การดำเนินงานแก้ไขปัญหาหมอกควัน 9 จังหวัดภาคเหนือ ณ วันที่ 13 พฤษภาคม 2562

  1. 1. สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 5 ไมครอน (PM2.5) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ประจำวันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม 2562 ณ เวลา 9.00 น. จากการตรวจวัด 17 พื้นที่ ใน 9 จังหวัดภาคเหนือ สรุปได้ดังนี้
  2. ค่าความเข้มข้นของฝุ่นละออง PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่าระหว่าง 12 – 76 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร) ซึ่งแสดงถึง คุณภาพอากาศดีมาก (พื้นที่สีฟ้า) จำนวน 1 พื้นที่ได้แก่ ต.จองคำ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งมีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง คุณภาพอากาศดี (พื้นที่สีเขียว) เพิ่มขึ้น จากเดิม 6 พื้นที่ เป็น 11 พื้นที่ในวันนี้ คุณภาพอากาศปานกลาง (พื้นที่สีเหลือง) ลดลงจากเมื่อวาน 6 พื้นที่ เหลือ 2 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ และต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา มีพื้นที่อยู่ในเกณฑ์ที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (พื้นที่สีส้ม) จำนวน 2 พื้นที่ และไม่พบพื้นที่ใดที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ (พื้นที่สีแดง) ในวันนี้     

– มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ทั้ง 9 จังหวัด ซึ่งพบว่ามี 14 พื้นที่ที่มีสถานการณ์ดีขึ้น อย่างต่อเนื่อง เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของเมื่อวาน โดยเฉพาะพื้นที่ ต.จองคำ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ที่อยู่ในเกณฑ์คุณภาพอากาศดีมาก (พื้นที่สีฟ้า) เป็นวันที่สี่ติดต่อกันในสัปดาห์นี้ และ พื้นที่ใน จ.เชียงใหม่ จ.ตาก จ.ลำปาง จ.ลำพูน จ.แพร่ จ.พะเยาและ จ.น่าน ที่มีสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งในวันนี้ค่าระดับฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน อยู่ในเกณฑ์คุณภาพอากาศดี

– คุณภาพอากาศมีค่าอยู่ในเกณฑ์ดีมาก – เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสีเขียว            (คุณภาพอากาศดี) จำนวน 11  พื้นที่ ซึ่งสถานการณ์มีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง พื้นที่สีเหลือ (คุณภาพอากาศ ปานกลาง ลดลงเหลือ 2 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ ต. ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ และพื้นที่ ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา  พื้นที่สีส้ม(คุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ) จำนวน 2 พื้นที่ และไม่พบพื้นที่สีแดง (คุณภาพอากาศ มีผลกระทบต่อสุขภาพ) พื้นที่สีเขียว (คุณภาพอากาศดี) เพิ่มขึ้นจากเดิม 6 พื้นที่ เป็น 11 พื้นที่ในวันนี้ และ มีพื้นที่สีฟ้า (คุณภาพอากาศดีมาก) จำนวน 1 พื้นที่ในวันนี้ได้แก่ ต.จองคำ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน

ตารางที่ 1 แสดงค่า PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง (ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ณ เวลา 9.00 น.

ลำดับ สถานี ค่า PM2.5 (มคก./ลบ.ม.) เปรียบเทียบค่า PM2.5

(12 พ.ค. และ 13 พ.ค. 62)

11 พ.ค. 12 พ.ค. 13 พ.ค.
1 ต.เวียงคำ อ.เมือง จ.เชียงราย 58 42 51 เพิ่มขึ้น 21.4 %
2 ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย 74 70 76 เพิ่มขึ้น 8.6 %
3 ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50 42 36 ลดลง 14.3 %
4 ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 39 37 30 ลดลง 18.9 %
5 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 38 31 30 ลดลง 3.2 %
6 ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ 35 45 42 ลดลง 6.7 %
7 ต.พระบาท อ.เมือง จ.ลำปาง 36 36 34 ลดลง 5.6 %
8 ต.สบป้าด อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง 34 N/A 29 N/A
9 ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง 47 66 34 เพิ่มขึ้น 48.5 %
10 ต.แม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง 38 38 32 ลดลง 15.8 %
11 ต.บ้านกลาง อ.เมือง จ.ลำพูน 46 40 34 ลดลง 15.0 %
12 ต.จองคำ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน 16 12 12 ไม่เปลี่ยนแปลง
13 ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน 33 35 30 ลดลง 14.3 %
14 ต.ห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน 38 N/A N/A N/A
15 ต.นาจักร อ.เมือง จ.แพร่ 31 34 27 ลดลง 20.6 %
16 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา 42 46 40 ลดลง 13.0 %
17 ต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก 24 31 28 ลดลง 9.7 %
                                  เฉลี่ย 39.9 40.3 35.3 ลดลง 12.4 %

