วงเสวนาเผย แก้ปัญหาคนเป็น”โรคซึมเศร้า” ต้องไม่ใช่การเชียร์อัพ ทำซ้ำ แต่ต้องเรียนรู้ เข้าใจ หาวิธีแก้ที่หลากหลาย

เมื่อวันที่ 14 มี.ค.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเวทีจุฬาฯ เสวนา ครั้งที่ 18 เรื่อง”เข้าใจปัญหาเยาวชนกับภาวะซึมเศร้า”

ผศ.ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ หัวหน้าศูนย์สุขภาวะทางจิต คณะจิตวิทยา จุฬาฯ กล่าวว่า เราต้องแยกอารมณ์ซึมเศร้ากับภาวะซึมเศร้า และโรคซึมเศร้าให้ออก และจากงานวิจัยในระดับอุดมศึกษาพบว่าตัวกระตุ้นให้นิสิตนักศึกษาอยู่ในภาวะเสียศูนย์มีด้วยกันคือ การถูกประเมิน เช่นจากเกรด หรือผลการสอบ, เศรษฐกิจ เงินทอง ,ความรัก ซึ่งรวมถึงความสัมพันธ์กับเพื่อนและการได้รับการยอมรับ, Guilt หรือการรู้สึกผิดกับคนที่มีความสำคัญกับเขา และควาทรู้สึกพ่ายแพ้

ผศ.ดร.ณัฐสุดา ยังกล่าวอีกว่า นอกจากที่กล่าวไปข้างต้น ตัวกระตุ้นภายในก็ยังเป็นปัจจัยนำไปสู้ภาวะเสียศูนย์ด้วยเช่นกัน นั่นคือการตีความของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน รวมถึงปัจจัยทางสภาพแวดล้อมด้วย เพราะฉะนั้นเราไม่สามารถนำประสบการณ์เดิมไปใช้กับบุคลเหล่านั้นได้ ส่วนวิธีการแก้ปัญหาคือ ไม่ใช่การกระทำสิ่งนั้นซ้ำๆ หรือการเชียร์อัพให้สู้ๆ แต่จะต้องคิดและหาวิธีแก้ที่หลากหลาย หยุดเพื่อเริ่มใหม่ เรียนรู้จากสิ่งที่เจอและผ่านสิ่งเหล่านั้นไป

ด้านผศ.ดร.ปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ หัวหน้าภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า สภาวะการณ์ของภาวะซึมเศร้าของนิสิตนักศึกษาในประเทศไทยพบว่า นิสิตนักศึกษายิ่งชั้นปีสูงๆ จะเกิดภาวะซึมเศร้ามาก นอกจสกยี้ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งพบว่า มีนิสิตที่พยายามจะฆ่าตัวตาย 6.4 เปอร์เซ็นต์ จากนิสิตทั้งหมด

นอกจากนี้ยังพบว่า คนที่นิสิตนักศึกษาขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหาคนแรกคือ เพื่อน ส่วนสาเหตุการฆ่าตัวตายนั้นคือ การทะเลาะกับคนใกล้ชิด การเรียน และความรัก ตามลำดับ

ผศ.ดร.ปิยวรรณ ยังกล่าวต่อว่า บรรยากาศในชั้นเรียนทั้ง ตัวเอง เพื่อน และครูอาจารย์ ส่งผลต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า เพราะแต่ละคนมีทัศนะคคิ และภูมิต้านทานต่างกัน เพราะฉะนั้นการสอนก็เหใอนการรักษา ซึ่งหากให้ยาชยิดเดียวกันกับคนที่มีอาการต่างกันมันก็จะไม่แฟร์ เพราะฉะนั้นนิสิตนักศึกษาต้องจัดการกับตัวเอง มองเรื่องจองความล้มเหลวว่สเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ในขณะเดียวกันครูอาจารย์จะต้องคำนึงถึงความแตกต่างของนิสิตนักศึกษา และหาทางช่วยเหลือ