เช็กเบี้ยผู้สูงอายุ เดือนกันยายน 2567 เงินเข้าวันไหน

เบี้ยผู้สูงอายุ เดือนกันยายน 2567 โอนเข้าวันไหน เช็กการลงทะเบียนรับสิทธิ เงินเข้าบัญชี เกณฑ์รับเบี้ยผู้สูงอายุ และ หลักฐานการลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนกันยายน 2567 เงินเข้าบัญชีใน วันอังคารที่ 10 กันยายน 2567 ตามปกติในการจ่ายเงินเบี้ยผู้สูงอายุ หลังจากได้เปิดลงทะเบียนไปแล้วในเดือน ต.ค. 2565-ก.ย. 2566

โดยเงินผู้สูงอายุปกติจะเข้าบัญชีทุกวันที่ 10 ของเดือน ยกเว้นตรงกับวันหยุดราชการ

การจ่ายเงินเบี้ยผู้สูงอายุ ปี 2567

  • มกราคม : วันพุธที่ 10 มกราคม 2566
  • กุมภาพันธ์ : วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567
  • มีนาคม : วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม 2567
  • เมษายน : วันพุธที่ 10 เมษายน 2567
  • พฤษภาคม : วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม 2567
  • มิถุนายน : วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน 2567
  • กรกฎาคม : วันพุธที่ 10 กรกฎาคม 2567
  • สิงหาคม : วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม 2567
  • กันยายน : วันอังคารที่ 10 กันยายน 2567
  • ตุลาคม : วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2567
  • พฤศจิกายน : วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2567
  • ธันวาคม : วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม 2567

ผู้สูงอายุ รับเงินเท่าไร

  • อายุ 60-69 ปี จะได้รับเบี้ยยังชีพ อัตรา 600 บาท/คน/เดือน
  • อายุ 70-79 ปี จะได้รับเบี้ยยังชีพ อัตรา 700 บาท/คน/เดือน
  • อายุ 80-89 ปี จะได้รับเบี้ยยังชีพ อัตรา 800 บาท/คน/เดือน
  • อายุ 90 ปี ขึ้นไป จะได้รับเบี้ยยังชีพ อัตรา 1,000 บาท/คน/เดือน

การจ่ายเงิน

ภาครัฐจะโอนเงินผ่านธนาคารที่ผู้สูงอายุแจ้งมาให้ทุกวันที่ 10 ของทุกเดือน หากวันที่ 10 ของเดือนใดตรงกับวันหยุดเสาร์อาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ ก็จะเลื่อนเวลาจ่ายเงิน เป็นก่อนวันที่ 10 ของเดือนนั้น ๆ ดังนั้นอาจจะได้รับเงินไม่ตรงวันที่ 10 ในแต่ละเดือน สามารถเช็กเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ได้ทางแอปพลิเคชั่น “ทางรัฐ”

เกณฑ์รับเบี้ยผู้สูงอายุ

  • มีสัญชาติไทย
  • มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ซึ่งได้ยืนยันสิทธิขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • เป็นผู้ไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ ตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนด
  • ตอนนี้ยังไม่มีการกำหนดคุณสมบัติอย่างชัดเจนเรื่องเกณฑ์การชี้วัดรายได้ที่ไม่เพียงพอ ให้ใช้ระเบียบการเบิกจ่ายฉบับเดิมไปก่อน จนกว่าจะมีการกำหนดคุณสมบัติอย่างชัดเจน

ขั้นตอนการยื่นขึ้นทะเบียน

  • ประกาศและประชาสัมพันธ์ให้ผู้สูงอายุทราบสิทธิของตนเอง
  • ลงทะเบียนตามวัน เวลา สถานที่ที่กำหนด (ในวันและเวลาราชการ)
  • ให้ผู้สูงอายุลงทะเบียนได้ตามแบบรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ด้วยตนเอง

หลักฐานการลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

กรณีลงทะเบียนด้วยตนเอง

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ชุด
  • สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก (ออมทรัพย์) จำนวน 1 ชุด และสำเนา 1 ชุด

กรณีผู้สูงอายุไม่สามารถไปลงทะเบียนได้ด้วยตัวเอง ต้องเตรียมเอกสารเพิ่มคือ

Advertisment
  • หนังสือมอบอำนาจ (ยื่นแบบฟอร์มให้ติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ พร้อมสำเนา 1 ชุด
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ พร้อมสำเนา 1 ชุด

สถานที่การขึ้นทะเบียน

  • จุดบริการ ใน กทม. : สำนักงานเขต 50 เขต
  • กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) : ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคมสำนักงาน
  • เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม.โทร.0-2282-4196
  • องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น : อบต. (องค์การบริหารส่วนตำบล) หรือเทศบาลที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

กรณีผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิ

ต้องไม่เป็นผู้สูงอายุที่ได้รับสิทธิประโยชน์จากหน่วยงานรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ. หรือ อบต.) อาทิ เงินบำนาญ เบี้ยหวัด รวมถึงเงินอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายกับเงินเบี้ยยังชีพ เช่น ผู้สูงอายุที่เคยทำงานและได้รับเงินเดือน มีรายได้ประจำ หรือผลตอบแทนอื่น ๆ จากหน่วยงานรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น