เปิดประวัติ พรพินิจ พรประภา ผู้บริหารรุ่นที่สอง กลุ่มสยามกลการ

พรพินิจ พรประภา

รู้จัก พรพินิจ พรประภา พ่อไฮโซพก ผู้บริหารรุ่นที่สอง ของอาณาจักรแสนล้าน กลุ่มสยามกลการ

วันที่ 19 ตุลาคม 2566 ครอบครัวพรประภาสูญเสียครั้งใหญ่ หลังวานนี้ (18 ต.ค. 66) นายพรพินิจ พรประภา พ่อของ “ไฮโซพก” นายประธานวงศ์ พรประภา ได้เสียชีวิตอย่างสงบจากโรคประจำตัว โดยเมื่อคืนที่ผ่านมา ไฮโซพก ซึ่งเป็นลูกชายคนโตได้โพสต์ภาพครอบครัวพร้อมระบุว่า “Family 18/10/2023” และโพสต์ภาพคู่กับคุณพ่อในอินสตาแกรมสตอรี่ พร้อมข้อความว่า “รักตลอดไป จนกว่าจะพบกันอีกครั้ง รักเสมอ” โดยจะมีพิธีบำเพ็ญกุศลที่วัดธาตุทอง ศาลา 23 ศาลาดรงคพิทยา กรุงเทพฯ

พรพินิจ พรประภา

ประวัติ

สำหรับนายพรพินิจ พรประภา ถือเป็นทายาทรุ่นที่สองของ ดร.ดร.ถาวร พรประภา มีบุตร-ธิดา กับ 2 ภรรยา รวมด้วยกันทั้งสิ้น 13 คน คือ พรพิมล, พรศักดิ์, พรทิวา, พรทิพย์, พรเทพ, พรพินิจ, พรเนตร, พรพงษ์, พรสรรค์, พรพรรณ, พรนิสา, พรชลิต และพรพิมพ์

พี่น้องทั้ง 13 คนชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า “พร” ทั้งหมด ขณะที่เจนที่ 3 ของตระกูลพรประภา ชื่อก็จะขึ้นต้นด้วย “ประ” และรุ่น 4 ก็จะชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า “ภา”

ด้านชีวิตการสมรส นายพรพินิจ พรประภา แต่งงานกับ นางกีรติการ พรประภา มีบุตร-ธิดา รวม 4 คน ได้แก่ นายประธานวงศ์ (พก) ประธานและซีอีโอ บริษัท เรเว่ออโตโมทีฟ จำกัด ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้ายี่ห้อ บีวายดี แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย, นางสาวประธานพร (เอ็ม), นายประณัย (นัย) แฟนหนุ่มของนักแสดงสาว แต้ว ณฐพร เตมีรักษ์ และนายประคุณ (เช้า)

ADVERTISMENT

พรพินิจ พรประภา

ทายาทรุ่นที่สอง อาณาจักรแสนล้าน

นายพรพินิจ พรประภา ถือเป็นผู้บริหารรุ่นที่สอง ของอาณาจักรแสนล้าน ของกลุ่มสยามกลการ ตระกูลพรประภา ที่สืบทอดธุรกิจมาจากผู้พ่อ (ปู่) ดร.ถาวร พรประภา ที่คร่ำหวอดอยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมหนัก มูลค่ารวมกว่าแสนล้าน

ADVERTISMENT

ดร.ถาวร พระประภา เกิดในช่วงปลายปี 2459 เป็นลูกคนที่ 3 จากจากครอบครัวที่ทำธุรกิจค้าของเก่า ในชื่อ “ตั้งท่งฮวด” ในเชียงกงใกล้โรงภาพยนตร์โอเดียน

นักบริหารมืออาชีพ ในตระกูลพรประภา น้องชายของนายพรพินิจ อีกคนคือ นายพรเทพ พรประภา ดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการธนาคารกรุงเทพ มีผลตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 และเป็นกรรมการ ธนาคารมาก่อนหน้านี้ 16 ปี และเป็นประธาน และกรรมการบริษัทในตลาดหลักทรัพย์อีก 33 บริษัท พรเทพ เป็นมหาเศรษฐีอันดับ 40 ของประเทศไทยที่มีมูลค่าทรัพย์สินกว่า 2.87 หมื่นล้านบาท จัดอันเดับโดยนิตยสารฟอร์บส์ประเทศไทย

ส่วนคุณหญิงพรทิพย์ พรประภา (ณรงค์เดช) พี่สาวคนโต ได้ขยายธุรกิจออกไปเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัท KPN ที่มีทั้งธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ อสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจดนตรีและเอนเตอร์เทนเมนต์

