การดำเนินงานแก้ไขปัญหาหมอกควัน 9 จังหวัดภาคเหนือ ณ วันที่ 5 พฤษภาคม 2562

1. สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 5 ไมครอน (PM2.5) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ประจำวันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม 2562 ณ เวลา 9.00 น. จากการตรวจวัด 17 พื้นที่ ใน 9 จังหวัดภาคเหนือ สรุปได้ดังนี้

2.ค่าความเข้มข้นของฝุ่นละออง PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่าระหว่าง 18 – 78 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร) ซึ่งแสดงถึงคุณภาพอากาศ อยู่ในเกณฑ์คุณภาพอากาศดีมาก (พื้นที่สีฟ้า) จำนวน 1 พื้นที่ ได้แก่ ต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีสถานการณ์ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง คุณภาพอากาศดี (พื้นที่สีเขียว) เพิ่มขึ้นจากเดิม 1 พื้นที่ เป็น 3 พื้นที่ในวันนี้ คุณภาพอากาศปานกลาง (พื้นที่สีเหลือง) จำนวน 5 พื้นที่ มีพื้นที่ อยู่ในเกณฑ์ที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (พื้นที่สีส้ม) จำนวน 5 พื้นที่ และไม่พบพื้นที่ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ (พื้นที่สีแดง) ในวันนี้

– มีแนวโน้มที่ดีขึ้นในพื้นที่ทั้ง 9 จังหวัด เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของเมื่อวาน   โดยเฉพาะพื้นที่ ต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก ที่สถานการณ์เริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอยู่ในเกณฑ์คุณภาพอากาศดีมากต่อเนื่องเป็นวันที่ห้าติดต่อกันในสัปดาห์นี้

– คุณภาพอากาศมีค่าอยู่ในเกณฑ์ดีมาก – มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสีส้ม                (คุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ) จำนวน 5 พื้นที่ ซึ่งสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อวานดีขึ้น    พื้นที่สีเหลือง(คุณภาพอากาศปานกลาง) จำนวน 5 พื้นที่ และไม่พบพื้นที่สีแดง (คุณภาพอากาศมีผลต่อสุขภาพ) ในวันนี้ พื้นที่สีเขียว (คุณภาพอากาศดี) เพิ่มขึ้นจากเมื่อวานเป็น จำนวน 3  พื้นที่ ได้แก่ ต.พระบาท อ.เมือง จ.ลำปาง ต.นาจักร อ.เมือง จ.แพร่ และ ต.จองคำ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน พื้นที่สีฟ้า (คุณภาพอากาศดีมาก) จำนวน 1 พื้นที่ ได้แก่ ต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก ซึ่งสถานการณ์มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ตารางที่ 1 แสดงค่า PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง (ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ณ เวลา 9.00 น.

ลำดับ สถานี ค่า PM2.5 (มคก./ลบ.ม.) เปรียบเทียบค่า PM2.5

(4 พ.ค. และ 5 พ.ค. 62)

3 พ.ค. 4 พ.ค. 5 พ.ค.
1 ต.เวียงคำ อ.เมือง จ.เชียงราย 203 117 78 ลดลง 33.3 %
2 ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย 125 103 66 ลดลง 35.9 %
3 ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 66 67 54 ลดลง 19.4 %
4 ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 59 58 48 ลดลง 1727 %
5 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 49 47 40 ลดลง 14.9 %
6 ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ 58 N/A N/A N/A
7 ต.พระบาท อ.เมือง จ.ลำปาง 37 30 27 ลดลง 10.0 %
8 ต.สบป้าด อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง 58 40 38 ลดลง 5.0 %
9 ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง 100 88 70  ลดลง 20.5 %
10 ต.แม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง 41 N/A N/A N/A
11 ต.บ้านกลาง อ.เมือง จ.ลำพูน 47 39 38 ลดลง 2.6 %
12 ต.จองคำ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน 37 23 29 เพิ่มขึ้น 26.1 %
13 ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน 84 51 42  ลดลง 17.6 %
14 ต.ห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน 97 N/A N/A N/A
15 ต.นาจักร อ.เมือง จ.แพร่ 80 44 29 ลดลง 34.1%
16 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา 86 72 57 ลดลง 20.8 %
17 ต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก 17 15 18 เพิ่มขึ้น 20.0 %
                                  เฉลี่ย 62.8 56.7 48.6 ลดลง 14.2 %