หมายเหตุ : N/A หมายถึง ไม่มีข้อมูลเนื่องจากเครื่องมือขัดข้อง

๒.  สถานการณ์จุดความร้อน (Hotspot) ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2562 จากดาวเทียมระบบ MODIS ดังนี้

– จุดความร้อนรวมทั้ง 9 จังหวัดภาคเหนือ มีทั้งสิ้น 6 จุด โดยลดลงจากวันที่ 11 พฤษภาคม 2562 จำนวน 5 จุด หรือคิดเป็น 21.4 %

– มีจำนวนมากสุดที่ จ. เชียงราย จำนวน 5 จุด

– สามารถแบ่งตามประเภทพื้นที่ได้ดังนี้

1) ป่าสงวนแห่งชาติ 3 จุด

2) พื้นที่เกษตร 1 จุด

3) ชุมชนและอื่น ๆ 2 จุด

ตารางที่ 2 แสดงจำนวนจุดความร้อน (hotspot) จากดาวเทียมระบบ MODIS

ลำดับ จังหวัด จำนวนจุด Hotspot (จุด) เปรียบเทียบจุด Hotspot

(11 พ.ค. และ 12 พ.ค. 62)

10 พ.ค. 11 พ.ค. 12 พ.ค.
1 จ.เชียงราย 7 4 5 เพิ่มขึ้น 25.0 %
2 จ.เชียงใหม่ 0 2 1 ลดลง 50.0 %
3 จ.ลำปาง 0 1 0 ลดลง 100.0 %
4 จ.ลำพูน 0 0 0 ไม่เปลี่ยนแปลง
5 จ.แม่ฮ่องสอน 1 0 0 ไม่เปลี่ยนแปลง
6 จ.น่าน 5 1 0 ลดลง 100.0 %
7 จ.แพร่ 1 1 0 ลดลง 100.0 %
8 จ.พะเยา 0 0 0 ไม่เปลี่ยนแปลง
9 จ.ตาก 0 2 0 ลดลง 100.0 %
                 รวม 14 11 6 ลดลง 45.5 %

หมายเหตุ : ข้อมูลจุดความร้อนจากดาวเทียมระบบ MODIS

๓.  สถานการณ์หมอกควันข้ามแดน โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ  (องค์การมหาชน) (GISTDA) รายงานการปกคลุมของหมอกควันจากดาวเทียมระบบ MODIS ประจำวันที่ 11 พฤษภาคม 2562 ไม่พบกลุ่มหมอกควันปกคลุม แต่พบจุดความร้อนนอกประเทศไทยบริเวณทิศเหนือของภาคเหนือ ได้แก่ จ.เชียงราย มีทิศทางลมพัดจากทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือเข้าสู่ประเทศไทย ดังนั้น สถานการณ์หมอกควันในช่วงเวลานี้จึงเกิดจากปัญหาการเผาในที่โล่งภายในประเทศไทย

๔.   การดำเนินงานแก้ไขปัญหาหมอกควันของ 9 จังหวัดภาคเหนือ

จังหวัดเชียงใหม่

ด้านการรับบริจาค ธนาคารไทยพาณิชย์ บริจาคอาหารสำเร็จรูปโรชา จำนวน 1,308 ชอง ข้าวไรซ์เบอร์รี่สำเร็จรูป 408 ชอง และน้ำดื่ม จำนวน 100 แพ็ค ให้ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์แก้ไขปัญหา หมอกควันและไฟปาจังหวัดเชียงใหม่ ใช้ในการบริหารจัดการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ

นายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในการหารือเรื่องปัญหาหมอกควันและค่าคุณภาพอากาศของจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ หัวหน้าส่วนราชการ นักวิชาการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ปัจจุบันสถานการณ์หมอกควันไฟป่าในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จุดความร้อนได้มีการลดลงเรื่อยๆ ใกล้เข้าสู่สถานการณ์ปกติแล้ว ในส่วนของการเผาทำลายเศษวัชพืช ในแต่ละพื้นที่ได้มีการควบคุมการเผาในพื้นที่ทางการเกษตรแล้ว แต่ยังมีค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในพื้นที่จากการสะสมการเผาจากประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงสภาพอากาศที่ปิดและฝนยังไม่ตกในพื้นที่

ซึ่งในส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ ยังมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ในการสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชน   ในการทำฝายเพิ่มพื้นที่ป่าเปียก และแนะนำวิธีการกำจัดวัชพืชทางการเกษตรทดแทนการเผา อาทิ การไถกลบตอซัง การทำถ่านชีวมวล เครื่องอัดฟางเพื่อเป็นอาหารสัตว์ ทั้งนี้ จังหวัดเชียงใหม่ ได้เตรียมจัดการหารือกัน เพื่อถอดบทเรียนในรูปแบบการประชุมโต๊ะกลม เพื่อให้ทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการเสนอข้อแนวทาง      ความเป็นมาของปัญหา เพื่อวางกรอบของแผนการจัดการปัญหา ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว วางแผนเพื่อเตรียมพร้อมรับมือปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในภาพรวมของจังหวัด เพื่อเตรียมความพร้อมและข้อมูลที่จะร่วมเสวนาใหญ่ร่วมกับหลายภาคส่วน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านวิชาการ ด้านเทคนิค และการบริหารจัดการ กับประเทศจีน ในส่วนของการบริหารจัดการฝุ่นละอองในเขตเมือง นำไปสู่การบูรณาการความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาและแนวทางการป้องกันในระยะยาว

 จังหวัดลำพูน

ด้านการสร้างความชุ่มชื้น จังหวัดลำพูนได้ดำเนินการฉีดพ่นละอองน้ำเพื่อลดฝุ่นละออง ขนาดเล็กในพื้นที่ เช่น ชุมชน พื้นที่สาธารณะ ครอบคลุมทั้งจังหวัด โดยรถน้ำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และมีการติดตั้งสเปรย์พ่นละอองน้ำเพื่อเพิ่มความชื้นในอากาศ ตามอาคารส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง ใช้น้ำวันละประมาณ 60,000 ลิตร

นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน มอบหมายให้ประชาสัมพันธ์ จังหวัดลำพูน สื่อมวลชน นายอำเภอทุกอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ ให้กับประชาชนทุกช่องทาง เน้นหอกระจายข่าว เสียงตามสาย ใช้ภาษาท้องถิ่นที่รับรู้ง่ายได้แก่ ภาษาคำเมือง ภาษายอง และภาษาปกาเกอะญอ อีกทั้งพบปะพูดคุยกับประชาชนเกี่ยวกับการห้ามเผา ทุกชนิดอย่างเด็ดขาด และรายการผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน “ปะป้อเมืองอู้เรื่องหละปูน”

โดยนายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ประจาทุกวันศุกร์ เวลา 08.00 – 09.00 น. ทาง สวท.ลาพูน FM 95 MHz แจ้งข่าวสารและ ขอความร่วมมือให้พี่น้องประชาชนงดการเผา และแจ้งเบาะแสผู้ที่ทำการเผา ร่วมมือกันสร้าง จังหวัดลำพูนให้เป็น“เมืองสะอาด ปราศจากหมอกควันอย่างแท้จริง

จังหวัดน่าน

-สถานีควบคุมไฟป่านันทบุรี (สบอ.13) นำกำลังเจ้าหน้าที่สถานีฯ หน่วยจัดการต้นน้ำน้ำแหน และ ราษฎรบ้านห้วยม่วง ต.แสนทอง อ.ท่าวังผา จ.น่าน ออกลาดตระเวนตรวจสอบไฟป่า และดำเนินการดับไฟไหม้ป่าบริเวณป่าบ้านห้วยม่วง ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำยาว-น้ำสวด พื้นที่ป่าเสียหาย 15 ไร

