การดำเนินงานแก้ไขปัญหาหมอกควัน 9 จังหวัดภาคเหนือ ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2562

  1. 1. สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 5 ไมครอน (PM2.5) เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ประจำวันพุธที่ 15 พฤษภาคม 2562 ณ เวลา 9.00 น. จากการตรวจวัด 17 พื้นที่ ใน 9 จังหวัดภาคเหนือ สรุปได้ดังนี้
  2. ค่าความเข้มข้นของฝุ่นละออง PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่าระหว่าง 13 – 29 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร) ซึ่งแสดงถึง คุณภาพอากาศดีมาก (พื้นที่สีฟ้า) เพิ่มขึ้นจากเดิม 8 พื้นที่ เป็น 12 พื้นที่ในวันนี้ซึ่งสถานการณ์ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง คุณภาพอากาศดี (พื้นที่สีเขียว) มีจำนวน 4 พื้นที่ในวันนี้ และไม่พบพื้นที่ใดที่อยู่ในเกณฑ์คุณภาพอากาศปานกลาง (พื้นที่สีเหลือง) คุณภาพอากาศที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (พื้นที่สีส้ม) และมีผลกระทบต่อสุขภาพ (พื้นที่สีแดง) ในวันนี้        – มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ทั้ง 9 จังหวัด ซึ่งพบว่าทุกพื้นที่ที่มีสถานการณ์ดีขึ้นมาก เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของเมื่อวาน ซึ่งในวันนี้ค่าระดับฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน อยู่ในเกณฑ์คุณภาพอากาศดีมาก เพิ่มขึ้นจำนวน12 พื้นที่

– คุณภาพอากาศมีค่าอยู่ในเกณฑ์ดีมาก – คุณภาพอากาศดี โดยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสีฟ้า (คุณภาพอากาศดีมาก) จำนวน 12  พื้นที่ ซึ่งสถานการณ์ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและไม่พบ พื้นที่สีเหลือง (คุณภาพอากาศปานกลาง) พื้นที่สีส้ม(คุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ)  และพื้นที่สีแดง (คุณภาพอากาศมีผลกระทบต่อสุขภาพ) พื้นที่สีเขียว (คุณภาพอากาศดี) มีจำนวน 4  พื้นที่ในวันนี้ ได้แก่ ต.เวียง อ.เมือง จ.เชียงราย ต.เวียงผาคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ต.นาจักร อ.เมือง จ.แพร่ และ ต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก

ตารางที่ 1 แสดงค่า PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง (ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ณ เวลา 9.00 น.

ลำดับ สถานี ค่า PM2.5 (มคก./ลบ.ม.) เปรียบเทียบค่า PM2.5

(14 พ.ค. และ 15 พ.ค. 62)

13 พ.ค. 14 พ.ค. 15 พ.ค.
1 ต.เวียงคำ อ.เมือง จ.เชียงราย 51 34 28 ลดลง 17.6 %
2 ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย 76 48 26 ลดลง 45.8 %
3 ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 36 32 24 ลดลง 25.0 %
4 ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 30 24 15 ลดลง 37.5 %
5 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 30 17 13 ลดลง 23.5 %
6 ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ 42 N/A 22 N/A
7 ต.พระบาท อ.เมือง จ.ลำปาง 34 20 16 ลดลง 20.0 %
8 ต.สบป้าด อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง 29 17 22 ลดลง 29.4 %
9 ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง 34 N/A 22 N/A
10 ต.แม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง 32 21 24 เพิ่มขึ้น 14.3 %
11 ต.บ้านกลาง อ.เมือง จ.ลำพูน 34 27 20 ลดลง 25.9 %
12 ต.จองคำ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน 12 N/A N/A N/A
13 ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน 30 22 17 ลดลง 22.7 %
14 ต.ห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน N/A N/A 20 N/A
15 ต.นาจักร อ.เมือง จ.แพร่ 27 19 26 เพิ่มขึ้น 36.8 %
16 ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา 40 26 23 ลดลง 11.5 %
17 ต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก 28 22 29 เพิ่มขึ้น 31.8 %
                                  เฉลี่ย 35.3 25.3 21.7 ลดลง 14.3 %

หมายเหตุ : N/A หมายถึง ไม่มีข้อมูลเนื่องจากเครื่องมือขัดข้อง

๒.  สถานการณ์จุดความร้อน (Hotspot) ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 จากดาวเทียมระบบ MODIS ดังนี้

– ไม่พบจุดความร้อนรวมทั้ง 9 จังหวัดภาคเหนือ โดยลดลงจากวันที่ 12 พฤษภาคม 2562 จำนวน   3 จุด หรือคิดเป็น 100.0 %

ตารางที่ 2 แสดงจำนวนจุดความร้อน (hotspot) จากดาวเทียมระบบ MODIS

ลำดับ จังหวัด จำนวนจุด Hotspot (จุด) เปรียบเทียบจุด Hotspot

(13 พ.ค. และ 14 พ.ค. 62)