จาการเริ่มต้นธุรกิจของ ดร.ถาวร พรประภา (รุ่นพ่อ) เมื่อปี 2495 ได้ก่อตั้งบริษัท สยามกลการ จำกัด ทำธุรกิจค้ารถยนต์ นำเข้า และจัดจำหน่าย ดัทสัน และนิสสันในประเทศไทย และทั้งนำเข้าผลิตเครื่องจักรกลได้ขยายธุรกิจที่เกี่ยวข้องออกไปอีกหลายแขนง ทั้งเครื่องจักรกลหนักโคมัตสุ, ลิฟต์-บันไดเลื่อนฮิตาชิ, เครื่องปรับอากาศไดกิ้น, เครื่องดนตรี และเครื่องเสียงยามาฮ่า, แบตเตอรี่ยีเอส, โช้กอัพ KYB และอะไหล่-ชิ้นส่วนยานยนต์อื่น ๆ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีธุรกิจกลุ่มการท่องเที่ยวและบริการมีโรงแรมในเครือสยามแอทสยาม, โรงแรมเมอเว่นพิคพัทยา, สนามกอล์ฟสยามคันทรีคลับและสนามกอล์ฟ ปัจุบันกลุ่มสยามกลการมี 6 ธุรกิจหลัก มีบริษัทในเครือมากว่า 50 บริษัท

กลุ่มธุรกิจของตระกูลพรประภา ประกอบด้วย

  • อุตสาหกรรมรถยนต์
  • อะไหล่ชิ้นส่วนรถยนต์
  • อุตสาหกรรมและเครื่องจักรหนัก
  • การท่องเที่ยวและบริการ
  • การศึกษาและเครื่องดนตรี
  • การลงทุน

กลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ ประกอบด้วย นิสสัน พาวเวอร์เทรน (ประเทศไทย), นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย), นิสสัน เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์), นิสสัน พาวเวอร์เทรน (ประเทศไทย), สยามนิสสัน บอดี้, สยามนิสสันเซลส์ และเอส เอ็น เอ็น อุปกรณ์และแม่พิมพ์

กลุ่มอะไหล่ชิ้นส่วนรถยนต์ ประกอบด้วย นิตตั้น (ประเทศไทย), นิตตั้น เวียดนาม, บ๊อช ออโตโมทีฟ (ประเทศไทย), มาห์เล สยาม ฟิลเตอร์ ซิสเต็มส์, มาห์เล สยาม อิเล็คทริค ไดรฟ์, ยีเอส ยัวซ่า สยาม อินดัสตรีส์, ยีเอส ยัวซ่า สยามเซลส์, ยีเอส ยัวซ่า แบตเตอรี่ (มาเลเซีย), วาลีโอสยาม เทอร์มอลซิสเต็มส์, สยาม ยีเอส แบตเตอรี่, สยาม ยีเอส แบตเตอรี่ เมียนมา, สยาม ริกเก้น อินดัสเตรี้ยล, สยาม เอ็น เอส เค สเตียริ่ง ซิสเต็มส์, สยามกลการอะไหล่, สยามคาลโซนิค, สยามชิตะ, สยามยีเอสเซลส์, สยามเอ็นจีเค สปาร์คปลั๊ก, ฮิตาชิ แอสเตโม ชลบุรี พาวเวอร์เทรน, เควายบี (ประเทศไทย), เอ็กเซดี้ (ประเทศไทย), เอ็น เอส เค แบริ่งส์ (ประเทศไทย), เอ็น เอส เค แบริ่งส์ (มาเลเซีย) และเอ็น เอส เค แบริ่งส์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย)

กลุ่มอุตสาหกรรมและเครื่องจักรหนัก ประกอบด้วย ทีซีอาร์แอร์ซิสเต็ม, บางกอกโคมัตสุ, บางกอกโคมัตสุ ฟอร์คลิฟท์, บางกอกโคมัตสุเซลส์, สยาม ฮิตาชิ เอลลิเวเตอร์, สยามกลการอุตสาหกรรม, สยามไดกิ้นเซลส์, ฮิตาชิ เอลลิเวเตอร์ (กัมพูชา), ฮิตาชิ เอลลิเวเตอร์ (ประเทศไทย), ฮิตาชิ เอลลิเวเตอร์ (ลาว), ฮิตาชิ เอลลิเวเตอร์ (เมียนมา), เอสเอ็มซีซี (ประเทศไทย), โคมัตสุ บางกอก ลีสซิ่ง, โคมัตสุ ลีสซิ่ง (กัมพูชา) และโคมัตสุ เซลส์ (กัมพูชา)

กลุ่มการท่องเที่ยวและบริการ ประกอบด้วย สยาม แอ็ท สยาม ดีไซน์ โฮเต็ล พัทยา, สยาม แอ็ท สยาม ดีไซน์ โฮเต็ล กรุงเทพฯ, สยามคันทรีคลับ พัทยา วอเตอร์ไซค์, สยามคันทรีคลับ พัทยา แพลนเทชั่น, สยามคันทรีคลับ พัทยา โอล์ดคอร์ส, สยามคันทรีคลับ แบงคอก, สยามปทุมวันเฮาส์ และเมอเวนพิค สยาม โฮเทล นาจอมเทียน พัทยา

กลุ่มการศึกษาและเครื่องดนตรี ได้แก่ สยามดนตรียามาฮ่า

กลุ่มการลงทุน ประกอบด้วย ทุนถาวร, บางกอกมอเตอร์เวอคส์, สยามกลการ และสยามออโต้พาร์ท

พรพินิจ พรประภา
พรพินิจ พรประภา ยืนคู่่กับ ประธานวงศ์ (พก) และประนัย (นัย)

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก

  • www.siammotors.com
  • Forbes Thailand
  • Yamaha Music Thailand/Facebook