หมายเหตุ : N/A หมายถึง ไม่มีข้อมูลเนื่องจากเครื่องมือขัดข้อง

๒. สถานการณ์จุดความร้อน (Hotspot) ในวันที่ 4 พฤษภาคม 2562 จากดาวเทียมระบบ MODIS

– จุดความร้อนรวมทั้ง 9 จังหวัดภาคเหนือ มีทั้งสิ้น 36 จุด โดยลดลงจากวันที่ 3 พฤษภาคม 2562 จำนวน 59 จุด หรือคิดเป็น 62.1 %

– มีจำนวนมากสุดที่ จ. เชียงราย จำนวน 19 จุด

– สามารถแบ่งตามประเภทพื้นที่ได้ดังนี้

1) พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 26 จุด

2) ป่าสงวนแห่งชาติ 7 จุด

3) เขตสปก. 2 จุด

4) ชุมชน และอื่น ๆ 1 จุด

ตารางที่ 2 แสดงจำนวนจุดความร้อน (hotspot) จากดาวเทียมระบบ MODIS

ลำดับ จังหวัด จำนวนจุด Hotspot (จุด) เปรียบเทียบจุด Hotspot

(3 พ.ค. และ 4 พ.ค. 62)

2 พ.ค. 3 พ.ค. 4 พ.ค.
1 จ.เชียงราย 35 7 19 เพิ่มขึ้น 171.4 %
2 จ.เชียงใหม่ 23 30 2 ลดลง 93.3 %
3 จ.ลำปาง 1 3 2 ลดลง 33.3 %
4 จ.ลำพูน 0 0 0 ไม่เปลี่ยนแปลง
5 จ.แม่ฮ่องสอน 9 15 2 ลดลง 86.7 %
6 จ.น่าน 5 17 1 ลดลง 94.0 %
7 จ.แพร่ 27 10 9 ลดลง 10.0 %
8 จ.พะเยา 1 3 1 ลดลง 66.7 %
9 จ.ตาก 5 10 0 ลดลง 100.0 %
                 รวม 106 95 36 ลดลง 10.4 %

หมายเหตุ : ข้อมูลจุดความร้อนจากดาวเทียมระบบ MODIS

๓. สถานการณ์หมอกควันข้ามแดน โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ          (องค์การมหาชน) (GISTDA) รายงานการปกคลุมของหมอกควันจากดาวเทียมระบบ MODIS ประจำวันที่ 3 พฤษภาคม 2562 พบว่า มีกลุ่มหมอกควันปกคลุมและจุดความร้อนนอกประเทศไทยบริเวณฝั่งตะวันตก ของภาคเหนือ ได้แก่จังหวัดแม่ฮ่องสอน รวมทั้งฝั่งเหนือของภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย มีทิศทางลมพัดจากทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือเข้าสู่ประเทศไทย ดังนั้น นอกจากปัญหาการเผาในที่โล่งภายในประเทศไทยแล้ว จังหวัดดังกล่าวอาจได้รับผลกระทบจากหมอกควันข้ามแดน ได้อีกด้วย

๔.   การดำเนินงานแก้ไขปัญหาหมอกควันของ 9 จังหวัดภาคเหนือ

จังหวัดลำปาง

ตามที่ จังหวัดลำปาง ได้มีประกาศห้ามและงดเว้นการเผาป่า เผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เผาขยะ และเผาวัชพืชข้างทางในพื้นที่โล่งแจ้งทุกกรณีในพื้นที่จังหวัดลำปาง เป็นเวลา 80 วัน ตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์  ถึง วันที่ 30 เมษายน 2562 นั้น เพื่อเป็นการบริหารจัดการเชื้อเพลิงทุกพื้นที่หลังสิ้นสุดกำหนดวันห้ามเผา      และเพื่อเป็นแนวปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน หากมีความจำเป็นต้องการเผา เพื่อกำจัดวัชพืชหรือเศษวัสดุ          ทางการเกษตร หรือวัสดุอื่นๆ โดยให้พื้นที่ที่มีความประสงค์จะดำเนินการบริหารจัดการเชื้อเพลิงตามหลักวิชาการ ให้จัดการด้วยวิธีการที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชนเป็นลำดับแรก เข่น การไถกลบตอซัง หรือเศษวัชพืชในที่ดินทำกิน ให้ราษฎรผู้ครองครองที่ดินดังกล่าว ต้องขออนุญาตจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายกองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และนายอำเภอในท้องที่นั้นๆ ก่อนที่จะดำเนินการเผาทุกครั้ง และต้องจัดทำแนวกันไฟความกว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตร โดยรอบพื้นที่และควบคุมไฟไม่ให้ลุกลามไปยังพื้นที่อื่น ๆ พร้อมทั้งประสานกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายกองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และนายอำเภอในท้องที่นั้น ๆ จัดเจ้าหน้าที่คอยควบคุมในการดำเนินการเผาด้วย หากราษฎรผู้ใดไม่แจ้งขออนุญาตต่อเจ้าหน้าที่ หรือ ขออนุญาตแล้ว แต่ไม่ทำแนวกันไฟและมิได้ควบคุมไฟให้อยู่ในพื้นที่ถือครอง จนเป็นเหตุให้ไฟลุกลามไหม้ป่า ให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายกองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น แจ้งต่อนายอำเภอในท้องที่ เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายแก่ราษฎรที่ฝ่าฝืน หรือ ปล่อยปละละเลย โดยเฉียบขาดทุกรายทั้งทางอาญาและทางแพ่ง โดยเฉพาะราษฎรที่บุกรุกเข้าไปแผ้วถางป่าในเขตป่าอนุรักษ์ เขตป่าสงวนแห่งชาติ จังหวัดจะพิจารณาดำเนินคดีตามความผิดที่เกิดขึ้นทุกราย

