ธปท.ย้ำ “ทางรอด” ประเทศไทย ควรเร่งปฎิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ

ธปท. แนะไทยเร่งปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ย้ำ “ไม่ใช่ทางเลือก” แต่เป็น “ทางรอด” ของประเทศไทย แนะภาครัฐลดมาตรการเหวี่ยงแห ไม่เกิดประสิทธิผลเกิดเบี้ยหัวแตก พร้อมหนุนยกระดับท้องถิ่นต่างจังหวัด เพิ่มอุปทานและกำลังซื้อในชุมชน ลั่นควรประสานนโยบายระดับจุลภาค-มหภาค

นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2563 “ปฎิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ทำอย่างไรให้เกิดได้จริง” ว่า ปีนี้เป็นปีที่มีความท้าทาย เพราะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญกับวิกฤติด้านสาธารณสุขที่ส่งผลให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจไม่มีใครทราบว่าวิกฤตครั้งนี้จะจบลงเมื่อใด และจะจบลงอย่างไร การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจะใช้เวลานานแค่ไหนและกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภายหลังจะเป็นไปอย่างไร

ที่ผ่านมาได้พูดคุยเรื่องการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องหลายๆ ทางหลายเวทีแต่ก็ยังไม่เกิดผลจริง ซึ่งการตอบโจทย์ว่าการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยทำอย่างไรให้เกิดได้จริง จะต้องมีอย่างน้อย 3 ประการ คือ 1.มีความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ 2.คนไทยและธุรกิจไทยต้องมีภูมิคุ้มกันที่ดีและสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ และ 3.การกระจายผลประโยชน์ของการเติบโตทางเศรษฐกิจจะต้องทั่วถึงและไม่ทำให้ความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยรุนแรงขึ้น โดยในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยได้แสดงให้เห็นความอ่อนแอทั้ง 3 ด้านนี้เพิ่มขึ้นทั้งระดับจุลภาคและมหภาค

“การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจไทยจะทำให้เกิดได้จริง จะต้องร่วมกันในระดับจุลภาคและมหภาค เพื่อให้ครัวเรือนปรับตัวในทิศทางที่ควรจะเป็น โดยนโยบายจุลภาคจะต้องลดอุประสรรคและลดความหลั่กหลั่นในระบบ ภาครัฐต้องเปิดเสรีให้ผู้แข่งขันรายใหม่ ลดอุปสรรคต้นทุนในสิ่งไม่จำเป็น และภาครัฐควรสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยี และดิจิทัลเพื่อรองรับการเข้าถุงข้อมูล จะต้องตระหนักว่านโยบายภาพใหญ่จะเข้าถึงทุกคน โดยแรงงานต้องปรับทักษะ ผู้ประกอบการต้องปรับตัวการแข่งขัน เพื่อสร้างแรงจูงใจในระยะยาว”

ประการ 1  การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับจุลภาค จำนวนมากทั้งในภาคเกษตรและนอกภาคการเกษตรมีประสิทธิภาพต่ำซึ่งมีเหตุผลจากการขาดแรงจูงใจและแรงกดดันให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมต้องเผชิญอุปสรรคการเข้าถึงเทคโนโลยี นอกจากนี้การโยกย้ายแรงงานและเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพไปสู่ประสิทธิภาพสูงด้วยจำนวนจำกัด ซึ่งมาจากกฎเกณฑ์กติกาของภาครัฐที่ล้าสมัยและขาดการแข่งขันอย่างจริงจัง ทำให้ไม่สามารถเข้าตลาดได้ ส่งผลให้เศรษฐกิจขาดพลวัตร

ประการที่ 2 เศรษฐกิจไทยมีภูมิคุ้มกันต่ำความสามารถในการรับมือกับภัยต่างๆ เรื่องนี้เป็นปัญหาที่ต้องรีบแก้ไขเพราะข้างหน้าต้องเผชิญกับความไม่ได้นอนสูงขึ้นทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมรวมถึงความไม่แน่นอนในมิติใหม่ที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจด้วยเช่นสภาวะโลกร้อนและอากาศแปรปรวน และการแพร่กระจายของโรคอุบัติใหม่ที่เพิ่มสูงขึ้นในระดับจุลภาค ครัวเรือนและธุรกิจจำนวนมาก

