จับตาพายุลูกใหม่ในมหาสมุทรแปซิฟิก-กรมอุตุฯเตือนฝนตกหนัก 11-14 ส.ค.นี้

พายุมาเรีย(MARIA) บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก (ตัวD)
พายุมาเรีย(MARIA) บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก (ตัว D)

กรมอุตุฯเผยมีพายุลูกใหม่ “พายุมาเรีย” (MARIA) บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก เตือนหลายพื้นที่รวม กทม.และปริมณฑล มีฝนตกหนักช่วง 11-14 สิงหาคมนี้ เฉลี่ย 60-70% ของพื้นที่ อิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น กับมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและประเทศลาว รวมถึงมีกลุ่มฝนหรือหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนด้วย

วันที่ 8 สิงหาคม 2567 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายอากาศทั่วไป ระหว่างวันที่ 8-14 สิงหาคม 2567 ว่า ในช่วงวันที่ 8-10 ส.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน ประเทศไทยตอนบน และอ่าวไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ในขณะที่มีแนวพัดสอบของลมฝ่ายตะวันออกและลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคใต้ตอนล่าง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตั้งแต่ จ.ระนองขึ้นมามีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตั้งแต่ จ.พังงาลงไป และอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 11-14 ส.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้นเป็นกำลังปานกลาง ประกอบกับมีร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน

ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในแผนที่อากาศผิวพื้น (8 ส.ค. 67) กรมอุตุนิยมวิทยาระบุว่า มีลิ่มความกดอากาศสูงจากซีกโลกใต้ปกคลุมบริเวณทะเลอันดามันและด้านตะวันตกของประเทศไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน และยังมี พายุมาเรีย (MARIA) บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกด้วย

Advertisment

โดยกรมอุตุฯระบุเพิ่มเติมว่า ระยะนี้ยังไม่พบสัญญาณการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนใกล้บริเวณประเทศไทย มีเกิดขึ้นอยู่ทางด้านตะวันออกของประเทศญี่ปุ่นแต่ห่างไกลมาก (ข้อมูลนี้ใช้เป็นแนวทางในการติดตามสภาพอากาศ ยังต้องติดตามด้วยข้อมูลจากผลการตรวจอากาศอื่น ๆ ร่วมด้วย และข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลง ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ภาพตำแหน่งพายุด้านล่าง)

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

Advertisment
ลิ่มความกดอากาศสูงจากซีกโลกใต้ปกคลุมบริเวณทะเลอันดามันและด้านตะวันตกของประเทศไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน และมีพายุมาเรียบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก
อธิบายภาพ : ลิ่มความกดอากาศสูงจากซีกโลกใต้ปกคลุมบริเวณทะเลอันดามันและด้านตะวันตกของประเทศไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน และมีพายุมาเรีย (MARIA) บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก

ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 11 -14 ส.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วยตลอดช่วง

คาดหมายอากาศรายภาค วันที่ 8-14 สิงหาคม 2567

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 8-10 ส.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งในวันที่ 8 ส.ค. 67 อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม.

ส่วนในช่วงวันที่ 11-14 ส.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 8-10 ส.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนบนของภาคในช่วงวันที่ 9-10 ส.ค. 67 อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส

ส่วนในช่วงวันที่ 11-14 ส.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 11-14 ส.ค. 67 อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

พยากรณ์ฝนสะสมวันที่ 13 สิงหาคม 2567
พยากรณ์ฝนสะสมวันที่ 13 สิงหาคม 2567

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 8-10 ส.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส

ส่วนในช่วงวันที่ 11-14 ส.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาคในช่วงวันที่ 8-10 ส.ค. 67 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง

ในช่วงวันที่ 8-10 ส.ค. 67
ตั้งแต่จังหวัดระนอง ขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ตั้งแต่จังหวัดพังงา ลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 11-14 ส.ค. 67
ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ต ขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ ลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส

กรุงเทพฯและปริมณฑล

ในช่วงวันที่ 8-10 ส.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งในวันที่ 8 ส.ค. 67 อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส

ส่วนในช่วงวันที่ 11-14 ส.ค. 67 ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง

อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

พยากรณ์อากส 7 วัน พื้นที่กทม.และปริมณฑล 8-14 ส.ค. 2567
พยากรณ์อากาศ กทม.และปริมณฑล วันที่ 8-14 สิงหาคม 2567

(ออกประกาศ 08 สิงหาคม 2567 12.00 น.)