
หมอยงระบุการกลายพันธุ์ของไวรัสส่วนใหญ่จะเกิดในส่วนของโปรตีนหนาม แต่การตรวจ ATK จะตรวจหาในส่วนนิวคลีโอแคปสิด ที่เป็นส่วนโครงสร้างของตัวไวรัส การใช้ ATK ตรวจหาโควิด-19 จึงยังไม่ได้เป็นปัญหา
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก กล่าวถึงความไวของการตรวจการติดเชื้อด้วยชุดตรวจแบบ ATK
- เชียงใหม่ จากเมืองท่องเที่ยวยอดฮิต เป็น “บ้านหลังที่ 2” ของคนจีน
- MK Wellness หมุดหมายใหม่ “เอ็มเค สุกี้”
- เปิดประวัติตะวัน-แบม 2 นักกิจกรรมการเมืองอดอาหารแลกอิสรภาพ
นพ.ยงระบุว่า การกลายพันธุ์ของไวรัสที่แบ่งกลุ่มย่อยแตกต่างมากมาย ส่วนใหญ่จะเกิดในส่วนของโปรตีนหนาม spike protein การจำแนกสายพันธุ์ย่อยก็จำแนกจากส่วนนี้
การตรวจ ATK จะตรวจหาในส่วนนิวคลีโอแคปสิด Nucleocapsid ของไวรัสเป็นส่วนโครงสร้างของตัวไวรัส ในส่วนนี้จะมีการกลายพันธุ์เกิดขึ้นน้อยมาก เราจะเห็นว่าเวลาการตรวจวินิจฉัย ไม่ว่าจะเป็น RT PCR หรือ ATK จะใช้ในส่วนนี้เป็นการตรวจวินิจฉัย เนื่องจากค่อนข้างคงตัว
ดังนั้น ที่ผ่านมาการใช้ ATK ตรวจหาโควิด-19 จึงยังไม่ได้เป็นปัญหา
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเกี่ยวกับความไวของการตรวจ ATK ยังขึ้นอยู่กับชนิดน้ำยา เป็นที่ทราบอยู่แล้วว่าความไวน้อยกว่า RT PCR และวิธีการเก็บตัวอย่างให้ได้และถูกต้อง โดยเฉพาะถ้าต้องเก็บตัวอย่างเอง
การป้ายเข้าไปในจมูก ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยกล้าแยงลงลึก ทำให้เป็นผลลบได้ การป้ายจากคอโดยเฉพาะส่วนลึกของคอ จนถึงกับอาเจียนหรือมีเสมหะออกมาจะตรวจได้ดีกว่า เพราะเก็บตัวอย่างได้มากกว่า น้ำลายก็เป็นตัวอย่างที่สามารถนำมาตรวจได้ ถ้าชุดตรวจที่บอกว่าให้ตรวจจากน้ำลาย โดยเฉพาะในเด็ก