เปิดโปรแกรมทัวร์ ผู้ว่าฯ กทม. ชัชชาติ ไปอังกฤษ

ชัชชาติ ศานนท์ ลอนดอน

โปรแกรม “ชัชชาติ” เยือนกรุงลอนดอน 6-8 กุมภาพันธ์ 2566 แลกเปลี่ยนความรู้ 3 ธีม Digital Day, Public Transport And Infrastructure Day และ Urban Planning And Green Space Day

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ไปเยือนกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักรตามคำเชิญของสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย โดยมีโปรแกรมการร่วมหารือ พบปะ แลกเปลี่ยนมุมมองในเรื่องโอเพ่น ดาต้า การจัดการการจราจร และการพัฒนาเมืองกับหน่วยงานชั้นนำของสหราชอาณาจักร

โดยมีกำหนดการในการร่วมหารือทั้งสิ้น 3 วัน โดยแบ่งออกเป็น 3 ธีมในการร่วมหารือคือ Digital Day, Public Transport And Infrastructure Day และ Urban Planning And Green Space Day โดยนายชัชชาติมีกำหนดการดังต่อไปนี้

ชัชชาติ ลอนดอน
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการรุงเทพมหานคร ดูงานอังกฤษ ตามคำเชิญของสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย ระหว่างวันที่ 6-8 ก.พ. 2566

Digital Day

6 กุมพันธ์ 2566 วันแรกของการเยือนกรุงลอนดอนของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ โปรแกรมแรกคือ การร่วมหารือกับ Pete Daw หัวหน้าแผนกการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศของกรุงลอนดอน (Head of London’ Climate Change) ในประเด็นความเสี่ยงของสภาพอากาศและความเสี่ยงในการเผชิญปัญหาน้ำท่วม

โปรแกรมที่ 2 จะเป็นการร่วมหารือกับ Theo Blackwell ผู้อำนวยการดิจิทัล กรุงลอนดอน ในหัวข้อการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ และประโยชน์ที่ได้จากการเปิดเผยข้อมูลต่อภาคธุรกิจและภาคประชาชน

และพักทานอาหารเที่ยงร่วมกับนายธานี ทองภักดี เอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน

ในช่วงบ่าย เป็นการเยี่ยมชมโครงการ The Thames Barrier หนึ่งในระบบป้องกันน้ำท่วมที่ใหญ่ที่สุดของโลกซึ่งตั้งอยู่บนแม่น้ำเทมส์ โดยมี Andy Batchelor ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการนำเยี่ยมชม

และปิดท้ายวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 ด้วยการร่วมรับประทานอาหารค่ำกับ Open Data Institute หนึ่งในผู้สนับสนุนโครงการ Open Bangkok ของ กทม.

ชัชชาติ ลอนดอน 4

Public Transport And Infrastructure Day

7 กุมภาพันธ์ 2566 เริ่มจากการร่วมหารือกับ David Halpem CEO ของ the Behavioural Insights Team ซึ่งเป็นองค์กรที่นำข้อมูลเชิงพฤติกรรมของผู้คนจากทั้งปัจจัยทางจิตวิทยา และเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงให้แก่สังคม

ก่อนที่จะร่วมหารือเกี่ยวกับการจราจรในกรุงลอนดอน โดยเฉพาะประเด็นการเชื่อมต่อของบริการขนส่งสาธารณะ กับนาย Henry Cresser ตัวแทนจาก Transport for London (TFL) ก่อนจะเยี่ยมชม TFL Management Control Center ศูนย์ควบคุมโครงข่ายการขนส่งของกรุงลอนดอน

แวะพักรับประทานอาหารเที่ยงกับตัวแทนจากสถาบันวางแผนเมืองแห่งสหราชอาณาจักร หรือ Royal Town Planning Institute และสมาคมการวางแผนพัฒนาเมืองและประเทศ หรือ Town and Country Planning Association

เริ่มต้นโปรแกรมช่วงบ่ายโดยการร่วมหารือกับหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมของอังกฤษ ในประเด็นการวางแผนป้องกันน้ำท่วม โดยเฉพาะแผนแม่น้ำเทมส์ 2100 ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบที่ดีในการพัฒนาแผนสำหรับป้องกันน้ำท่วม

ก่อนแวะไปที่ Battersea Power Station แหล่งช็อปปิ้งริมแม่น้ำเทมส์ที่ปรับปรุงจากโรงงานไฟฟ้าถ่านหินที่เลิกใช้แล้ว เพื่อหารือกับ Richard De Cani ผู้บริหารของ Arup บริษัทไม่แสวงหากำไร ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาเมืองแบบยั่งยืน

ชัชชาติ ลอนดอน 3

Urban Planning And Green Space Day

8 กุมภาพันธ์ 2566 วันสุดท้ายของโปรแกรมการเยือนกรุงลอนดอน มีกำหนดการแรกหารือกับตัวแทนของ The Connected Places Catapult องค์กรด้านนวัตกรรมของรัฐบาลอังกฤษ ที่มีประสบการณ์ในด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการวางแผนเมืองและวางแผนการคมนาคมขนส่ง

และปิดท้ายโปรแกรมการเยี่ยมกรุงลอนดอนด้วยการเยี่ยมชม UCL Urban Laboratory ศูนย์ศึกษาเกี่ยวกับเมืองและวิถีชีวิตในเมือง ก่อนจะเดินทางกลับ