โดยเฉพาะทฤษฎีมีข้อจำกัดในการเข้าถึงการออมและสินเชื่อจึงไม่มีเงินสำรองในการใช้ยามวิกฤตและไม่สามารถกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินในระบบได้ในสถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอน นอกจากนี้ แรงงานผู้ประกอบการจำนวนมากอยู่นอกระบบไม่มีกลไกของภาครัฐที่จะดูแลทั่วถึงแรงงาน จึงมีข้อจำกัดทักษะและความสามารถในการปรับตัวเมื่ออาชีพที่ทําอยู่เดิมได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่ไม่คาดถึง

และในระดับมหภาคโครงสร้างเศรษฐกิจไทยอย่างพึ่งพิงเศรษฐกิจต่างประเทศมาก ปฏิเสธไม่ได้ว่าการส่งออกสินค้าและบริการเป็นเครื่องจักรในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ดังนั้น เมื่อเศรษฐกิจโลกสะดุดลงจากความเปราะบางจากโควิด-19

ประการที่ 3 ผลประโยชน์จากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไทยกระจุกตัวสูง คนไทยเผชิญกับความเหลื่อมล้ำตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาเด็กที่เกิดจากพ่อแม่ที่มีความรู้น้อยมีทุนน้อยมักจะมีน้ำหนักต่ำกว่าแต่ตั้งแต่แรกเกิด และมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาและบริการสุขภาพ และทรัพยากรต่างๆ ที่แตกต่างกัน จากครอบครัวยากจนมีโอกาสเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาเพียง 5% ในขณะที่เด็กจากครอบครัวฐานะดีเกือบทั้งหมดมีการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา

ทั้งนี้ ความเหลื่อมล้ำในช่วงปฐมวัยนี้ช่วยส่งผลต่อการทำงานการประกอบกิจการและรายได้ที่แตกต่างกันความได้เปรียบเสียเปรียบการสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตลอดช่วงอายุและส่งผ่านต่อไปในรุ่นรุ่นลูกรุ่นหลานสะท้อนให้เห็นจากการกระจุกตัวทางเศรษฐกิจในภาคครัวเรือนประชากรที่มีรายได้สูงสุดมีรายได้รวมกัน 20% ของรายได้ทั้งหมดของประชากรทั้งประเทศ และผู้ประกอบการรายใหญ่ที่สุดของส่วนแบ่งรายได้ 85% ของการผลิตนอกภาคการเกษตรทั้งหมด ความเหลื่อมล้ำเหล่านี้เป็นทางอาการและสาเหตุของปัญหาที่นำไปสู่ปัญหาทางสังคมได้ นอกจากนี้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีผลผลิตมวลรวมจังหวัดต่อหัวหรือของจังหวัดที่สูงกว่าจังหวัดที่ต่ำกว่าถึง 18 เท่า

“ครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบแบบนี้ส่วนใหญ่จะมีข้อจำกัดในการปรับตัว และการรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ ดูแต่เดิมแล้วไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัดในการเข้าถึงทุน ข้อจำกัดในการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยี วิกฤตครั้งนี้จึงซ้ำเติมความเหลื่อมล้ำให้คุณแรงยิ่งขึ้น นอกจากนี้โครงสร้างตลาดหลังโควิด-19ทั่วโลกเปลี่ยนแปลงอย่างมาก จะทำให้หลายอุตสาหกรรมทั่วโลกมีกำลังการผลิตส่วนเกินต่อเนื่องไปอีกหลายปี และหากกำลังการผลิตส่วนเกินนี้ไม่ถูกจะจัดการและนโยบายไปสู่การผลิตอื่นผลิตภาพรวมของเศรษฐกิจไทยในอนาคตจะยิ่งลดต่ำลงอีกเรื่อยๆ”

นายวิรไท กล่าวเพิ่มเติมว่า การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจท่ามกลางโควิด-19 มีข้อคำนึงถึง 3 ประการ ด้วยกัน คือ 1.การเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นสอดคล้องกับการปรับตัวระยะยาว เพราะไม่มีใครรู้ว่าปัญหาจะลากยาวแค่ไหน ดังนั้น ภาครัฐและเอกชนจะต้องจัดสรรทรัพยากรการเยียวยาเพื่อประคองระยะสั้น และรองรับการปรับตัวระยะยาว โดยปรับจากมาตรการเยียวยามาเป็นการปรับโครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจ แม้ว่ามาตรการเยียวยายังจำเป็นแต่ต้องควบคู่กับการปรับตัวสู่โลกหลังโควิด-19

