ธปท.จ่อตั้ง Co-Sandbox ดึงผู้กำกับร่วมพัฒนา Digital NDID

ธปท.

ธปท.เล็งร่วมหน่วยงานผู้กำกับอื่นตั้ง “Co-Sandbox” ครึ่งหลังของปีนี้ หนุนผู้ประกอบการ-ภาคธุรกิจอื่นทดสอบนวัตกรรมนอกจากภาคการเงิน ดึงโครงสร้างพื้นฐานแลกเปลี่ยนข้อมูล NDID ภาคนิติบุคคคล

วันที่ 23 พฤษภาคม 2565 นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผย

นับตั้งแต่ปี 2559 ธปท.ได้ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาให้บริการทางการเงินผ่านกลไกการทดสอบในศูนย์นวัตกรรมทางการเงิน (Regulatory Sandbox) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการทางการเงินที่เป็นสถาบันการเงิน และผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน (Non-bank) และภาคธุรกิจสามารถทดสอบให้บริการจริงภายใต้ขอบเขตที่กำหนด ควบคู่ไปกับการดููแลความเสี่ยงและคุ้มครองผู้ใช้บริการที่เหมาะสม


โดยปัจจุบันมีโครงการภายใต้การทดสอบ Regulatory Sandbox นับตั้งแต่มีโครงการจนถึง ณ ไตรมาส 1/2565 มีโครงการที่เข้ามาทดสอบใน Regulatory Sandbox แล้ว ทั้งหมด 78 โครงการ โดยโครงการที่การทดสอบประสบผลสำเร็จและออกให้บริการในวงกว้างแล้ว จำนวน 38 โครงการ และกำลังจะทยอยออกจากการทดสอบอีก 10 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นนวัตกรรมเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือ NDID (National Digital Identity)

ทั้งนี้ ปัจจุบันมีหน่วยงานที่เข้าร่วม NDID Platform ทั้งสิ้น 94 หน่วยงาน จำนวนลูกค้าที่ลงทะเบียน 5.1 ล้านราย มีการเปิดบัญชีเงินฝากผ่าน NDID สำเร็จแล้ว 7.5 แสนบัญชี และมีการขอข้อมูลเครดิตจากบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (NCB) เพื่อขอสมัครสินเชื่อสำเร็จแล้ว 8.1 ล้านรายการ

และตอนนี้ ธปท.อยู่ระหว่างการพิจารณาร่วมกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA ลดภาระผู้เข้าทดสอบกับหลายหน่วยงานกำกับดูแลผ่านกลไก Co-Sandbox โดยจะมีการพิจารณานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม เช่น

การพัฒนา NDID ที่มีหลากหลาย Use Case เช่น Digital ID ภาคนิติบุคคล หรือการทำสัญญาดิจิทัล เป็นต้น เนื่องจากที่ผ่านมาจะเริ่มจากภาคการเงินเป็นหลัก ซึ่งต่อไปจะขยายไปสู่การแลกเปลี่ยนข้อมูลหน่วยงานอื่น โดยจะพิจารณาการตั้ง Co-Sandbox ได้ภายในครึ่งหลังของปีนี้

นอกจากนี้ ธปท.ได้เพิ่มความยืดหยุ่นให้ผู้ประกอบการทางการเงินสามารถทดสอบนวัตกรรมได้เองผ่านกลไก Own Sandbox ในกรณีที่เป็นโครงการที่พัฒนาขึ้นเพื่อหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง โดยนำหลักเกณฑ์ของ ธปท.ไปใช้ในการวางระบบ โดยผู้ประกอบการจะต้องมีการรายงานผลให้ ธปท.ทราบทุกปี และ ธปท.จะมีการติดตามผลการทดสบด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการกระตึ้นให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ นอกจากโครงการสร้างพื้นฐานที่ทำร่วมกันที่จะต้องทดสอบผ่านธปท.เท่านั้น

“ตอนนี้มีโครงการที่ออกจากการทดสอบ Regulatory Sandbox แล้วจำนวน 38 ราย แบ่งเป็น โครงการ QR Code 18 ราย Biometrics 10 ราย เทคโนโลยี Blockchain 9 ราย และ P2P Lending Platform 1 ราย และหลังงจากนี้จะออกมี 10 ราย ซึ่งลอตใหญ่จะเป็น NDID ขณะที่ P2P Lending มีเข้าร่วมทดสอบทั้งหมด 4 ราย ได้ไลเซนส์จากกระทรวงการคลัง 1 ราย ตอนนี้มียอดสินเชื่อมูลค่า 57 ล้านบาท คิดเป็นจำนวน 800 สัญญา ส่วนที่เหลืออีก 3 ราย กำลังอยู่ระหว่างทดสอบและปรับจูนระบบ โดยเฉลี่ยคิดดอกเบี้ย 4-7% จากเพดานกำหนดไม่เกิน 15%”

นางสาวสิริธิดา กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับความคืบหน้าสถิติสำคัญของระบบ e-Payment ณ กุมภาพันธ์ 2565 พบว่า ปริมาณการทำธุรกรรมชำระเงินเพิ่มขึ้นเป็น 330 ครั้งต่อคนต่อปี เพิ่มขึ้นก้าวกระโดดจากอดีตอยู่ที่ 60 ล้านครั้งต่อคนต่อปี เป็นผลมาจากคนยอมรับการใช้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ขณะที่มีจำนวนการผูกบัญชีผ่านโมบายแบงกิ้งและอินเทอร์เน็ตแบงกิ้งอยู่ที่ 125-126 ล้านบัญชี

ขณะที่จำนวนการลงทะเบียนบริการพร้อมเพย์อยู่ที่ 70 ล้านบัญชี (บัตรประชาชนและหมายเลขโทรศัพท์) มีปริมาณธุรกรรมการใช้อยู่ที่ราว 40 ล้านรายการต่อวัน โดยเฉลี่ยวงเงินอยู่ที่ 600 บาทต่อรายการ และพบว่ายอดวงเงินต่ำกว่า 100 บาทต่อรายการมีจำนวนเพิ่มขึ้น ส่วนจุดวาง QR Code ปัจจุบันอยู่ที่ 7.2 ล้านจุด

ส่วนสถิติการใช้บริการออกหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์ e-L/G on Blockchain โดยปัจจุบันมีจำนวนสถาบันการเงินเข้าร่วมทั้งสิ้น 18 ราย บริษัทและบริษัทในเครือรวม 23 บริษัท ปริมาณธุรกรรมการออกหนังสือ e-L/G ทั้งสิ้น 6.5 หมื่นใบคิดเป็นมูลค่า 1.2 แสนล้านบาท โดยปัจจุบันมีผู้เข้าร่วมและกำลังจะออกจากการทดสอบอีก 10 ราย 

“ในช่วงที่ผ่านมาเรามีการออกไกด์ไลน์เป็นแนวปฏิบัติให้ผู้ประกอบการใช้ และผู้กำกับก็สามารถใช้ตรวจสอบได้ เช่น Blockchain Guideline และ Biometrics Guideline

ซึ่งต่อไปในอนาคตจะมีหลักเกณฑ์ออกมาอย่างต่อเนื่อง เช่น ที่มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นไปแล้วจะเป็นเรื่อง API ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ รวมถึงหลักเกณฑ์ของ Virtual Banking หรือ Digital Currency ที่หากมีหลักเกณฑ์ชัดเจนอาจจะเข้ามาทดสอบใน Regulatory Sandbox ต่อไปได้ในอนาคต”