกว่าช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ที่ 25-30% ต่อปี

วันที่ 8 กันยายน 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ในเดือนสิงหาคม 2563 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยค่อนข้างทรงตัว เมื่อพิจารณารายอุตสาหกรรมเทียบกับสิ้นปี พบว่าอุตสาหกรรมบางอุตสาหกรรมปรับตัวดีกว่า SET Index และมีกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในแดนบวก

นอกจากนี้ ในเดือนสิงหาคมยังมีสัญญาณการฟื้นตัวของบริษัทจดทะเบียนที่ประกาศผลประกอบการไตรมาส 2 ที่ดีกว่านักวิเคราะห์คาดการณ์ ได้แก่ กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม และในบางกลุ่มธุรกิจในภาคบริการที่ได้อานิสงค์จากการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ที่อาจจะนำไปสู่การเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้เร็วขึ้น

ในส่วนของมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันรวมใน SET และ mai ในเดือนสิงหาคม 2563 อยู่ที่ 56,512 ล้านบาท และหากพิจารณาในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2563 มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันรวมอยู่ที่ 66,566 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผู้ลงทุนบุคคลในประเทศมีสัดส่วนมูลค่าการซื้อขายสูงสุดต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 อยู่ที่ 44.09% ของมูลค่าการซื้อขายรวม

ในเดือนสิงหาคม 2563 มีกิจกรรม IPO อย่างต่อเนื่อง มีหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนซื้อขายใหม่ใน SET 2 หลักทรัพย์ ได้แก่ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโรงไฟฟ้า กลุ่มน้ำตาลครบุรี (KBSPIF) และ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ พรอสเพค โลจิสติกส์และอินดัสเทรียล (PROSPECT) ส่วนใน mai อีก 2 หลักทรัพย์ ได้แก่ บมจ.เอิร์ธ เท็ค เอนไวรอนเมนท์ (ETC) และ บมจ.ไอแอนด์ไอ กรุ๊ป (IIG) มีมูลค่าระดมทุน (IPO) รวม 6,975 ล้านบาท

นายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)

นายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า แนวโน้มตลาดหุ้นในระยะข้างหน้า เชื่อว่ายังเผชิญกับความผันผวน ทั้งจากกระแสข่าวการเมือง เศรษฐกิจ รวมถึงสุขภาพในไทยและต่างประเทศ อย่างไรก็ดี ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เตรียมเครื่อวมือรองรับความผันผวนต่างๆ ผ่านมาตรการประคองตลาดหุ้น เช่น การปรับเกณฑ์การขายชอร์ต (Short Sale) และ การปรับเกณฑ์ราคาสูงสุดและต่ำสุด (Ceiling & Floor) ฯลฯ ซึ่งจะหมดอายุในเดือนกันยายนนี้

อย่างไรก็ดี หากมีเหตุการณ์ไม่ปกติ หรือภาวะตลาดยังมีความจำเป็นต้องใช้มาตรการเข้ามาช่วยดูแล ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะพิจารณาขยายเกณฑ์ดังกล่าวออกไปจากเดิมที่จะสิ้นสุดเดือนกันยายนนี้ นอกจากนี้ ยังได้หารือกับสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อขออนุมัติการใช้เครื่องมือดูแลตลาดทุนในแง่มุมอื่นๆ อาทิ การปรับเปลี่ยนเวลาทำการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือการปรับอัตรามาร์จิ้น เป็นต้น

ทั้งนี้ ค่าความผันผวนของตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงที่ 25-30% ต่อปี จากเดิมก่อนช่วงที่เกิดโควิด-19 ค่าความผันผวนอนู่ที่

ภาวะตลาดหลักทรัพย์ไทย

• ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย (SET Index) ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2563 SET Index ปิดที่ 1,310.66 จุด ปรับลดลง 3% จากเดือนก่อน และปรับลดลง 17.0% จากสิ้นปีก่อน แต่ยังอยู่ในระดับที่สูงกว่า MSCI ASEAN ที่ลดลง 19.9% จากสิ้นปีก่อนหน้า

• เมื่อเทียบกับสิ้นปี พบว่าอุตสาหกรรมบางอุตสาหกรรมปรับตัวดีกว่า SET Index และมีกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในแดนบวก นอกจากนี้ ในเดือนสิงหาคม กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม และในบางกลุ่มธุรกิจในภาคบริการที่ได้อานิสงค์จากการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ที่อาจจะนำไปสู่การเปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้รวดเร็วขึ้น

• มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันรวมใน SET และ mai ในเดือนสิงหาคม 2563 อยู่ที่ 56,512 ล้านบาท และหากพิจารณาในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2563 มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันรวมอยู่ที่ 66,566 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผู้ลงทุนบุคคลในประเทศมีสัดส่วนมูลค่าการซื้อขายสูงสุดต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 โดยอยู่ที่ 44.09% ของมูลค่าการซื้อขายรวม

• Forward และ Historical P/E ของตลาดหลักทรัพย์ไทย ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2563 อยู่ที่ระดับ 2 เท่า และ 21.8 เท่าตามลำดับ สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียซึ่งอยู่ที่ระดับ 17.2 เท่า และ 18.6 เท่าตามลำดับ

• อัตราเงินปันผลตอบแทน ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2563 อยู่ที่ระดับ 64% สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียซึ่งอยู่ที่ 2.89%

ภาวะตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า

• ในเดือนสิงหาคม 2563 ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 369,938 สัญญา ลดลง 6.9% จากเดือนก่อน ที่สำคัญจาก Single Stock Futures และ USD Futures และในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2563 ปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 470,241 สัญญา เพิ่มขึ้น 14.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน