การดำเนินงานแก้ไขปัญหาหมอกควัน 9 จังหวัดภาคเหนือ วันที่ 10 พ.ค.62

1.สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ประจำวันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม 2562 ณ เวลา 9.00 น. จากการตรวจวัด 17 พื้นที่ ใน 9 จังหวัดภาคเหนือ สรุปได้ดังนี้

2. ค่าความเข้มข้นของฝุ่นละออง PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่าระหว่าง 19 – 52 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร) ซึ่งแสดงถึง คุณภาพอากาศดีมาก (พื้นที่สีฟ้า) จำนวน 1 พื้นที่ได้แก่ ต.จองคำ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งมีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง คุณภาพอากาศดี (พื้นที่สีเขียว) เพิ่มขึ้น จากเดิม 2 พื้นที่ เป็น 4 พื้นที่ในวันนี้ได้แก่ พื้นที่ ต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน ต.นาจักร อ.เมือง จ.แพร่ และ ต.สบป้าด อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง คุณภาพอากาศปานกลาง (พื้นที่สีเหลือง) จำนวน 9 พื้นที่ มีพื้นที่อยู่ในเกณฑ์ที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (พื้นที่สีส้ม) ลดลงเหลือเพียง 2 พื้นที่ และไม่พบพื้นที่ใดที่มีผลกระทบ ต่อสุขภาพ (พื้นที่สีแดง) ในวันนี้

– มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ทั้ง 9 จังหวัด ซึ่งพบว่ามี 14 พื้นที่ที่มีสถานการณ์ดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของเมื่อวาน โดยเฉพาะพื้นที่ ต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก ที่มีสถานการณ์ ฝุ่นละอองขนาดเล็กมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในวันนี้ค่าระดับฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน อยู่ในเกณฑ์คุณภาพอากาศดีติดต่อกันเป็นวันที่ 5 แล้ว รวมถึงพื้นที่ ต.จองคำ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ที่อยู่ในเกณฑ์คุณภาพอากาศดีมาก (พื้นที่สีฟ้า) เป็นวันแรกในสัปดาห์นี้

– คุณภาพอากาศมีค่าอยู่ในเกณฑ์ดีมาก – เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสีเหลือง (คุณภาพอากาศปานกลาง) จำนวน 9 พื้นที่ ซึ่งสถานการณ์มีแนวโน้มที่ดีขึ้น พื้นที่สีส้ม(คุณภาพอากาศ เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ) ลดลงจากเดิม 3 พื้นที่ เหลือเพียง 2 พื้นที่ และไม่พบพื้นที่สีแดง (คุณภาพอากาศ มีผลกระทบต่อสุขภาพ) พื้นที่สีเขียว (คุณภาพอากาศดี) เพิ่มขึ้นจากเดิม 2 พื้นที่ เป็น 4 พื้นที่ในวันนี้ ได้แก่ พื้นที่ พื้นที่ ต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน ต.นาจักร อ.เมือง จ.แพร่ และ ต.สบป้าด อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง และ มีพื้นที่สีฟ้า (คุณภาพอากาศดีมาก) เพิ่มขึ้นจากเมื่อวานที่ไม่มีพื้นที่ใดอยู่ในเกณฑ์นี้ เป็น 1 พื้นที่ในวันนี้ได้แก่ ต.จองคำ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน

ตารางที่ 1 แสดงค่า PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง (ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ณ เวลา 9.00 น.

หมายเหตุ : N/A หมายถึง ไม่มีข้อมูลเนื่องจากเครื่องมือขัดข้อง

๒. สถานการณ์จุดความร้อน (Hotspot) ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2562 จากดาวเทียมระบบ MODIS ดังนี้
– จุดความร้อนรวมทั้ง 9 จังหวัดภาคเหนือ มีทั้งสิ้น 10 จุด โดยเพิ่มขึ้นจากวันที่ 8 พฤษภาคม 2562 จำนวน 31 จุด หรือคิดเป็น 75.6 %
– มีจำนวนมากสุดที่ จ. เชียงราย จำนวน 9 จุด
– สามารถแบ่งตามประเภทพื้นที่ได้ดังนี้
1) ป่าสงวนแห่งชาติ 4 จุด
2) พื้นที่เกษตร 2 จุด
3) ชุมชนและอื่น ๆ 2 จุด

