เปิดชื่อพายุลูกใหม่ โซนร้อนอู๋คง – กรมอุตุฯเตือนฝนตกหนัก 16-18 ส.ค.นี้

ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบน
ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือตอนบน ตอนบนของภาคอีสาน และประเทศลาว

กรมอุตุฯเตือนช่วง 16-18 สิงหาคมนี้ มีร่องมรสุมพาดผ่านตอนบน กับมีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้ในระดับบนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนัก 60-80% หลายพื้นที่ รวมกทม.และปริมณฑล เผยมีพายุลูกใหม่ พายุโซนร้อน “อู๋คง (WUKONG)” ปกคลุมมหาสมุทรแปซิฟิก เตือนไปญี่ปุ่นตรวจสอบสภาพอากาศก่อนเดินทาง

วันที่ 14 สิงหาคม 2567 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายอากาศทั่วไป ระหว่างวันที่ 14 – 20 สิงหาคม 2567 ว่าร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือตอนบน ตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และประเทศลาว เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ตลอดช่วง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคตะวันออกมีฝนตกหนักบางแห่ง

ส่วนในช่วงวันที่ 16 – 18 ส.ค. 67 จะมีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้ในระดับบนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตั้งแต่จังหวัดระนองขึ้นมามีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตั้งแต่จังหวัดพังงาลงไป และอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

อนึ่ง พายุโซนร้อนกำลังแรง “อ็อมปึล” (AMPIL) บริเวณตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นในระยะต่อไป คาดว่าจะเคลื่อนผ่านด้านตะวันออกของประเทศญี่ปุ่นในช่วงวันที่ 16 – 17 ส.ค. 67 โดยพายุนี้ไม่มีผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในช่วงวันดังกล่าวไว้ด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า นอกจากพายุโซนร้อนกำลังแรง “อ็อมปึล (AMPIL) แล้ว ยังมีพายุอีก 1 ลูก ได้แก่พายุโซนร้อน “อู๋คง (WUKONG)” ปกคลุมบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก และทิศทางมีแนวโน้มมุ่งหน้าไปยังประเทศญี่ปุ่น

Advertisment
ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย สำหรับพายุโซนร้อนกำลังแรง "อ็อมปึล (AMPIL) และพายุโซนร้อน "อู๋คง (WUKONG)" ปกคลุมบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก
อธิบายภาพ : ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย สำหรับพายุโซนร้อนกำลังแรง “อ็อมปึล (AMPIL) และพายุโซนร้อน “อู๋คง (WUKONG)” ปกคลุมบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก

ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ตลอดช่วง

คาดหมายสภาพอากาศ 14-20 สิงหาคม 2567
คาดหมายสภาพอากาศช่วงวันที่ 14-20 สิงหาคม 2567

คาดหมายอากาศรายภาควันที่ 14 – 20 ส.ค. 2567

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 14 – 15 และ 18 – 20 ส.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 – 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง

Advertisment

ส่วนในช่วงวันที่ 16 – 17 ส.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 – 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักหลายพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 – 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 14 – 15 และ 19 – 20 ส.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง

ส่วนในช่วงวันที่ 16 – 18 ส.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 – 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักหลายพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 14 – 15 และ 19 – 20 ส.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่

ส่วนในช่วงวันที่ 16 – 18 ส.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 – 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

ในวันที่ 14 ส.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่

ส่วนในช่วงวันที่ 15 – 20 ส.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 36 องศาเซลเซียส

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

ในวันที่ 14 ส.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่

ส่วนในช่วงวันที่ 15 – 20 ส.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 – 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งตั้งแต่จังหวัดระนองขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 – 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ตั้งแต่จังหวัดพังงา ลงไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 35 องศาเซลเซียส

กรุงเทพและปริมณฑล

ในช่วงวันที่ 14 – 15 และ 18 – 20 ส.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่

ส่วนในช่วงวันที่ 16 – 17 ส.ค. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 – 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 24 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.

พยากรณ์อากาศ กทม. และปริมณฑล 14-20 สิงหาคม 2567
คาดหมายสภาวะอากาศ กทม. และปริมณฑล 14-20 สิงหาคม 2567

(ออกประกาศ 14 สิงหาคม 2567 )