สถิติย้อนหลัง 8 ปี ‘กระทงสวย สู่ขยะล้น’ หลังงานประเพณีมีราคาที่ต้องจ่าย

เปิดสถิติจำนวนกระทงในพื้นที่ กทม. ตลอด 8 ปี ขยะนับแสนชิ้นที่มาจากการเฉลิมฉลองเพียงค่ำคืนเดียว สร้างความเสียหายทั้งทางทรัพยากรที่ต้องสูญเสีย ทั้งคนและเวลา 

“ลอยกระทง” เทศกาลหนึ่งของไทย กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ และขอขมาพระแม่คงคา พอถึงคืนวันเพ็ญ ผู้คนก็จะพากันทำกระทงจากวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ตกแต่งคล้ายรูปดอกบัวบาน ปักธูปเทียน บางคนตัดเล็บ เส้มผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในแม่น้ำลำคลอง ด้วยความเชื่อว่าเป็นการลอยทุกข์ลอยโศก และเคราะห์ร้ายออกไปจากชีวิต รวมถึงเป็นการบูชาพระแม่คงคาที่ทำหน้าที่รักษาแม่น้ำบนสวรรค์อีกด้วย

จากรากฐานความเชื่อในการบูชาพระแม่คงคาด้วยความเคารพ การได้นำกระทงที่ตกแต่งสวยงามไปลอยลงแม่น้ำ พร้อมกับอธิษฐานถึงเรื่องราวดี ๆ ที่อยากให้เกิดขึ้น พร้อมเห็นภาพกระทงนับร้อยพันที่ประกิบด้วยแสงสว่างจากเทียนลอยอยู่เหนือผืนน้ำ กลายมาเป็นภาพที่จรรโลงใจใครหลาย ๆ คน

แต่คงไม่ใช่สำหรับเจ้าหน้าที่ของท้องถิ่นแต่ละพื้นที่ที่ต้องมาจัดการเก็บกวาดขยะในค่ำคืนเฉลิมฉลองนี้อยู่เพียงกลุ่มเดียว โดยข้อมูลจาก กทม. เสนอจำนวนขยะกระทงย้อนหลัง 8 ปี ดังนี้

  • ปี 2560 811,945 ใบ จากวัสดุธรรมชาติ 760,019 ใบ และโฟม 51,926 ใบ
  • ปี 2561 841,327 ใบ จากวัสดุธรรมชาติ 769,444 ใบ และโฟม 44,883 ใบ
  • ปี 2562 502,024 ใบ จากวัสดุธรรมชาติ 483,264 ใบ และโฟม 18,760 ใบ
  • ปี 2563 492,537 ใบ จากวัสดุธรรมชาติ 474,806 ใบ และโฟม 17,731 ใบ
  • ปี 2564 403,235 ใบ จากวัสดุธรรมชาติ 388,954 ใบ และโฟม 14,281 ใบ
  • ปี 2565 572,602 ใบ จากวัสดุธรรมชาติ 548,086 ใบ และโฟม 24,516 ใบ
  • ปี 2566 639,828 ใบ จากวัสดุธรรมชาติ 618,951 ใบ และโฟม 20,877 ใบ
  • ปี 2567 514,590 ใบ จากวัสดุธรรมชาติ 506,320 ใบ และโฟม 8,270 ใบ

จากสถิติดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ในปี 2567 จำนวนขยะกระทงลดลงจากปี 2566 กว่า 125,238 ใบ และมีจำนวนกระทงที่ทำจากโฟมลดลงเหลือหลักพันเป็นครั้งแรกในรอบเกือบทศวรรษ ถึงอย่างนั้นตัวเลขก็ยังคงอยู่ในระดับสูง และมีความจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรและเวลาเพื่อจัดการสถานที่จัดงานลอยกระทงให้กลับมาสะอาด และปราศจากขยะจำนวนหลักแสนและเกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน

เรือเก็บกระทง
(เครดิตภาพ สำนักสิ่งแวดล้อม กทม.)

ในส่วนของพื้นที่กรุงเทพมหานคร กทม.เปิดเผยว่า ได้มีการจัดเตรียมเจ้าหน้าที่ว่า 168 คน ในการเร่งจัดเก็บกระทงให้เสร็จก่อนรุ่งสางตั้งแต่เวลา 20.00-05.00 น. เป็นเวลากว่า 9 ชั่วโมง พร้อมทั้งใช้ยานพาหนะมาช่วยอำนวยความสะดวก ได้แก่

ADVERTISMENT
  • เรือเก็บขยะติดตั้งไฟส่องสว่าง 31 ลำ
  • เรือขนถ่ายและลำเลียงวัชพืช 2 ลำ
  • เรือเก็บขนและลำเลียงวัชพืช 1 ลำ
  • เรือเก็บกวาดวัชพืช 1 ลำ
  • เรือตรวจการณ์ 2 ลำ
  • รถตรวจการณ์ 5 คัน
  • รถบรรทุกเทท้าย 8 คัน

