กรมอุตุฯเตือน 7-8 พ.ย. ระวังคลื่นกระแสลม Westerly trough มีฝน-ลมแรง

กรมอุตุฯเตือนตอนบนมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตก (Westerly Trough)มีฝนฟ้าคะนอง-ลมแรง ช่วง 7-8 พ.ย.นี้

กรมอุตุฯพยากรณ์อากาศ 10 วันล่วงหน้า 7-16 พ.ย. เตือนช่วง 7-8 พ.ย.นี้ มีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกพัดมาจากเมียนมา (Westerly trough) ส่งผลให้ตอนบนมีฝนฟ้าคะนอง-ลมกระโชกแรง ส่วนพายุไต้ฝุ่น “หยินซิ่ง (YINXING)” ยังต้องติดตามสถาการณ์ คาดเคลื่อนผ่านเกาะลูซอล ประเทศฟิลิปปินส์ ในช่วง 8-9 พ.ย. ยังไม่กระทบไทยในขณะนี้ ส่วนภาคใต้ยังต้องรับมือฝนตกหนัก

กรมอุตุนิยมวิทยา อัพเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุก ๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 7-16 พ.ย. 67 init. 2024110612 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) (วิเคราะห์ตามผลจากแบบจำลองฯ) เฉดสีแดงหมายถึงฝนหนัก สีเขียวหมายถึงฝนเล็กน้อยว่า ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูหนาวอย่างเป็นทางการแล้ว เมื่อวันที่ 3 พ.ย. 67 (ช้ากว่าปกติราว 2 สัปดาห์) ปีนี้มีความแปรปรวนของอากาศสูง ต้องระวังรักษาสุขภาพ ช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง

ช่วงวันที่ 7-16 พ.ย. 67 : คาดว่าจะมีมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงเริ่มแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนต่อเนื่อง ทำให้ลมหนาว (มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ) พัดต่อเนื่อง ส่วนลมในระดับกลาง ยังมีลมฝ่ายตะวันออก ลมตะวันออกเฉียงใต้ พัดเข้ามาแทรกบางช่วง อากาศเย็นในเช้าอากาศเย็น

ส่วนกลางวันอาจจะร้อนบ้าง เนื่องจากเมฆมีน้อย สำหรับยอดดอย ยอดภู จะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด ให้ได้สัมผัสกันยาว ๆ ความหนาวเย็นจะแผ่ปกคลุมอยู่ถึงวันที่ 14 พ.ย. 67 ก่อนที่จะอ่อนกำลังลงบ้าง ส่วน กทม. และปริมณฑล อากาศเย็นลงเล็กน้อย

พยากรณ์ฝนสะสม 7 พ.ย. 2567
พยากรณ์ฝนสะสม 7 พ.ย. 2567

แต่ช่วง 7-8 พ.ย. 67 ภาคเหนือตอนบน (จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน) มีเมฆมาก อาจจะมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น ลมกระโชกแรง (เนื่องจากมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกในระดับบน (Westerly trough)) พัดจากประเทศเมียนมาเข้าปกคลุม ต้องเฝ้าระวังฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ระวังรักษาสุขภาพช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง

พยากรณ์ฝนสะสม 8 พ.ย.67
พยากรณ์ฝนสะสม 8 พ.ย. 67

ช่วง 8-14 พ.ย. 67 ยังต้องติดตามสถานการณ์พายุไต้ฝุ่น “หยินซิ่ง (YINXING)” ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก (ทางด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์) คาดว่าจะเคลื่อนผ่านเกาะลูซอล ประเทศฟิลิปปินส์ ในช่วง 8-9 พ.ย. 67 และเคลื่อนตัวลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนบน พายุนี้ยังแรงเนื่องจากยังอยู่ในทะเล แต่ทิศทางยังเปลี่ยนแปลง แต่มาในช่วงที่มวลอากาศเย็นแผ่ลงปกคลุมประเทศไทยตอนบน คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเมื่อเคลื่อนตัวเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเวียดนาม จึงยังไม่มีผลกระทบกับประเทศไทยในขณะนี้

ADVERTISMENT
พายุไต้ฝุ่น "หยินซิ่ง (YINXING)" ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก (ทางด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์)
พายุไต้ฝุ่น “หยินซิ่ง (YINXING)” ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก (ทางด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์)

สำหรับภาคใต้ เมื่อลมหนาวมาเยือน (ลมตะวันออกเฉียงเหนือ) ตั้งแต่วันนี้ (7 พ.ย. 67) ถึง 10 พ.ย. 67 ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ตั้งแต่ จ.ชุมพร ลงไป ยังต้องระวังและเตรียมรับมือฝนตกหนัก ฝนตกสะสม คลื่นลมแรงขึ้น อาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ต้องติดตามและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด (ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ตามข้อมูลนำเข้าและประมวลผลใหม่ ใช้เป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจและติดตามสภาพอากาศ การวิเคราะห์ข้อมูลควรใช้ข้อมูลผลการตรวจวัดจริงมาวิเคราะห์ร่วมด้วย ไม่ควรวิเคราะห์เฉพาะจากแบบจำลองฯ)

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตก (Westerly Trough หรือ Westerly wind wave) กรมอุตุนิยมวิทยาเคยอธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าวว่า เป็นปรากฏการณ์ที่กระแสลมในระดับบน ตั้งแต่ 500 hpa (สูงจากพื้นดินประมาณ 5.5 กม.) ขึ้นไป พัดมาจากภาคตะวันตก หรือจากทางเมียนมา ไปทางตะวันออก มักเกิดขึ้นในระยะ 2-3 วัน ช่วงเปลี่ยนฤดูกาล การเคลื่อนตัวมีลักษณะคล้ายคลื่น หรือ Wave จึงเรียกว่าคลื่นกระแสลม

ADVERTISMENT
คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตก (Westerly Trough หรือ Westerly wind wave)
อธิบายภาพ : คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตก (Westerly Trough หรือ Westerly wind wave)