ความดันโลหิตสูง ตรวจเจอประกันสุขภาพไม่จ่าย – ประชาชาติธุรกิจ

ประกันสุขภาพ,ความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูงถ้าหากเราป่วย แต่พบว่าประกันไม่จ่าย เกิดจากอะไรได้บ้าง !?
ไม่ใช่เรื่องไกลตัวหรือเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลย ในกรณีที่เราจ่ายเบี้ยประกันอย่างสม่ำเสมอ แต่สุดท้ายแล้วประกันสุขภาพของเราที่ชำระเบี้ยตรงเวลามาโดยตลอดกลับถูกปฏิเสธเมื่อเราทำการเบิกจ่าย ในยามฉุกเฉินหรือรักษาตัวที่โรงพยาบาล ซึ่งเหตุการณ์เช่นนี้สามารถเกิดจากอะไรได้บ้าง บริษัทประกันภัยไม่จ่ายค่าสินไหมทดแทน แปลว่าเบี้ยวจริงหรือ? หากเราป่วย เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล จะมีกรณีไหนบ้างที่ประกันไม่จ่าย ไม่นับว่าการเข้ารักษาของเราอยู่ในการคุ้มครองของประกันสุขภาพตามที่ควรจะเป็น

กรณีศึกษาที่เคยเกิดขึ้นจริง : โรคความดันโลหิตสูง ตรวจเจอประกันไม่จ่าย
กรณีนี้คือหลังจากตกลงทำประกันสุขภาพมาแล้ว 2 ปี แต่ตรวจพบอาการของความดันโลหิตสูงในช่วงระยะเวลานี้ ทางบริษัทประกันภัยจะทำการบอกล้างกรรมธรรม์ หรือเรียกง่ายๆ ว่าขอยกเลิกสัญญาเนื่องจาก ‘ความดันโลหิตสูง’ คือหนึ่งในโรคที่ประกันไม่คุ้มครอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ตรวจไม่พบก่อนทำประกันแล้วมาตรวจเจอทีหลัง ภายในระยะเวลา 2 ปีหลังจากทำประกันสุขภาพ หรือหากเป็นกรณีปกปิดว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงก่อนมาทำประกัน ประกันจะไม่จ่ายโดยเด็ดขาด

หากตรวจพบภายหลัง และต้องการสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขของประกันสุขภาพ ต้องให้ผู้วินิจฉัยขาดคือ ‘แพทย์’ ที่ผู้ทำการรักษาเท่านั้นเป็นผู้ฟันธงว่าผู้เอาประกันตน เป็นโรคความดันโลหิตสูงมาก่อนทำประกัน หรือเพิ่งมาเป็นในภายหลังกันแน่ หากคำชี้ขาดของแพทย์ระบุว่าเป็นในภายหลัง ผู้เอาประกันตนก็จะได้รับเงินค่าชดเชยต่างๆ ตามปกติ ซึ่งในขั้นตอนนี้มักเต็มไปด้วยความวุ่นวายในการยื่นคำร้องและเอกสารมากมาย และเราเชื่อว่าท่านผู้อ่านก็คงรู้สึกเครียดและปวดหัวมากแน่ๆ หากเจอกรณีนี้กับตนเอง

จะดีกว่าไหม ถ้ารู้ก่อนว่าประกันสุขภาพไม่คุ้มครอง ไม่ครอบคลุมโรคอะไรบ้าง
โดยส่วนมากแล้วโรคที่ประกันสุขภาพมักไม่คุ้มครอง ได้แก่ อาการป่วยโดยกำเนิด เช่น
1. โรคที่เป็นมาแต่กำเนิด
2. โรคทางพันธุกรรม
3. โรคเกี่ยวกับปัญหาด้านพัฒนาการ
ซึ่งอาการเหล่านี้ถือเป็นโรคที่เป็นมาก่อนทำประกันอยู่เเล้ว และอาจมีโอกาสที่จะรักษาไม่หายขาด จึงไม่เข้าข่ายการได้รับการคุ้มครอง

10 อาการป่วยอื่นๆ ที่ประกันสุขภาพไม่จ่าย
1. ความดันโลหิตสูง (มักพบได้มากในผู้สูงอายุ)
2. การติดสุราเรื้อรัง และสารเสพติดทุกชนิด
3. การรักษา เสริมความงามเพื่อชะลอความเสื่อมของวัย
4. การเข้ารับการรักษาโดยที่ไม่ใช่คำสั่งจากแพทย์
5. การรักษากับแพทย์ทางเลือก อาทิ การฝังเข็ม หรือนวดกดจุด
6. โรคที่เกิดจากการแปลงเพศ
7. การตรวจสุขภาพเพื่อค้นหาโรค
8. พักรักษาตัวใจโรงพยาบาลโดยไม่มีอาการเจ็บป่วยที่ชัดเจน หรือรุนแรง
9. การเข้ารับการรักษาโดยที่ไม่ใช่คำสั่งจากแพทย์
ข้อควรรู้ : ประกันสุขภาพ ทำแล้วไม่ได้คุ้มครองในทันที