ตารางที่ 2 แสดงจำนวนจุดความร้อน (hotspot) จากดาวเทียมระบบ MODIS

หมายเหตุ : ข้อมูลจุดความร้อนจากดาวเทียมระบบ MODIS

3. สถานการณ์หมอกควันข้ามแดน โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA) รายงานการปกคลุมของหมอกควันจากดาวเทียมระบบ MODIS ประจำวันที่ 9 พฤษภาคม 2562 พบกลุ่มหมอกควันปกคลุมและจุดความร้อนนอกประเทศไทยบริเวณทิศเหนือของภาคเหนือ ได้แก่ จ.เชียงราย มีทิศทางลมพัดจากทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือเข้าสู่ประเทศไทย ดังนั้น สถานการณ์หมอกควันในช่วงเวลานี้จึงเกิดจากปัญหาการเผาในที่โล่งภายในประเทศไทย

4. การดำเนินงานแก้ไขปัญหาหมอกควันของ 9 จังหวัดภาคเหนือ

จังหวัดลำพูน

เจ้าหน้าที่สถานีควบคุมไฟป่าผาเมือง – ลำพูน เจ้าหน้าที่สถานีควบคุมไฟป่าแม่ปิง เจ้าหน้าที่สถานี ควบคุมไฟป่าบ้านโฮ่ง สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่) ออกลาดตระเวนตรวจหาไฟในเขต พื้นที่รับผิดชอบ เหตุการณ์ปกติ ไม่พบการเกิดไฟไหม้ป่าแต่อย่างใด

จังหวัดลำปาง

จังหวัดลำปางได้กำหนดข้อปฏิบัติในการบริหารจัดการเชื้อเพลิงหลังจากพ้นกำหนดห้ามเผา จังหวัดลำปาง ประจำปี พ.ศ. 2562 เพื่อเป็นการบริหารจัดการเชื้อเพลิงทุกพื้นที่หลังสิ้นสุดกำหนดวันห้ามเผา ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป โดยดำเนินการบริหารจัดการเชื้อเพลิงตามหลักวิชาการ ให้พื้นที่ที่มีความประสงค์ จะดำเนินการบริหารจัดการเชื้อเพลิงตามหลักวิชาการ โดยให้จัดการด้วยวิธีการที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชนเป็นลำดับแรก เช่น การไถกลบตอซัง หรือเศษวัชพืชในพื้นที่เกษตร การทำปุ๋ยหมัก หรือการนำไปเป็นอาหารสัตว์ เป็นต้น ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องเผาวัชพืชในที่ดินทำกิน ให้ราษฎรผู้ครอบครองที่ดินดังกล่าวต้องขออนุญาตจากกำนันหรือ ผู้ใหญ่บ้าน นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และนายอำเภอท้องที่นั้น ๆ ก่อนที่จะดำเนินการเผาทุกครั้ง โดยต้องจัดทำแนวกันไฟความกว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตร โดยรอบพื้นที่ และควบคุมไฟมิให้ลุกลามไปยังพื้นที่อื่น ๆ ได้ พร้อมทั้งให้ประสานกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายกองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น และนายอำเภอท้องที่จัดเจ้าหน้าที่คอยควบคุมในการดำเนินการดังกล่าวด้วย

จังหวัดพะเยา

จังหวัดพะเยาร่วมกับส่วนราชการ หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (งานป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย สำนักงานเทศบาลเมืองพะเยา) ร่วมดำเนินมาตรการเพิ่มความชุ่มชื้นและลดฝุ่นละออง ในอากาศ โดย นำรถยนต์บรรทุกน้ำ รถดับเพลิง ทำการฉีดพ่นละอองน้ำเพิ่มความชุ่มชื่น ลดหมอกควัน และ ฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ ทำความสะอาดถนน ต้นไม้ ณ บริเวณศาลหลักเมืองพะเยา อำเภอเมืองพะเยา

จังหวัดตาก

ศูนย์บัญชาการหมอกควันและไฟป่าอำเภอแม่สอดจัดรถดับเพลิงทำการฉีดพ่นละอองน้ำและล้างถนน เพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองในอากาศในพื้นที่อำเภอแม่สอด โดยได้รับการสนับสนุนรถน้ำจากหน่วยเฉพาะกิจ กรมทหารราบที่ 14 เทศบาลนครแม่สอด และศูนย์ปภเขต 9 พิษณุโลก

