
กรมอุตุฯเผยมีพายุลูกใหม่ พายุโซนร้อน “ชงดารี (JONGDARI) ในมหาสมุทรแปซิฟิก ทิศทางมุ่งหน้าประเทศญี่ปุ่น เตือน 24 ชั่วโมงข้างหน้า ภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งอันดามันยังมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เฉลี่ย 60-70% ของพื้นที่ อิทธิพลจากร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนและมีลมมรสุมที่ยังพัดปกคลุมทะเลอันดามันและอ่าวไทย ส่วน กทม.มีฝน 60% ของพื้นที่
วันที่ 19 สิงหาคม 2567 เมื่อเวลา 12.00 น. กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ลักษณะอากาศทั่วไป ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย
ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ส่วนภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกหนักบางพื้นที่
ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย
สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ขอให้ชาวเรือหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในแผนที่อากาศผิวพื้น 19 สิงหาคม 2567 เวลา 07.00 น. ของกรมอุตุนิยมวิทยา นอกจากมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ยังมีพายุลูกใหม่ พายุโซนร้อน “ชงดารี (JONGDARI) บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกอีก 1 ลูกด้วย ทิศทางมุ่งหน้าไปยังประเทศญี่ปุ่น และเป็นพายุลูกใหม่จากก่อนหน้าที่มีพายุไต้ฝุ่น “อ็อมปึล” (AMPIL) บริเวณตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น

ข้อควรระวัง
ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยโดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ตลอดช่วงวันที่ 19-24 สิงหาคม 2567

พยากรณ์อากาศเวลา 12.00 น. วันนี้ ถึง 12.00 น. วันพรุ่งนี้
ภาคเหนือ
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง พะเยา น่าน ตาก พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
บริเวณจังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม
กาฬสินธุ์ และมุกดาหาร
อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคกลาง
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคตะวันออก
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด
อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ยะลา และนราธิวาส
อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
กรุงเทพมหานคร
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 26-29 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
(ออกประกาศ 19 สิงหาคม 2567)