สปสช.ยกเลิกเรียกเก็บสำเนา “บัตรประชาชน/ทะเบียนบ้าน” ผู้ป่วยบัตรทอง

เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่าตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้มีหนังสือแจ้งต่อหน่วยงานของ รัฐเรื่องมาตรการอำนวยความ สะดวกและลดภาระแก่ประชาชนให้ยกเลิก การเรียกเก็บสำเนาบัตรประชาชนรวมถึงสำเนาเอกสารที่ทางราชการออกให้ และให้เป็นการดำเนินการเชื่อมโยงข้อมูลภาครัฐตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ได้ห็นชอบโดยดำเนินการให้แล้ว เสร็จในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2561 ทั้งนี้ สปสช.ได้ทำการสำรวจกฎหมายกฎระเบียบข้อบังคับและ ประกาศในความรับผิดชอบพบว่า มี 3 ระบบการดำเนินการที่กำหนดให้ประชาชน ต้องยื่นหรือส่งสำเนา เอกสารที่ทางราชการออกให้มาประกอบ การพิจารณาเพื่อดำเนินการ ได้แก่ 1.ระบบการขอลงทะเบียนเลือกหรือเปลี่ยนแปลง หน่วยบริการประจำตามมาตรา 6 2.ระบบการขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามมาตรา 41 และ 3.ระบบการร้องเรียนหรือขอความช่วยเหลือตาม มาตรา 50 (5) พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545

“ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายภาครัฐ สปสช.ได้มีการปรับเปลี่ยนระบบเพื่อยกเลิก การเรียกเก็บสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาเอกสารที่ทางราชการออกให้โดยในส่วนของระบบการขอลงทะเบียนเลือกหรือเปลี่ยนแปลงหน่วยบริการ ประจำตามมาตรา 6 สปสช.ได้มีหนังสือแจ้งไปยังหน่วยบริการ และหน่วยรับลงทะเบียนประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทุกแห่งให้ยกเลิกการใช้สำเนาบั รประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านแล้ว ขณะที่ระบบการขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามมาตรา 41 แนวทางปฏิบัติเดิมนั้น สปสช.มีแบบฟอร์มขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นที่กำหนดให้แนบสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านด้วย สปสช .จึงได้มีการแก้ไขแบบฟอร์มขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นดังกล่าวแล้ว โดยไม่กำหนดให้ผู้บริการที่เสียหายต้องแนบสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านต่อไป” นายศักดิ์ชัย กล่าว

นพ.ศักดิ์ชัย กล่าวว่า สำหรับระบบการร้องเรียน หรือขอความช่วยเหลือตามมาตรา 50 (5) เช่น กรณีการประสานหาเตียงเพื่อส่ง ต่อผู้ป่วยการขอย้ายไปรับบริการ ณ หน่วยบริการอื่น เป็นต้น ตามหลักเกณฑ์นี้คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานการบริการสาธารณสุขไม่ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ให้ประชาชนหรือผู้ป่วยต้องยื่น สำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้าน แต่ในทางปฏิบัติเมื่อมีการประสานไปยังหน่วยบริการหรือโรงพยาบาลที่รับการส่งต่อผู้ป่วย จะมีการขอสำเนาหลักฐานผู้ป่วยเพื่อยืนยัน ในกรณีนี้จะมีการชี้แจงต่อหน่วยบริการหรือโรงพยาบาลว่าหลังจากนี้ สปสช.ไม่อาจส่งเอกสารของผู้รับบริการได้ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายภาครัฐ

“สปสช.ได้ดำเนินการตามที่ ก.พ.ร.ได้มีหนังสือแจ้งแล้ว จากนี้ไปประชาชนหรือผู้ป่วยที่รับบริการทั้ง 3 ระบบดังกล่าวไม่ต้องแนบยื่นสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านแล้ว” เลขาธิการ สปสช. กล่าว

 

 

ที่มา มติชนออนไลน์