ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่า หลังประธานเฟดส่งสัญญาณไม่รีบขึ้นดอกเบี้ย

FX-เงินบาท-ธนบัตร-ดอลลาร์

ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่า หลังประธานเฟดส่งสัญญาณไม่รีบขึ้นดอกเบี้ย ขณะที่ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางแข็งค่าก่อนจะปิดตลาดที่ระดับ 33.45/48 บาท/ดอลาร์สหรัฐ

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพ รายงานว่า สภาวการณ์เคลื่อนไหวตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม 2564 ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันนี้ (23/8) ที่ระดับ 32.53/54 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวอ่อนค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (27/8) ที่ระดับ 33.63/64 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวอ่อนค่าเทียบกับสกุลเงินหลัก หลังนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณในวันนี้ว่า เฟดมีแนวโน้มที่จะเริ่มปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ก่อนสิ้นปีนี้ แต่อย่างไรก็ดี นายพาวเวลล์กลับระบุว่า การที่เฟดปรับลด QE ไม่ได้หมายความว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในไม่ช้า

นายพาวเวลล์กล่าวว่า แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อกำลังปรับตัวใกล้เป้าหมายของเฟดที่ระดับ 2% แต่เฟดยังต้องดำเนินการอีกมากเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการจ้างงานเต็มศักยภาพ ซึ่งเป็นเงื่อนไข 2 ประการก่อนที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

นอกจากนี้ นายพาวเวลล์ยังระบุว่า การพุ่งขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในขณะนี้เกิดจากปัจจัยเพียงชั่วคราว และปัจจัยดังกล่าวกำลังเริ่มที่จะเบาบางลง ซึ่งจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวเข้าสู่เป้าหมายของเฟดในที่สุด

ขณะเดียวกัน นายพาวเวลล์ตั้งข้อสังเกตว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าถือเป็นความเสี่ยงในระยะใกล้ต่อการจ้างงานเต็มศักยภาพ แต่เขายืนยันว่าขณะนี้มีแนวโน้มที่ดีในความคืบหน้าไปสู่เป้าหมายดังกล่าว

โดยระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวแข็งค่า อยู่ในกรอบระหว่าง 33.43-33.58 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 33.45/48 บาท/ดอลาร์สหรัฐ

สำหรับความเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโรเปิดตลาดเช้านี้ (30/8) ที่ระดับ 1.1802/04 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ปรับตัวแข็งค่า จากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (27/8) ที่ระดับ 1.1754/56 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นตามการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐ

โดยในระหว่างวันมีการเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมของยูโรโซน เดือนสิงหาคม ปรับตัวดีกว่าที่คาด โดยออกมาที่ระดับ 13.7 จากที่คาดการณ์ไว้ที่ 13.4 โดยระหว่างวันค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1.1793-1.1810 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดที่ระดับ 1.1794/96 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยนเปิดตลาดเช้าวันนี้ (30/) ที่ระดับ 109.71/73 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวแข็งค่าลงขึ้นจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (27/8) ที่ระดับ 110.12/14 เยน/ดอลลาร์ ตามการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐ

นอกจากนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นได้เผยยอดค้าปลีกของญี่ปุ่นเดือน ก.ค. เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์ เนื่องจากภาคผู้บริโภคยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง แม้การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สร้างความไม่แน่นอนต่อแนวโน้มการใช้จ่ายก็ตามยอดค้าปลีกของญี่ปุ่นปรับตัวขึ้น 2.4% ในเดือน ก.ค. เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะขยายตัว 2.1% เมื่อเทียบกับเดือน มิ.ย. ยอดค้าปลีกของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 0.1%

ระหว่างวันค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 109.70-109.89 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 109.83/84 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ

ดัชนีสำคัญทางเศรษฐกิจในสัปดาห์นี้ได้แก่ ยอดขายบ้านรอปิดการขายเดือนกรกฎาคมของสหรัฐ (30/8), อัตราการว่างงานเดือนสิงหาคมเยอรมนี (31/8), ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนสิงหาคมยูโรโซน (31/8), ความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือนสิงหาคมของสหรัฐ (31/8), การจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐเดือนสิงหาคม จากสถาบัน ADP (1/9), การจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐ เดือนสิงหาคม (3/9)


สำหรับอัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) ภาคเช้า 1 เดือน ในประเทศอยู่ที่ +0.25/+0.35 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราป้องกันความเสี่ยงภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ -1.50/-0.75 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