โดยภาครัฐลดมาตรการเหวี่ยงแหแบบทุกคน แต่เน้นกลุ่มคนที่ต้องช่วยเป็นพิเศษ เพราะแรงงานและผู้ประกอบการมีการฟื้นตัวแตกต่างกัน เพราะการเหวี่ยงแหจะเกิดเบี้ยหัวแตก ไม่เกิดประสิทธิผล โดยจะต้องอาศัยกลไกตลาดคัดกรอง สร้างแรงจูงใจ เพราะถ้าทำไม่ดีจะเกิด Zombie Firm จะสร้างผลเสียและขาดแรงจูงใจ และกลไกถูกบิดเบือน และทำให้กำลังการผลิตส่วนเกินอยู่ต่อเนื่อง ทำให้ภาครัฐขาดทรัพยากรไปช่วยเหลือประเทศ

2.การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริงถ้าไม่สามารถย้ายทรัพยากรจากภาพเศรษฐกิจหนึ่งไปสู่อีกเศรษฐกิจหนึ่งได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีอุปสรรคในการโยกย้ายทรัพยากรข้ามธุรกิจ แม้ไม่ใช่เรื่องง่ายและต้นทุนสูงมาจากกฎภาครัฐที่ซับซ้อนไม่สอดคล้องกับโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ต้นทุนของเอสเอ็มอีสูงกว่ารายใหญ่ ทำให้เกิดโครงการทบทวนศึกษากฎหมาย หรือเรียกว่า Regulation Guillotine พบว่า 424 กระบวนการไม่จำเป็น และอีก 472 เป็นกระบวนการที่ควรปรับปรุง เพื่อลดขั้นตอน เป็นมาตรการที่ตอบโจทย์ทั้งการฟื้นฟูเศรษฐกิจในช่วงสั้นๆและการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจในระยะยาวโดยไม่สร้างภาระให้งบประมาณของรัฐบาล

3.การยกระดับท้องถิ่นต่างจังหวัด จะต้องเป็นเป้าหมายสำคัญของการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ เพราะโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมชนบทต่างจังหวัดเปราะบางมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดปัญหามากมายทั้งปัญหาแรงงานสูงอายุในภาคเกษตร ปัญหายาเสพติด ปัญหาวัยรุ่นตั้งครรภ์ คุณภาพการศึกษาในชนบทที่ตกต่ำ

อย่างไรก็ดี การเกิดโควิด-19 ทำให้เกิดการย้ายแรงงานมากกว่า 1 ล้านคน ซึ่งแรงงานเหล่านี้มีศักยภาพที่จะเป็นพลังพลิกฟื้นเศรษฐกิจในท้องถิ่นต่างจังหวัด สร้างการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมชนบทยกระดับผลิตภัณฑ์ในภาคเกษตรและวิสาหกิจชุมชนเป็นโอกาสในการเพิ่มอุปทานและกำลังซื้อในท้องถิ่นแต่ละท้องถิ่นจะสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น โดยภาครัฐจะต้องวางโครงสร้างพท้นฐานทางด้านเทคโนโลยี

“การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจไทย เป็นความท้าทายอย่างมาก โดยประเทศไทยควรปรับโครงสร้าง ซึ่งไม่ได้เป็นทางเลือก แต่เป็นทางรอดของประเทศไทยที่พวกเราทุกคนต้องช่วยกัน เพราะเรามีเวลาไม่มากทรัพยากรของทางภาครัฐและภาคเอกชนกำลังหร่อยหรอลง และเราได้ถกเถียงกันเรื่องแนวทางการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจไทยในหลายเวทีต่อเนื่องกันมาจนหลายแนวคิดที่สำคัญของเวลานี้จึงไม่ใช่โครงสร้างเศรษฐกิจประเทศไทยต้องเรียกว่าเราจะทำอย่างไรการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยจึงจะเกิดเป็นจริง เพื่อเห็นแนวทางปฏิบัติที่จะสามารถนำไปขับเคลื่อนการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจไทยเกิดขึ้นได้จึงเติบโตได้เต็มศักยภาพมีภูมิคุ้มกันที่ดีลดความเหลื่อมล้ำลงและคนไทยแต่ละคนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น”