นอกจากทรัพยากรบุคคลและยาพาหนะที่นับเป็นราคาที่ต้องจ่ายสำหรับเทศกาลนี้ ยังมีผลกระทบต่อแหล่งน้ำที่จัดงานจากกระทงบางประเภท อาทิ กระดาษและขนมปังที่จะเปื่อนยุ่ยเมื่อถูกน้ำเป็นเวลานาน ทำให้เกิดความยากลำบากในการจัดเก็บ และอาจทำให้น้ำเน่าเสียเพิ่มมากขึ้น ส่วนกระทงที่ทำจากพลาสติกเมื่อปะทะเข้ากับกระแสน้ำ คลื่นลม อาจแตกตัวกลายเป็นไมโครพลาสติกที่นอกจากจะยากต่อการย่อยสลายแล้ว ยังจะส่งผลต่อแม่น้ำอีกด้วย

ทั้งนี้กระทบที่เกิดจากวัสดุกระทงพบว่ากระทงบางประเภท เช่น กระดาษ ขนมปัง จะเปื่อยยุ่ยเมื่อถูกน้ำ ยากต่อการจัดเก็บ และเสี่ยงทำให้น้ำเน่าเสีย ส่วนขยะพลาสติกเมื่อเจอกระแสน้ำ คลื่นลม อาจแตกตัวกลายเป็นปัญหาไมโครพลาสติก ซึ่งกระทงแต่ละชนิดจะมีระยะเวลาการย่อยสลายที่แตกต่างกันออกไป

ADVERTISMENT

อย่างที่เราทราบกันดีว่า เทศกาลที่ประกอบด้วยความเชื่อและความศรัทธา ส่งต่อกันมาอย่างยาวนานนั้นยากที่จะยกเลิกหรือลดความสำคัญลง แต่ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันที่โลกและประเทศของเราเข้าสู่ภาวะวิกฤตทางอากาศเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

การตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมจึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ต้องคำนึงถึงไม่แพ้กัน เราเองที่ไม่ได้ต้องการให้ประเพณีอันดีงามของไทยนี้หายไปสามารถทำอะไรได้บ้าง

กระทง โฟม
(เครดิตภาพ สำนักสิ่งแวดล้อม กทม.)

เลือกกระทงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ข้อมูลจาก TARAROM ECO เปิดเผยประเภทของกระทงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยสังเกตจากเวลาที่ใช้ในการย่อยสลาย ว่า

กระทงมันสำปะหลัง วัสดุทำจากแป้งมันสำปะหลังซึ่งย่อยสลายได้อย่างรวดเร็วในน้ำตามธรรมชาติ ใช้เวลาเพียง 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง กระทงแบบนี้ไม่เพียงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังมีความสวยงาม เพราะสามารถตกแต่งได้หลากหลายรูปแบบ

กระทงน้ำแข็ง ทำจากน้ำแข็งที่ถูกหล่อในรูปทรงต่าง ๆ เมื่อทำการลอยลงในแม่น้ำ กระทงจะละลายหายไปโดยไม่ทิ้งเศษวัสดุใด ๆ ให้คงค้างไว้ในแม่น้ำ

กระทงจากต้นกล้วย วัสดุจากต้นกล้วยนั้นย่อยสลายได้ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ และยังเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศในน้ำได้ดี แต่อาจทำให้มีสิ่งตกค้างในแหล่งน้ำ เช่น หมุดเหล็กไว้สำหรับใช้ปักตกแต่งกระทง

กระทงกะลามะพร้าว วัสดุกะลามะพร้าวมีความแข็งแรง และสามารถใช้งานซ้ำได้แต่ในแง่การย่อยสลาย กะลามะพร้าวอาจใช้เวลาหลายเดือน หรือประมาณ 15 วันกว่าจะย่อยสลายเต็มที่

กระทงขนมปัง วัสดุจากขนมปังสามารถย่อยสลายประมาณ 3 วัน และเป็นอาหารให้กับปลาและสัตว์น้ำในแม่น้ำต่าง แต่ถ้ากระทงขนมปังมีมากเกินไปในแม่น้ำ ปลากินไม่หมด อาจทำให้แม่น้ำเกิดการเน่าเสียได้

กระทงโฟม โฟมไม่ย่อยสลายได้ง่าย ใช้เวลาในการย่อยสลายมากกว่า 50 ปีกว่าจะย่อยสลายอย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังสร้างขยะและมลพิษที่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ

ลอยกระทงออนไลน์

นอกเหนือจากการรักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว ความสะดวกสบายก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เห็นหลายคนเห็นว่า การเข้าร่วมงานลอยกระทงอาจไม่ตอบโจทย์ความต้องการของตน หลายปีที่ผ่านมารวมถึงปีนี้ กทม. และเอกชนเชิญชวนให้ชาวกรุงเทพฯ ลอยกระทงออนไลน์กันเพิ่มมากขึ้น ทั้งผ่านเว็บไซต์โดยไม่ต้องเดินทาง โดยสามารถลอยได้ตลอดทั้งคืน หรือสำหรับคนที่ยังคงต้องการบรรยากาศวันงานก็สามารถเลือกจุดลอยกระทงออนไลน์ได้ทั่วกรุงเทพฯ

เช่นในปีนี้ที่มีการจัดงานถึง 5 สถานที่ด้วยกัน ได้แก่

  • งาน AEON Digital Loy Krathong-Symphony of River
  • ดิ โอลด์ สยาม พลาซ่า
  • Skywalk สี่แยกปทุมวัน
  • คลองโอ่งอ่าง
  • งานรางน้ำลอยกระทงดิจิทัล Rangnam Loy Krathong Digital