
1. การประเมินความเสี่ยงที่เป็นระบบ สตง.เกาหลีใต้ (BAI) พัฒนา Risk Analysis Model เครื่องมือในการวิเคราะห์เพื่อคำนวณค่าความเสี่ยงและจัดลำดับระดับความเสี่ยงของโครงการขนาดใหญ่ โดยพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ อาทิ ความซับซ้อนของโครงการ ประวัติผู้รับเหมา ประวัติอุบัติเหตุ และการปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัย
ประเทศไทยได้นำแนวทางนี้มาพัฒนาเป็น MIRA (Megaproject Integrity Risk Assessment) ซึ่งเป็นระบบประเมินความเสี่ยงที่สามารถกำหนดระดับความเข้มข้นในการตรวจสอบโครงการขนาดใหญ่
2. การสอบทานคุณสมบัติของผู้รับเหมาอย่างละเอียด สตง.สหรัฐอเมริกา (GAO) ใช้แนวทาง Past Performance Review เพื่อช่วยหน่วยงานในการสอบทานประวัติของผู้รับเหมาก่อนอนุมัติให้เข้าร่วมโครงการ โดยเน้นพิจารณาประวัติการทำงานก่อนหน้า อุบัติเหตุในอดีต และการปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัย
3. การนำเทคโนโลยีมาช่วยประเมินความปลอดภัย สตง.เนเธอร์แลนด์ (NCA) ได้นำเทคโนโลยี D Modeling และ Simulation มาใช้ในการตรวจสอบความมั่นคงของโครงสร้าง ก่อนเริ่มการก่อสร้าง เพื่อจำลองสถานการณ์และระบุจุดเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ
4. การส่งเสริมความโปร่งใสผ่านรายงานความปลอดภัย สตง.ออสเตรเลีย (ANAO) แนะนำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ รายงานความคืบหน้าด้านความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ และเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ
จนได้มาเป็นโมเดล MIRA ที่ผ่านการอนุมัติจากนายมณเฑียร จำเริญผล ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินว่า มิราจะเข้ามาประเมินความเสี่ยงจากความถี่ของการเกิดอุบัติเหตุ และวัดผลกระทบ 3 ระดับ ว่าเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของงาน และวิเคราะห์แนวโน้มว่าโครงการสามารถไปต่อได้หรือไม่
นอกจากนี้ยังดูว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้น กระทบต่อความมั่นคงของประเทศหรือไม่ หรือสร้างความเสียหายต่อยุทธศาสตร์ชาติ โดยจะมีตารางการประเมินที่แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
- ความเสียหายที่เกิดจากโครงสร้าง
- ความเสียหายที่เกิดจากเครื่องจักรอุปกรณ์
- ความเสียหายที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม
ซึ่งหลังจากประกาศใช้ โมเดล MIRA จะถูกนำมาใช้กับทุกโครงการหลังจากนี้ โดยมีการจัดการขอบเขตโครงการมูลค่า 700 ล้านบาทขึ้นไป เนื่องจากกำไรของโครงการมีเพียง 17-18 เปอร์เซ็นต์ เพื่อดูว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจะทำให้โครงการนี้ไปต่อได้หรือไม่
อุบัติเหตุ 10 ครั้งที่ผ่านมา ความเสี่ยงมาจากคอสะพาน เป็นเหตุให้โครงสร้างมีโอกาสถล่มสูงมาก และต้องรีบแก้ไข จากการประชุมก่อนหน้านี้ คณะทำงาน สตง.จะเอาข้อมูลเข้าระบบมาตรฐานสากล และจะเสนอแนะปลัดกระทรวงคมนาคม และกองการพัสดุภาครัฐ หลังจากที่ได้ต้นแบบมาก็จะออกรายงานภายใน 30 วันทำการ