กรมธรรม์บางฉบับอาจมีผลบังคับใช้ 30 วันในกรณีเจ็บป่วยหลังจากทำประกัน ส่วนนี้เรียกว่า ‘ระยะเวลารอคอย’ ซึ่งถ้าหากป่วยหรือมีอาการบาดเจ็บรุนแรง ก็อาจจะมีระยะเวลารอคอย 90-120 วันเลยทีเดียว เหตุผลที่เป็นเช่นนี้เพราะบริษัทประกันภัยต้องการลดความเสี่ยงในการซื้อประกันสุขภาพ จากกลุ่มผู้ที่รู้อยู่เเล้วว่าตัวเองมีอาการป่วย เพื่อเข้ารับการรักษาแล้วต้องการเบิกเงินจากประกันสุขภาพ และที่สำคัญคือประกันสุขภาพไม่คุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อนทำประกันในทุกกรณี

อย่าลืมเช็คตัวเอง
การทำงานหนักเกินไปเป็นสิ่งที่เราทุกคนรู้กันอยู่แล้วว่าไม่เคยส่งผลดีต่อสุขภาพใครเลย ถ้าหากคุณคืออีกหนึ่งคนที่ทำงานหนักตลอดเวลา ไม่ค่อยมีเวลาพักผ่อน หรือมีอาการนอนไม่หลับ ทานอาหารไม่อร่อย เหมือนอย่างที่เคย และพบว่าร่างกายเริ่มมีอาการดังนี้
• เหนื่อยง่าย
• เจ็บหน้าอก
• เวียนหัว
• ปวดหัวไมเกรน
หรือถ้าหากมีอาการทางกายที่หนักขึ้น เช่น
• ตามองไม่เห็นข้างหนึ่ง
• มือชา
• เท้าชา
• เลือดกำเดาไหล
อาการเหล่านี้อาจจะบ่งชี้ว่าคุณกำลังอาจจะมีอาการความดันโลหิตสูง หรือมีภาวะอื่นๆ แทรกซ้อนอยู่ด้วย ซึ่งถ้าหากตัวคุณเองอยู่ในระยะการซื้อประกันสุขภาพมาไม่เกิน 2 ปี ก็อาจจะเข้าข่ายที่ประกันไม่จ่ายเช่นเดียวกัน

รักษาสุขภาพไว้ ไม่ป่วยง่ายและไม่กลายเป็น Case ที่ประกันไม่จ่ายเสียเอง
ก่อนอื่นอย่าลืมเช็คว่าคุณซื้อประกันสุขภาพมานานเท่าไรแล้ว อยู่ในช่วงระยะเวลา 2 ปี ที่อาจจะเสี่ยงต่อการถูกล้างกรมธรรม์ (ยกเลิกสัญญา) หรือไม่ และถ้ายังอยู่ในช่วง 2 ปีที่กล่าวมา การดูแลรักษาสุขภาพในช่วงนี้ก็ถือว่าเป็นการลดความเสี่ยงที่ประกันสุขภาพจะไม่จ่าย และคลายเรื่องปวดหัวในการเดินเอกสารต่างๆ ที่จะตามมาได้อีกด้วย

ทำงานหนักทุกวัน เจอความเครียดตลอดเวลา ไม่มีเวลาเช็คสุขภาพ
ปกติแล้วเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เพราะคนวัยทำงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นระดับหัวหน้างาน หรือผู้บริหารโครงการขึ้นไป มักจะมีแต่เรื่องงานพร้อมเรื่องเครียดเข้ามาให้จัดการอยู่เสมอ การพูดถึงเวลาว่างหรือการออกกำลังกายในบางคนนั้นอาจจะเป็นไปไม่ได้เลย ดังนั้นหากพูดถึงการไปตรวจสุขภาพ ‘อย่างเป็นทางการ’ ก็อาจจะเป็นวาระโอกาสที่หาเวลาไปตรวจได้ยาก และถ้าหากคุณมีอายุในช่วงวัย 30 ตอนปลายหรือ 45 ปีขึ้นไป การเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงก็อาจเกิดขึ้นได้มาก และอาจเสี่ยงที่จะกลายเป็น Case ที่ประกันไม่คุ้มครอง เราจึงขอแนะนำให้เริ่มดูแลสุขภาพแต่เนิ่นๆ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีทั้งร่างกาย และจิตใจที่จะไม่ต้องไม่ปวดหัวกับโรคที่ประกันภัยไม่จ่าย ไม่คุ้มครองในภายหลังอีกด้วย
และหากคุณยังมีข้อสงสัยว่าถ้าป่วยโรคหายากกับโรคร้ายแรงต่างกันอ่ย่างไร และหากเรา ป่วยโรคหายากประกันสุขภาพคุ้มครองไหม? ก็สามารถอ่านต่อที่ลิงก์นี้ได้เลย