วันเดียวกัน คณะผู้แทนสหภาพยุโรป (อียู) ประจำประเทศไทย เผยแถลงการณ์ที่ออกโดยโฆษกของผู้แทนระดับสูงของสหภาพยุโรปและรองประธานคณะกรรมาธิการยุโรป เกี่ยวกับการประหารชีวิตที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ในวันที่ 18 มิถุนายน 2561 ที่นายธีรศักดิ์ หลงจิ ได้ถูกประหารชีวิตด้วยการฉีดสารพิษ ในประเทศไทย
โดยแถลงการณ์ระบุว่า ในปีหน้านี้ก็จะครบรอบ 1 ทศวรรษแล้ว นับตั้งแต่การประหารชีวิตครั้งสุดท้ายในประเทศไทย ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยได้เข้าไปอยู่ในรายชื่อร่วมกับประเทศอื่นๆที่พักการใช้โทษประหารชีวิตอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นสิ่งที่สหภาพยุโรปได้คาดหวังไว้ผ่านการหารือกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย แต่กรณีการประหารชีวิตนายธีรศักด์ แสดงให้เห็นถึงการก้าวถอยหลังอย่างชัดเจน
สหภาพยุโรปต่อต้านโทษประหารชีวิตไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ใดๆ และมุ่งมั่นที่จะทำให้เกิดการยกเลิกโทษประหารชีวิตทั่วโลก เนื่องจากการประหารชีวิตเป็นการลงโทษที่โหดร้ายและไร้มนุษยธรรม ซึ่งไม่สามารถทำหน้าที่เป็นตัวยับยั้งการกระทำผิด และยังเป็นการปฏิเสธศักดิ์ศรีและความเป็นมนษุย์ซึ่งเป็นที่ยอมรับไม่ได้
สหภาพยุโรปขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยงดเว้นการประหารชีวิตที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ดำเนินการเพื่อพักการใช้โทษประหารและยกเลิกโทษประหารชีวิตในที่สุด
ที่มา มติชนออนไลน์