ฝุ่นพิษยังทั่ว ‘กทม.-ปริมณฑล’ เริ่มกระทบสุขภาพ ประสานคุมควันดำ-ก่อสร้าง เล็งขอฝนหลวง

ฝุ่นพิษ “กทม.-ปริมณฑล” อ่วมทุกสถานีตรวจวัด เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ขณะที่ PM.10 ฟุ้งหลายพื้นที่ ประสานหน่วยงานคุมควันดำ-ก่อสร้าง พร้อมขอทำฝนหลวง ขณะที่ กทม.แนะประชาชนสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออกจากบ้าน

เมื่อวันที่ 13 มกราคม ตั้งแต่ช่วงเช้า กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล ว่า จากสภาพอุตุนิยมวิทยาที่อากาศในช่วงเช้า อากาศยังคงลอยตัวไม่ดี สภาพอากาศปิด มีเมฆเป็นส่วนมากและมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาหลายพื้นที่ ส่งผลทำให้สถานการณ์ PM2.5 พื้นที่ กทม.และปริมณฑล คุณภาพอากาศโดยรวมอยู่ในระดับ เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพถึงมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเมื่อพื้นที่ริมถนน เกินค่ามาตรฐาน (50 มคก./ลบ.ม.) 19 พื้นที พื้นที่ทั่วไป เกินค่ามาตรฐาน 17 พื้นที่

ทั้งนี้สารมลพิษทางอากาศที่ตรวจพบเกินมาตรฐานได้แก่ ฝุ่นละออง PM2.5 ตรวจพบค่าระหว่าง 61- 98 มคก./ลบ.ม. เกินมาตรฐานที่บริเวณ ริม ถ.กาญจนาภิเษก เขตบางขุนเทียน แขวงบางนา เขตบางนา แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ แขวงดินแดง เขตดินแดง ริมถนนพระราม 4 เขตปทุมวัน ริมถนนอินทรพิทักษ์ เขตธนบุรี ริมถนนลาดพร้าว เขตวังทองหลาง ริมถนนดินแดง เขตดินแดง แขวงพญาไท เขตพญาไท แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง ต.นครปฐม อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม ต.บางกรวย อ.บางกรวย นนทบุรี ต.คลองหนึ่งอ.คลองหลวง ปทุมธานี ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง สมุทรปราการ ต.ตลาด อ.พระประแดง สมุทรปราการ ต.ปากน้ำ อ.เมือง สมุทรปรากร ต.บางเสาธงอ.บางเสาธง สมุทรปราการ ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน สมุทรสาคร ริมถนนคู่ขนานพระราม 2 อ.เมือง จ.สมุทรสาคร

ฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) ตรวจพบค่าระหว่าง 75 – 166 มคก./ลบ.ม.เกินมาตรฐานที่บริเวณ ริมถ.กาญจนาภิเษก เขตบางขุนเทียน ริมถ.พระราม 4 เขตปทุมวัน ริมถ.อินทรพิทักษ์ เขตธนบุรี ริมถ.ดินแดง เขตดินแดง ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด นนทบุรี ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง สมุทรปราการ ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ริมถนนคู่ขนานพระราม 2 อ.เมือง จ.สมุทรสาคร

คาดการณ์ ว่าคุณภาพอากาศในวันพรุ่งนี้ (วันที่ 14 มกราคม) จะอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ และจากโมเดลพยากรณ์สภาพอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาในช่วงของวันที่ 13-14 มกราคม อากาศยังคงลอยตัวไม่ดี สภาพอากาศค่อนข้างปิด คพ. ได้ประสานงานกับ กทม. และ 5 จังหวัดปริมณฑล เพื่อดำเนินมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหา PM2.5 อย่างต่อเนื่อง โดย กทม. ได้มีคำสั่งให้ทุกเขตดำเนินการกวาดล้างถนนอย่างเข้มงวดทุกวัน

พร้อมทั้ง จัดอุปกรณ์ฉีดพ่นละอองน้ำเพื่อลดปัญหาฝุ่นละออง ตรวจวัดควันดำ และรณรงค์ลดฝุ่นละอองจากการก่อสร้าง ทั้งนี้ คพ. ได้ประสานกับกรมฝนหลวงฯ ซึ่งได้มีการตั้งหน่วยเคลื่อนที่เร็วเพื่อพร้อมปฏิติการในวันที่มีสภาพอากาศเอื้ออำนวยในการทำฝนเทียมและได้ประสาน เพื่อบูรณาการการดำเนินมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหา PM2.5 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง กทม.บก.จร. ขนส่ง กองทัพ กรมอุตุนิยมวิทยา ผวจ.ปริมณฑล ทั้ง 5 จว. ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง

