ไทยพาณิชย์ลั่น 3-5 ปีก้าวเป็นเทคคอมปะนี ชี้ 4 ปัจจัยสั่นคลอนระบบแบงก์อยู่ยาก

ไทยพาณิชย์

ไทยพาณิชย์ชี้ 4 ปัจจัยหลักสร้างผลกระทบอนาคตสถาบันการเงินไทย เศรษฐกิจ-เทคโนโลยี-พฤติกรรมผู้บริโภค-ผู้กำกับดูแล เผยเห็นคู่แข่งรายใหม่ลงสนาม กดดันต้นทุนต่ำ-ความเร็วบริการลูกค้าที่แบงก์ไม่เคยทำ กระทบความเสี่ยง-ผลตอบแทนขาลง แนะเร่งปรับตัว พร้อมตั้งเป้า 3-5 ปีสู่เป้าหมายบริษัทเทคโนโลยี หรือ Tech Company ลั่นทำไม่ได้ธนาคารอยู่ยาก

วันที่ 13 กันยายน 2564 นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ปัจจัยที่เข้ามามีผลกระทบต่ออนาคตสถาบันการเงินไทย นอกจากปัจจัยภายนอก จะมีอยู่ด้วยกัน 4 เรื่องด้วยกัน ได้แก่ 1.ภาพรวมเศรษฐกิจและสถานการณ์โควิด-19 ที่มีผลกระทบนัยสำคัญของระบบธนาคารพาณิชย์

โดยเฉพาะธุรกิจเกี่ยวข้องกับสินเชื่อ โดยอดีตจะเป็นเรื่องการบริหารจัดการความเสี่ยง (Take Risk) และความเสี่ยงและผลตอบแทน (Risk-Return) แต่ผลจากโควิด-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้ง 2 ตัว และส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจ ธุรกิจ และความสามารถของรายย่อยในเชิงโครงสร้าง ซึ่งเป็นโจทย์ที่ธนาคารพาณิชย์จะสามารถรักษาความเสี่ยงและผลตอบแทนได้หรือไม่ในอนาคต

อาทิตย์ นันทวิทยา

2.เทคโนโลยี โดยการมาถึงของเทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่สร้างการแข่งขันที่ปรับเปลี่ยนเร็ว ซึ่งสร้างต้นทุนในการตอบสนองลูกค้า (Cost to Serve) ที่ต้นทุนต่ำกว่า ของผู้เล่นใหม่ โดยเหนือกว่าสถาบันการเงินที่ทำให้ลูกค้า ส่งผลให้เกิดการข้ามกันของธุรกิจ และ 3.พฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer Behavior) ที่มีการเปลี่ยนแปลงและคาดหวังต่อความเร็วและการบริการ ทั้งในรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ โดยโควิด-19 ได้เข้ามาเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคให้เข้าสู่ออนไลน์ได้เร็วขึ้นอย่างไม่เคยเห็นมาก่อน

และ 4.ผู้กำกับดูแล (Regulator) ซึ่งมีทั้งบวกและลบ เพราะในท้ายที่สุดผู้กำกับดูแลไม่สามารถหยุดยั้งดิจิทัลเทรนด์ หรือวามต้องการของลูกค้า (Customer Demand) ได้ จึงต้องเปิดให้ผู้เล่นรายใหม่เข้ามาแข่งขัน ทำให้สถาบันการเงินจะต้องปรับตัว ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทาย อย่างไรก็ดี การดำเนินนโยบายภายใต้ CBDC Retail เป็นการเปิดกรอบกฎเกณฑ์ Digital Asset หรือเทคโนโลยีบนบล็อกเชน ซึ่งมองว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มองในรูปแบบไม่ได้ปิดกั้น และเปิดให้เข้ามาแข่งขันและทดแทนธนาคารได้

“ทั้ง 4 ปัจจัยที่กล่าวมานำไปสู่คำถามว่าธนาคารพาณิชย์ในรูปแบบเดิมจะอยู่ได้หรือไม่ ทั้งในเรื่องของผลกระทบจากภายนอกสู่ความเสี่ยงและผลตอบแทน เทคโนโลยีที่เข้ามา พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป และผู้กำกับดูแล ซึ่งเป็นสิ่งที่สถาบันการเงินต้องตั้งคำถาม และเปลี่ยนแปลงตัวเอง ซึ่งเราจะอยู่ในโมเดลนี้ต่อไป โดยจะมีโปรดักต์ที่ลูกค้าคาดหวังต้นทุน ความเร็ว ในแบบที่สถาบันการเงินไม่เคยทำมาก่อนได้หรือไม่ โดยไทยพาณิชย์คิดเรื่องนี้มาแล้วเมื่อ 6 ปีก่อน อะไรคือโมเดลใหม่ และมีอะไรที่จะสามารถขับเคลื่อน 4 ปัจจัยนี้ได้ โดยวิธีการทำข้ามจากธนาคารมาสู่แพลตฟอร์มที่มีความคิดใหม่ให้กับองค์กรได้”