จังหวัดน่าน

– เกิดเหตุไฟไหม้ป่า บริเวณบ้านภูช้าง เจ้าหน้าที่ป้องกันฯ อบต.น้ำปั้ว นำกำลังพล จำนวน 3 นาย            พร้อมรถบรรทุกน้ำเอนกประสงค์ ทำการดับไฟป่าบริเวณดังกล่าว ผลการปฏิบัติสามารถควบคุมเพลิงไว้ได้

– แขวงทางหลวงน่านที่ 1 นำรถบรรทุกน้ำ สนับสนุนการดับไฟป่าในพื้นที่ ทางหลวงหมายเลข 1091ปงสนุก-น่าน ที่ กม.98+600 ต.สวด อ.บ้านหลวง ผลการปฏิบัติงาน สามารถควบคุมไฟป่าดับลงได้

– หน่วยส่งเสริมการควบคุมไฟป่าน่าน ศูนย์ป่าไม้น่าน สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 3 สาขาแพร่ กรมป่าไม้ เข้าตรวจสอบพื้นที่เกิดไฟไหม้ป่า ร่วมกับเครือข่ายความร่วมมือในการควบคุมไฟป่าบ้านกิ่วม่วง ซึ่งได้รับเเจ้งจากสายด่วน 1362 เเละเข้าทำการควบคุมไฟในคืนวันที่ 2 พฤษภาคม 2562 บริเวณท้องที่บ้านกิ่วม่วง หมู่ที่ 5 ต.ดู่พงษ์ อ.สันติสุข จ.น่าน ในเขตป่าสงวนเเห่งชาติป่าเเม่น้ำน่านฝั่งตะวันออกตอนใต้ พื้นที่เสียหาย 20 ไร่

– สถานีควบคุมไฟป่าศรีน่าน สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ ที่ 13 (แพร่) รายงานเกิดเหตุไฟไหม้ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ อุทยานแห่งชาติศรีน่าน ห้วยเหล็ก ดอยผาดำ ต.ศรีษะเกษ อ.นาน้อย ดำเนินการดับไฟโดย ชุดปฏิบัติการดับไฟป่า จำนวน 7 นาย พื้นที่เป็นป่าเบญจพรรณ เสียหาย 14 ไร่ สาเหตุคาดว่ามาจากการหาของป่า      สถานการณ์ปัจจุบันสามารถควบคุมเพลิงได้แล้ว

จังหวัดลำพูน

– ตามที่ได้เกิดจุดความร้อนขึ้นในพื้นที่อำเภอเมืองลำพูน จำนวน 6 จุด อำเภอเมืองลำพูน ได้ดำเนินการตรวจสอบแล้ว จุดความร้อนที่เกิดขึ้นในพื้นที่ป่าชุมชน เป็นพื้นที่รกร้างว่างเปล่า และพื้นที่ทางการเกษตร ในพื้นที่ตำบลมะเขือแจ้ หมู่ที่ 12 บริเวณดอยขะม้อ ตำบลบ้านกลาง หมู่ที่ 10 บริเวณหลังโตโยต้า และตำบลหนองหนาม หมู่ที่ 1 เขตติดต่อบ้านหนองท่า หมู่ที่ 11 ตำบลป่าสัก บริเวณหลังทุ่งนา ได้ประสานกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วย จิตอาสา เข้าดับไฟแล้วและไฟได้ดับลงทุกจุดเรียบร้อยแล้ว