ขณะที่ กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร (กทม.) รายงานสถานการณ์มลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ กทม. และ กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ระบุว่า เมื่อเวลา 08.00 น. ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ตรวจวัดได้ 59-97 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่าเกินมาตรฐาน ซึ่งมาตรฐานนั้นต้องไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม. จำนวน 18 บริเวณ ได้แก่ 1.เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุม ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน) มีค่าเท่ากับ 76 มคก./ลบ.ม. 2.เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมัน เอสโซ่ ซอยลาดพร้าว 95 มีค่าเท่ากับ 80 มคก./ลบ.ม. 3.เขตปทุมวัน บริเวณริมถนนจามจุรีสแควร์ เยื้อง สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) สามย่าน มีค่าเท่ากับ 82 มคก./ลบ.ม. 4.เขตบางรัก ข้างป้อมตำรวจหน้าลานบางรักเลิฟลี่ พลาซ่า มีค่าเท่ากับ 81 มคก./ลบ.ม.5.เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอยถนนเซนต์หลุยส์ มีค่าเท่ากับ 80 มคก./ลบ.ม.

6.เขตบางคอแหลม บริเวณป้อมตำรวจสี่แยกถนนตก มีค่าเท่ากับ 92 มคก./ลบ.ม. 7.เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ มีค่าเท่ากับ 87 มคก./ลบ.ม. 8.เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีค่าเท่ากับ 97 มคก./ลบ.ม. 9.เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบัง ข้างป้อมตำรวจ มีค่าเท่ากับ 74 มคก./ลบ.ม. 10.เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ มีค่าเท่ากับ 87 มคก./ลบ.ม. 11.เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย มีค่าเท่ากับ 79 มคก./ลบ.ม. 12.เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม ประมาณซอยเพชรเกษม 36 มีค่าเท่ากับ 84 มคก./ลบ.ม. 13.เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย มีค่าเท่ากับ 82 มคก./ลบ.ม. 14.เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ มีค่าเท่ากับ 74 มคก./ลบ.ม. 15.เขตบางเขน ภายในสำนักงานเขตบางเขน มีค่าเท่ากับ 74 มคก./ลบ.ม. 16.เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม มีค่าเท่ากับ 76 มคก./ลบ.ม. 17.เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน มีค่าเท่ากับ 87 มคก./ลบ.ม. 18.เขตราชเทวี บริเวณสำนักงานเขตราชเทวี มีค่าเท่ากับ 65 มคก./ลบ.ม.

สำหรับสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของ คพ. พบว่า เกินมาตรฐาน จำนวน 10 เขต คือ 1.เขตบางขุนเทียน บริเวณริมถนนทางคู่ขนาน ทางพิเศษกาญจนาภิเษก มีค่าเท่ากับ 89 มคก./ลบ.ม. 2.เขตบางนา แขวงบางนา มีค่าเท่ากับ 66 มคก./ลบ.ม. 3.เขตดินแดง แขวงดินแดง มีค่าเท่ากับ 61 มคก./ลบ.ม. 4.เขตบางกะปิ บริเวณเคหะชุมชนคลองจั่น มีค่าเท่ากับ 62 มคก./ลบ.ม. 5.เขตดินแดง ริมถนนดินแดง มีค่าเท่ากับ 85 มคก./ลบ.ม. 6.เขตปทุมวัน ริมถนนพระราม มีค่าเท่ากับ 74 มคก./ลบ.ม. 7.เขตธนบุรี บริเวณสถานีไฟฟ้าย่อยอินทรพิทักษ์ ริมถนนอินทรพิทักษ์ มีค่าเท่ากับ 77 มคก./ลบ.ม. 8.เขตวังทองหลาง บริเวณสถานีตำรวจนครบาลโชคชัย ริมถนนลาดพร้าว มีค่าเท่ากับ 72 มคก./ลบ.ม. 9.เขตพญาไท บริเวณกรมประชาสัมพันธ์ มีค่าเท่ากับ 59 มคก./ลบ.ม. และ 10.เขตวังทองหลาง แขวงพลับพลา มีค่าเท่ากับ 70 มคก./ลบ.ม.

ทั้งนี้ ผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศจากสถานีตรวจวัดของ กทม.และสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของ คพ. อยู่ในระดับที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จึงมีคำแนะนำในการปฏิบัติตน คือ ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ที่คุณภาพอากาศอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ควรหลีกเลี่ยงหรือลดเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรสวมใส่หน้ากากอนามัย N95 ขณะอยู่กลางแจ้ง

 

ที่มา  มติชนออนไลน์