-หน่วยส่งเสริมการควบคุมไฟป่าน่าน ศูนย์ป่าไม้น่าน สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 3 สาขาแพร่ กรมป่าไม้ นำกำลังเจ้าหน้าที่ตรวจสอบจุดความร้อน โดยสนธิกำลังกับชุดปฏิบัติการพิเศษ (เหยี่ยวไฟ) ขณะเข้าตรวจสอบไฟได้ดับสนิทเเล้ว ณ ท้องที่ ต.จอมพระ อ.ท่าวังผา จ.น่าน ใช้กำลังในการเข้าตรวจสอบจำนวน 16 นาย

-หน่วยส่งเสริมการควบคุมไฟป่านาน้อย ศูนย์ป่าไม้จังหวัดน่าน สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ ๓ (สาขาแพร่) กรมป่าไม้ นำกำลังเจ้าหน้าที่ออกลาดตระเวนเฝ้าระวังไฟป่าบริเวณ ตำบลผาสิงห์ ตำบลในเวียง  และตำบลเมืองจัง อ.ภูเพียง เหตุการณ์ทั่วไปปกติ

-สถานีควบคุมไฟป่าดอยภูคา สบอ.13 (แพร่) ปฏิบัติงานตามภารกิจ ร่วมกันตรวจสอบพื้นที่ ในป่าขุนห้วยน้ำยาว-ป่าขุนห้วยฮี อุทยานแห่งชาติดอยภูคา โดยเริ่มออกเดินทางตรวจจากท้องที่บ้านน้ำหมาว ต.บ่อเกลือใต้ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน ถึงพิกัดจุดสูงสุดป่าขุนน้ำยาว-ป่าขุนห้วยฮี และสิ้นสุดที่พื้นที่ป่าบ้านนาขาม  ต.บ่อเกลือใต้ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน ผลปรากฏสภาพป่าบริเวณส่วนใหญ่เป็นหน้าผาสูงชันไม่สามารถขึ้นไปตรวจสอบได้โดยละเอียด พื้นที่ป่า ส่วนใหญ่เป็นชนิดป่าเต็งรังและป่าดิบแล้ง ไม่พบเหตุไฟไหม้ป่า

จังหวัดลำปาง

จังหวัดลำปางได้กำหนดข้อปฏิบัติในการบริหารจัดการเชื้อเพลิงหลังจากพ้นกำหนดห้ามเผา จังหวัดลำปาง ประจำปี พ.ศ. 2562 เพื่อเป็นการบริหารจัดการเชื้อเพลิงทุกพื้นที่หลังสิ้นสุดกำหนดวันห้ามเผา ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป โดยดำเนินการบริหารจัดการเชื้อเพลิงตามหลักวิชาการ ให้พื้นที่ที่มีความประสงค์จะดำเนินการบริหารจัดการเชื้อเพลิงตามหลักวิชาการ โดยให้จัดการด้วยวิธีการที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชนเป็นลำดับแรก เช่น การไถกลบตอซัง หรือเศษวัชพืชในพื้นที่เกษตร การทำปุ๋ยหมัก  หรือการนำไปเป็นอาหารสัตว์ เป็นต้น ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องเผาวัชพืชในที่ดินทำกิน ให้ราษฎรผู้ครอบครองที่ดินดังกล่าวต้องขออนุญาตจากกำนันหรือ ผู้ใหญ่บ้าน นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และนายอำเภอท้องที่นั้นๆ ก่อนที่จะดำเนินการเผาทุกครั้ง

โดยต้องจัดทำแนวกันไฟความกว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตร โดยรอบพื้นที่และควบคุมไฟมิให้ลุกลามไปยังพื้นที่อื่นๆได้  พร้อมทั้งให้ประสานกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และนายอำเภอท้องที่จัดเจ้าหน้าที่คอยควบคุมในการดำเนินการดังกล่าวด้วย