สำหรับการตอบโจทย์ 4 ปัจจัย โดยสามารถทำในรูปแบบธนาคารพาณิชย์ได้ผ่าน 3 ส่วนสำคัญ คือ 1.ระบบธนาคารพาณิชย์โดยการใส่ข้อเสนอ (offer) ในรูปแบบที่ตอบสนองคนจำนวนมากในธนาคารพาณิชย์จะต้องเน้นง่าย Simple ที่สุด เพื่อขยับตัวเอง และ 2.การหาโอกาสในทั้งประเทศและต่างประเทศ อาจจะต้องแยกออกมาและเตรียมความพร้อมแบบเพียวดิจิทัล (Pure Digital) ซึ่งจะต้องมีข้อมูล (Data) บุคลากรในรูปแบบใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ธนาคารทำมาในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา

และ 3.การเชื่อมความสัมพันธ์กับลูกค้าจะต้องมีขนาดที่ใหญ่ในระดับภูมิภาคจะต้องมีดาต้าที่จะทำให้ธนาคารไทยพาณิชย์ สามารถเป็น SCB Tech Company ที่จะสามารถแข่งขันกับผู้เล่นใหม่ได้ ซึ่งแต่ละสถาบันการเงินจะมีทางเลือก และกำหนดการดำเนินทิศทางเพื่อต่อสู้กับเทคโนโลยีในโลกระยะข้างหน้า

ทั้งนี้ วิสัยทัศน์ (vision) ของธนาคารไทยพาณิชย์ ตั้งเป้าการเป็น Tech Company ภายใน 3-5 ปีข้างหน้า เพราะถ้าหากธนาคารเปลี่ยนแปลงไม่ได้ภายใน 3-5 ปีจะอยู่ยากขึ้น โดยธนาคารยอมรับว่ามีความกังวลในประเด็น 4 ปัจจัยที่กล่าวข้างต้นที่จะมีผลต่อการเติบโต และขีดความสามารถขององค์กร แต่หากไม่เปลี่ยนแปลงเป็น Tech Company ที่มีจุดมุ้งเน้นเรื่องตลาดการเงิน (Financial Market) อย่างไรก็ดี หากธนาคารไม่สามารถขยายความร่วมมือกับพันธมิตรในการสร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้

“ไทยพาณิชย์ได้ดิสรัปชั่นมาแล้วบางส่วน แต่ส่วนเพิ่มที่ธนาคารทำไม่ได้ควรจะไปอยู่ตรงไหน และแนวทางที่จะขับเคลื่อนเป็นอย่างไร โดยขนาดยังคงมีความสำคัญในอดีต เพราะรูปแบบธนาคารยังมีความจำเป็นที่ต้องดูแลระบบเศรษฐกิจภาพรวมและคนหมู่มาก ทำให้ไทยพาณิชย์ยิ่งต้องเดินไป แต่ความเชื่อมั่นของนักลงทุนเรื่องของ P/E และ ROE ที่เกิดจากการทำธุรกิจธนาคารทีทิศทางขาลงตลอดมานานพอสมควรก่อนโควิด สอดคล้องกับธนาคารต่างประเทศที่ขาลงมาในหลายปี


ซึ่งการนำดาต้าและไฟแนนซ์เชียลจะนำมาสู่การลดความเสี่ยง และรีเทิร์นจะกลับมา เพราะมีความแม่นยำ ละสามารถบริการคนที่เข้าไม่ถึง ส่งผลให้ Risk และ Return กลับมาเพิ่มขึ้นได้ แต่ก็ยังเผชิญความเสี่ยงเรื่องการจ้างงาน กู้ จับจ่ายของประชาชน โดยมองเรื่องหนี้ครัวเรือน สิ่งจำเป็นไม่ใช่การลดหนี้ แต่ต้องเพิ่มความสามารถในการชำระหนี้ เพราะถ้าลดเศรษฐกิจมีแต่จะหดตัว และเหนือกว่าที่แบงก์จะทำได้ แต่เป็นหน้าที่ทั้งประเทศ”