จังหวัดเชียงราย

หน่วยงานราชการ ทุกภาคส่วน ประชาชน ร่วมฉีดพ่นละอองน้ำในพื้นที่เขตรับผิดชอบตามข้อสั่งการ ของผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นในอากาศ ดักฝุ่นละอองและหมอกควันที่มีค่าเกินมาตรฐาน และจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ พร้อมรณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่ช่วยกันฉีดพ่นละอองน้ำในทุกครัวเรือนและชุมชน องค์การบริหารปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้ง 18 อำเภอ ในจังหวัดเชียงราย ฉีดพ่นละอองน้ำในพื้นที่ เขตรับผิดชอบ วันละ 2 รอบ

จังหวัดแพร่

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดแพร่ ปฏิบัติการฉีดพ่นละอองน้ำเพื่อบรรเทาปัญหา ฝุ่นละอองขนาดเล็กและเพิ่มความชื้นในอากาศเป็นประจำทุกวัน โดยได้รับการสนับสนุนรถหุ่นยนต์ดับเพลิงแรงดันสูงควบคุมระยะไกล จากศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 15 เชียงราย และได้รับการสนับสนุนรถน้ำดับเพลิงพร้อมเจ้าหน้าที่จากเทศบาลเมืองแพร่ กองพันทหารม้าที่ 12 แขวงทางหลวงแพร่ แขวงทางหลวงชนบท อบจ.แพร่ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ทุกแห่งร่วมปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง

จังหวัดแม่ฮ่องสอน

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แขวงทางหลวงแม่ฮ่องสอน แขวงทางหลวงชนบทแม่ฮ่องสอน ท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน ดำเนินการจัดรถบรรทุกน้ำฉีดพ่นละอองน้ำเพื่อลดฝุ่นละอองและเพิ่มความชื่นในอากาศในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ตามแผนปฏิบัติงานเพื่อบรรเทาและลดผลกระทบจากฝุ่นละอองในพื้นที่ จ. แม่ฮ่องสอน

จังหวัดเชียงใหม่

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ และศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 9 พิษณุโลก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ ได้ดำเนินการฉีดพ่นละอองน้ำเพื่อสร้างความชุ่มชื้นและลดฝุ่นละอองในอากาศ รวมถึงฉีดล้างทำความสะอาดถนนในพื้นที่รับผิดชอบ ตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐานเป็นประจำทุกวัน

จังหวัดน่าน

– หน่วยส่งเสริมการควบคุมไฟป่าน่าน ศูนย์ป่าไม้น่าน สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 3 สาขาแพร่ กรมป่าไม้ เป็นวิทยากรโครงการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพหน่วยป้องกันไฟป่า ตำบลชนเเดน อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน ประจำปี 2562 ให้ความรู้ด้านไฟป่า การจัดการเชื้อเพลิง การสาธิตการใช้อุปกรณ์ดับไฟ เเละ การฝึกปฏิบัติงานควบคุมไฟป่า ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลชนเเดน โดยมี ดร.ประชา เเสนกลาง นายอำเภอสองเเคว เป็นประธานในพิธี มีผู้ร่วมโครงการ 80 คน

– เจ้าหน้าที่สถานีควบคุมไฟป่านันทบุรี (สบอ.13) ออกลาดตระเวนไฟป่า บริเวณบ้านห้วยม่วง ต.แสนทอง อ.ท่าวังผา จ.น่าน เหตุการณ์ปกติ ไม่พบการเกิดไฟไหม้ป่าแต่อย่างใด

– สถานีควบคุมไฟป่าศรีน่าน สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ ที่ 13 (แพร่) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยเจ้าหน้าที่ได้ออกประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ให้ความรู้เรื่องไฟป่า แจกสื่อประชาสัมพันธ์ไฟป่า และสอบถามถึงสถานการณ์ไฟป่า และผลกระทบของไฟป่าระหว่างปี 2561 และ ปี 2562 บ้านป่าเป้า หมู่ที่ 6 ตำบลบ่อแก้ว อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน เหตุการณ์ทั่วไปปกติ ไม่พบไฟไหม้ในเขตพื้นที่รับผิดชอบแต่อย่างใด

– องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดน่าน ดำเนินการฉีดพ่นละอองน้ำในพื้นที่ อาทิ เส้นทางการจราจร พื้นที่สาธารณะ สถานที่ราชการ เพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เกินค่ามาตรฐานและ เพิ่มความชุ่มชื้นในพื้นที่จังหวัดน่าน