จังหวัดพะเยา

จังหวัดพะเยาร่วมกับส่วนราชการ หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักงานเทศบาลเมืองพะเยา) ร่วมดำเนินมาตรการเพิ่มความชุ่มชื้นและลดฝุ่นละอองในอากาศ โดย นำรถยนต์บรรทุกน้ำ รถดับเพลิง ทำการฉีดพ่นละอองน้ำเพิ่มความชุ่มชื่น ลดหมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ ทำความสะอาดถนน ต้นไม้ ณ บริเวณศาลหลักเมืองพะเยา อำเภอเมืองพะเยา

จังหวัดตาก

ศูนย์บัญชาการหมอกควันและไฟป่าอำเภอแม่สอดจัดรถดับเพลิงทำการฉีดพ่นละอองน้ำและล้างถนน เพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองในอากาศในพื้นที่อำเภอแม่สอด โดยได้รับการสนับสนุนรถน้ำจากหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 14 เทศบาลนครแม่สอด และศูนย์ปภเขต 9 พิษณุโลก

จังหวัดเชียงราย

 หน่วยงานราชการ ทุกภาคส่วน ประชาชน ร่วมฉีดพ่นละอองน้ำในพื้นที่เขตรับผิดชอบตามข้อสั่งการ             ของผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นในอากาศ ดักฝุ่นละอองและหมอกควันที่มีค่าเกินมาตรฐาน และจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ พร้อมรณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่ช่วยกันฉีดพ่นละอองน้ำในทุกครัวเรือนและชุมชน องค์การบริหารปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้ง 18 อำเภอ ในจังหวัดเชียงราย ฉีดพ่นละอองน้ำในพื้นที่ เขตรับผิดชอบ วันละ 2 รอบ

จังหวัดแพร่    

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดแพร่ ปฏิบัติการฉีดพ่นละอองน้ำเพื่อบรรเทาปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กและเพิ่มความชื้นในอากาศเป็นประจำทุกวัน โดยได้รับการสนับสนุนรถหุ่นยนต์ดับเพลิงแรงดันสูงควบคุมระยะไกล จากศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 15 เชียงราย และได้รับการสนับสนุนรถน้ำดับเพลิงพร้อมเจ้าหน้าที่จากเทศบาลเมืองแพร่ กองพันทหารม้าที่ 12 แขวงทางหลวงแพร่ แขวงทางหลวงชนบท อบจ.แพร่ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ทุกแห่งร่วมปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง

จังหวัดแม่ฮ่องสอน

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แขวงทางหลวงแม่ฮ่องสอน แขวงทางหลวงชนบทแม่ฮ่องสอน ท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน  ดำเนินการจัดรถบรรทุกน้ำฉีดพ่นละอองน้ำเพื่อลดฝุ่นละอองและเพิ่มความชื่นในอากาศในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ตามแผนปฏิบัติงานเพื่อบรรเทาและลดผลกระทบจากฝุ่นละอองในพื้นที่ จ. แม่ฮ่องสอน

-สถานีควบคุมไฟป่าปางตองฯ จ.แม่ฮ่องสอน เจ้าหน้าที่สถานีฯ ออกลาดตระเวนตรวจหาไฟป่า การลักลอบเผาป่า ในท้องที่ ต.หมอกจาแป่ ต.ปางหมู ต.ห้วยผา อ.เมือง จ.มส – เหตุการณ์ทั่วไป ปกติไม่มีการเกิดไฟป่าในพื้นที่รับผิดชอบ

-อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน สถานีควบคุมไฟป่าแม่ฮ่องสอน -เจ้าหน้าที่สถานีฯ เฝ้าระวังสำรวจสถานการณ์ไฟป่า หอดูไฟ (กองมู) –เจ้าหน้าที่สถานีฯออกลาดตระเวนสำรวจสถานการณ์ไฟป่าในพื้นที่รับผิดชอบและพื้นที่ใกล้เคียง – เจ้าหน้าที่สถานีฯ ดับไฟป่า จำนวน 1 ครั้ง 3 ไร่ บริเวณทิศเหนือบ้านห้วยเดื่อ ม.3 ต.ผาบ่อง อ.เมือง    จ.แม่ฮ่องสอน พบโดยชุดลาดตระเวน พื้นที่เสียหาย1 ไร่ พื้นที่เสียหาย 3 ไร่ สาเหตุหาของป่า ชนิดป่าเต็งรังในเขตป่าสงวน