– ตามที่ได้รับแจ้งจุดความร้อน เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2562 จำนวน 1 จุด ซึ่งเกิดในพื้นที่ตำบลตะเคียนปม หมู่ 8 บ้านห้วยไร่ อำเภอทุ่งหัวช้างนั้น นายอำเภอทุ่งหัวช้าง ได้ส่งทีมดับไฟประกอบด้วย ทหาร, สมาชิก อส., ผู้ใหญ่บ้าน, กรรมการหมู่บ้าน ราษฎรจิตอาสา ได้ตรวจสอบและดับไฟป่าเรียบร้อยแล้ว

จังหวัดเชียงใหม่

 – จังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดทำแผนการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรหลังช่วงห้ามเผา ในพื้นที่ 21 อำเภอ      ตั้งแต่วันที่ 2 – 18 พฤษภาคม 2562 ทั้งนี้ได้มีการเฝ้าระวังและประเมินสถานการณ์และผลกระทบอย่างต่อเนื่อง

– สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ และศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  เขต 9 พิษณุโลก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ ได้ดำเนินการฉีดพ่นละอองน้ำเพื่อสร้างความชุ่มชื้นและลดฝุ่นละอองในอากาศ รวมถึงฉีดล้างทำความสะอาดถนนในพื้นที่รับผิดชอบ ตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐานเป็นประจำทุกวัน

จังหวัดพะเยา

จังหวัดพะเยาร่วมกับส่วนราชการ หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (งานป้องกัน                                 และบรรเทาสาธารณภัย สำนักงานเทศบาลเมืองพะเยา) ร่วมดำเนินมาตรการเพิ่มความชุ่มชื้นและลดฝุ่นละอองในอากาศ โดย นำรถยนต์บรรทุกน้ำ รถดับเพลิง ทำการฉีดพ่นละอองน้ำเพิ่มความชุ่มชื่น ลดหมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ ทำความสะอาดถนน ต้นไม้ ณ บริเวณศาลหลักเมืองพะเยา อำเภอเมืองพะเยา

 จังหวัดตาก

ศูนย์บัญชาการหมอกควันและไฟป่าอำเภอแม่สอดจัดรถดับเพลิงทำการฉีดพ่นละอองน้ำและล้างถนน   เพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองในอากาศในพื้นที่อำเภอแม่สอด โดยได้รับการสนับสนุนรถน้ำจากหน่วยเฉพาะกิจ   กรมทหารราบที่ 14 เทศบาลนครแม่สอด และศูนย์ปภเขต 9 พิษณุโลก

 จังหวัดเชียงราย

หน่วยงานราชการ ทุกภาคส่วน ประชาชน ร่วมฉีดพ่นละอองน้ำในพื้นที่เขตรับผิดชอบตามข้อสั่งการ               ของผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นในอากาศ ดักฝุ่นละอองและหมอกควันที่มีค่าเกินมาตรฐาน และจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ พร้อมรณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่ช่วยกันฉีดพ่นละอองน้ำในทุกครัวเรือนและชุมชน องค์การบริหารปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้ง 18 อำเภอ ในจังหวัดเชียงราย ฉีดพ่นละอองน้ำในพื้นที่เขตรับผิดชอบ วันละ 2 รอบ

จังหวัดแพร่    

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดแพร่ ปฏิบัติการฉีดพ่นละอองน้ำเพื่อบรรเทาปัญหา               ฝุ่นละอองขนาดเล็กและเพิ่มความชื้นในอากาศเป็นประจำทุกวัน โดยได้รับการสนับสนุนรถหุ่นยนต์ดับเพลิงแรงดันสูงควบคุมระยะไกล จากศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 15 เชียงราย และได้รับการสนับสนุนรถน้ำดับเพลิงพร้อมเจ้าหน้าที่จากเทศบาลเมืองแพร่ กองพันทหารม้าที่ 12 แขวงทางหลวงแพร่ แขวงทางหลวงชนบท อบจ.แพร่ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ทุกแห่งร่วมปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง

จังหวัดแม่ฮ่องสอน

จังหวัดแม่ฮ่องสอน ดำเนินการฉีดพ่นละอองน้ำ เพื่อเพิ่มความชื้นในอากาศ และลดปัญหาหมอกควัน            ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ณ ท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน และเส้นทางบริเวณถนนหน้าอนุสาวรีย์                พญาสิงหนาทราชา ผ่านศูนย์ราชการ ผ่านซุ้มประตูเมืองทิศใต้ จนถึงบริเวณสามแยกหน้าโบสถ์นักบุญฟรังซิลเซเวีย (บ้านไม้แงะ) อย่างต่อเนื่อง