
เปิดวิธีรับมือจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ทั้งก่อน-ระหว่าง-หลังเกิดเหตุ ต้องปฏิบัติตัวอย่างไรให้ปลอดภัย
จากกรณีแผ่นดินไหวครั้งรุนแรง 7.7 แมกนิจูด ในเมียนมาศูนย์กลางอยู่ที่ภูมิภาคสะกาย ความลึก 10 กิโลเมตร ใกล้มัณฑะเลย์ สามารถรับรู้แรงสั่นสะเทือนได้ถึงประเทศไทย จนได้รับแรงสั่นสะเทือน อาทิ พื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร เมื่อเวลาประมาณ 13.00 น. วันที่ 28 มีนาคม 2568
ซึ่งแผ่นดินไหเป็นภัยพิบัติที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายจากการพังทลายของอาคาร สิ่งปลูกสร้าง และการบาดเจ็บของผู้ประสบภัย และอาจเกิดความเสียหายต่อระบบสาธารณูปโภค
ข้อปฏิบัติเพื่อให้ปลอดภัยจากภัยแผ่นดินไหว
ก่อนการเกิดแผ่นดินไหว
- ควรมีไฟฉายพร้อมถ่านไฟฉาย และกระเป๋ายาเตรียมไว้ในบ้าน
- ศึกษาการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
- ควรมีเครื่องมือดับเพลิงไว้ในบ้าน
- ควรทราบตำแหน่งของวาล์วปิดน้ำ วาล์วปิดก๊าซ สะพานไฟฟ้า สำหรับตัดกระแสไฟฟ้า
- อย่าวางสิ่งของหนักบนชั้น หรือหิ้งสูง ๆ เมื่อแผ่นดินไหวอาจตกลงมาเป็นอันตรายได้
- ผูกเครื่องใช้หนัก ๆ ให้แน่นกับพื้นผนังบ้าน
- สร้างอาคารบ้านเรือนให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว
ระหว่างเกิดแผ่นดินไหว
- อย่าตื่นตกใจ พยายามควบคุมสติอยู่อย่างสงบ
- ถ้าอยู่ในบ้านให้ยืนหรือมอบอยู่ในส่วนของบ้านที่มีโครงสร้างแข็งแรง และให้อยู่ห่างจากประตู ระเบียง และหน้าต่าง
- หากอยู่ในอาคารสูง ควรตั้งสติให้มั่น หลังจากแผ่นดินไหวหยุดแล้วให้รีบออกจากอาคารโดยเร็ว
- ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้ง ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้า และสิ่งห้อยแขวนต่าง ๆ
- อย่าใช้เทียน ไม้ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดประกายไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่บริเวณนั้น
- ถ้าท่านกำลังขับรถให้หยุดรถและอยู่ภายในรถ จนกระทั่งการสั่นสะเทือนจะหยุด
- ห้ามใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาดขณะเกิดแผ่นดินไหว
- หากอยู่ชายหาดให้อยู่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง
หลังเกิดแผ่นดินไหว
- ควรตรวจตัวเองและคนข้างเคียงว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ให้ทำการปฐมพยาบาลขั้นต้นก่อน
- ควรรีบออกจากอาคารที่เสียหายทันที
- ใส่รองเท้าหุ้มส้นเสมอ เพราะอาจมีเศษแก้ว หรือวัสดุแหลมคมอื่น ๆ และสิ่งหักพังแทง
- ตรวจสายไฟ ท่อน้ำ ท่อแก๊ส ถ้าแก๊สรั่วให้ปิดวาล์วถังแก๊ส ยกสะพานไฟ อย่าจุดไม้ขีดไฟหรือก่อไฟจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีแก๊สรั่ว
- ตรวจสอบว่า แก๊สรั่ว ด้วยการดมกลิ่นเท่านั้น ถ้าได้กลิ่นให้เปิดประตูหน้าต่างทุกบาน
- ให้ออกจากบริเวณที่สายไฟขาด และวัสดุสายไฟพาดถึง
- เปิดวิทยุฟังคำแนะนำฉุกเฉิน อย่าใช้โทรศัพท์ นอกจากจำเป็นจริง ๆ
- สำรวจดูความเสียหายของท่อส้วม และท่อน้ำทิ้งก่อนใช้
- อย่าเป็นไทยมุงหรือเข้าไปในเขตที่มีความเสียหายสูง หรืออาคารพัง
- อย่าแพร่ข่าวลือ
ข้อมูลจาก กรมทรัพยากรธรณี