กรมอุตุนิยมวิทยา 7 วันข้างหน้า เตือน กทม. ฝนตกยาวถึง 18 พ.ค. 68

พยากรณ์ฝนสะสม 15 พ.ค.2568
พยากรณ์ฝนสะสม 15 พ.ค. 2568 (ภาพ : กรมอุตุนิยมวิทยา)

กรมอุตุนิยมวิทยา 7 วันข้างหน้า เตือนตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ช่วง 13-18 พ.ค.นี้ เนื่องจากลมตะวันตกเฉียงใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าว ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนัก เสี่ยงท่วมฉับพลัน ขณะที่หลายพื้นที่ ทั้งภาคกลาง ภาคตะวันออก และ กทม.และปริมณฑล จะมีฝนฟ้าคะนอง-ตกหนักบางแห่ง เฉลี่ย 60-80% ของพื้นที่

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า (12 พ.ค. 68) ว่า ประเทศไทยตอนบนยังคงมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และฝนตกหนักบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้น ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางผ่านบริเวณที่มีพายุฝนฟ้าคะนอง และเส้นทางที่มีปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มต่ำ มีข้อจำกัดในการระบายน้ำ ซึ่งอาจเกิดน้ำท่วมขังในระยะสั้นได้  และไม่ควรอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง

สำหรับเกษตรกรควรเสริมความแข็งแรงให้ไม้ผล และเตรียมการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผลผลิตทางการเกษตรและสัตว์เลี้ยง รวมทั้งดูแลรักษาสุขภาพในช่วงที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนปกคลุมประเทศเวียดนามและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทย และทะเลจีนใต้เข้าปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศร้อนบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ

สำหรับภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ทั้งนี้เนื่องจากลมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย

ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

ส่วนสภาวะอากาศที่มีผลต่อการสะสมฝุ่นละอองในระยะนี้ : พบว่าการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันบริเวณประเทศไทยตอนบน อยู่ในเกณฑ์น้อยถึงปานกลาง โดยมีแนวโน้มลดลงหรือคงที่ เนื่องจากยังคงมีฝนตกหลายพื้นที่ในบริเวณดังกล่าว

ADVERTISMENT
พยากรณ์ฝนสะสม วันที่ 14 พ.ค. 2568
พยากรณ์ฝนสะสม วันที่ 14 พ.ค. 2568

พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า

ในช่วงวันที่ 13-18 พ.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง เนื่องจากลมตะวันตกเฉียงใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าว

สำหรับภาคใต้ในช่วงวันที่ 12-18 พ.ค. ภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง เนื่องจากลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนสถานการณ์แผ่นดินไหว(ช่วงวันที่ 11-12 พ.ค. 68) ตรวจพบเหตุการณ์แผ่นดินไหว มีศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศเมียนมาจำนวน 6 เหตุการณ์ และขนาด 6.3 มีศูนย์กลางอยู่ที่ตอนเหนือของหมู่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ได้รับแจ้งรู้สึกสั่นไหวบริเวณ จังหวัดสตูล ภูเก็ต สงขลา และตรัง

พยากรณ์ฝนสะสม วันที่ 15 พ.ค. 2568
พยากรณ์ฝนสะสม วันที่ 15 พ.ค. 2568

คาดหมายอากาศรายภาค
วันที่ 12-18 พ.ค. 2568

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 13-18 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-38 องศาเซลเซียส

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ส่วนในช่วงวันที่ 13-18 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 20-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 13-18 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

คาดหมายอากาศ 7 วัน ภาคกลาง

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 13-18 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-36 องศาเซลเซียส

ในช่วงวันที่ 13-14 พ.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 15-18 พ.ค. ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส

กรุงเทพฯและปริมณฑล

ในช่วงวันที่ 13-18 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

(ออกประกาศ 12 พฤษภาคม 2568)

คาดหมายสภาพอากาศ กทม.และปริมณฑล 7 วัน 12-18 พ.ค. 2568
คาดหมายสภาพอากาศ กทม.และปริมณฑล 7 วัน 12-18 พ.ค. 2568

สัญญาณการเข้าสู่ ‘ฤดูฝน’

สำหรับการจะเข้าสู่ฤดูฝนในแต่ละปี มีปัจจัย 3 ประการที่กรมอุตุนิยมวิทยาใช้ในการพิจารณา ประกอบด้วย

1.ทิศทางลมตั้งแต่ระดับล่างใกล้ผิวพื้นถึงความสูง 3.5 กิโลเมตร เปลี่ยนทิศทางเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งพัดนำความชื้นจากทะเลอันดามันเข้าปกคลุมประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง

2.ลมชั้นบนตั้งแต่ระดับความสูง 5 กิโลเมตรขึ้นไป เปลี่ยนทิศทางเป็นลมตะวันออกเฉียงเหนือ

3.มีฝนตกชุกต่อเนื่องและครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ

เงื่อนไข การประกาศการเข้าสู่ ‘ฤดูฝน’
เงื่อนไข การประกาศเข้าสู่ ‘ฤดูฝน’