12 พ.ค. 13 พ.ค. 14 พ.ค.
1 จ.เชียงราย 5 0 0 ไม่เปลี่ยนแปลง
2 จ.เชียงใหม่ 1 0 0 ไม่เปลี่ยนแปลง
3 จ.ลำปาง 0 0 0 ไม่เปลี่ยนแปลง
4 จ.ลำพูน 0 0 0 ไม่เปลี่ยนแปลง
5 จ.แม่ฮ่องสอน 0 0 0 ไม่เปลี่ยนแปลง
6 จ.น่าน 0 3 0 ลดลง 100.0 %
7 จ.แพร่ 0 0 0 ไม่เปลี่ยนแปลง
8 จ.พะเยา 0 0 0 ไม่เปลี่ยนแปลง
9 จ.ตาก 0 0 0 ไม่เปลี่ยนแปลง
                 รวม 11 3 0 ลดลง 100.0 %

หมายเหตุ : ข้อมูลจุดความร้อนจากดาวเทียมระบบ MODIS

๓.  สถานการณ์หมอกควันข้ามแดน โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ            (องค์การมหาชน) (GISTDA) รายงานการปกคลุมของหมอกควันจากดาวเทียมระบบ MODIS ประจำวันที่ 12 พฤษภาคม 2562 ไม่พบกลุ่มหมอกควันปกคลุม และจุดความร้อนนอกประเทศไทย มีทิศทางลมพัดจาก      ทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือเข้าสู่ประเทศไทย และสภาพอากาศในพื้นที่ภาคเหนือเริ่มมีฝนตกในหลายพื้นที่

๔.   การดำเนินงานแก้ไขปัญหาหมอกควันของ 9 จังหวัดภาคเหนือ

จังหวัดน่าน

– สถานีควบคุมไฟป่าดอยภูคา สบอ.13 (แพร่) โดยเจ้าหน้าที่สถานีฯ ร่วมกับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จนท.ชป.เหยี่ยวไฟ จนท.หน่วยส่งเสริม การควบคุมไฟป่าน่าน และราษฎรเครือข่ายฯไฟป่า บ้านน้ำยาว บ้านดอนน้ำยาว ต.อวน อ.ปัว ร่วมกันควบคุมไฟป่าน้ำยาว ในเขต อช.ดอยภูคา ท้องที่บ้านน้ำยาว ม.3
ต.อวน อ.ปัว สามารถควบคุมไฟป่าดับได้ ป่าเป็นชนิดป่าเบญจพรรณ พื้นที่เสียหาย 30 ไร่ สาเหตุคาดว่า        มาจากการล่าสัตว์, และร่วมกันควบคุมไฟป่าขุนห้วยจะค่าน ในเขต อช.ดอยภูคา ท้องที่บ้านห้วยหาด ม.7 และ   บ้านหลักลาย ม.8 ต.อวน อ.ปัว พื้นที่เสียหาย 20 ไร่ สาเหตุจากการจุดเพื่อล่าสัตว์

– ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กองช่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน ปฏิบัติงานแก้ไขปัญหา            ไฟป่าและหมอกควัน อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ปฏิบัติหน้าที่ในการนำรถบรรทุกน้ำฉีดพ่นดับไฟป่า บริเวณ       หลัง มทร. ล้านนาน่าน ตำบลฝายแก้ว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน

– หน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดน่าน ดำเนินการฉีดพ่นละอองน้ำ                    ในพื้นที่จังหวัดน่าน อาทิ เส้นทางการจราจร พื้นที่สาธารณะ สถานที่ราชการ เพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก  ที่เกินค่ามาตรฐานและสร้างความชุ่มชื้นในพื้นที่

จังหวัดเชียงใหม่

– ศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าอำเภออมก๋อย จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ถอดบทเรียนเพื่อแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าพื้นที่อำเภออมก่อยระดับตำบลประจำปี 2562 เพื่อสะท้อนปัญหาและอุปสรรคของการปฏิบัติหน้าที่ในห้วงของการเกิดไฟป่าในพื้นที่ และร่วมกันหาแนวทาง ในการแก้ไขปัญหาในการควบคุมไฟป่าอย่างยังยืนด้วยศาสตร์พระราชา ณ องค์การบริหารส่วนตำบลอมก๋อย อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่

– อำเภอสันป่าตอง ร่วมกับสถานีพัฒนาที่ดินเชียงใหม่ สำนักงานเกษตรอำเภอสันป่าตอง และกลุ่มเกษตรกร จัดกิจกรรมรณรงค์การไถกลบตอซังข้าว แทนการเผา เพื่อจัดเตรียมพื้นที่ทำการเพาะปลูกนาข้าว ในฤดูการผลิต ปี 2562 ณ บ้านสันป่าตองหลวง หมู่ที่ 1 ตำบลยุหว่า อำเภอสันปาตอง จังหวัดเชียงใหม่

จังหวัดแม่ฮ่องสอน

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แขวงทางหลวงแม่ฮ่องสอน แขวงทางหลวงชนบทแม่ฮ่องสอน ท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน  ดำเนินการจัดรถบรรทุกน้ำฉีดพ่นละอองน้ำเพื่อลดฝุ่นละอองและเพิ่มความชื่นในอากาศในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ตามแผนปฏิบัติงานเพื่อบรรเทาและลดผลกระทบจากฝุ่นละอองในพื้นที่ จ. แม่ฮ่องสอน

 จังหวัดเชียงราย

หน่วยงานราชการ ทุกภาคส่วน ประชาชน ร่วมฉีดพ่นละอองน้ำในพื้นที่เขตรับผิดชอบตามข้อสั่งการของผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นในอากาศ ดักฝุ่นละอองและหมอกควันที่มีค่าเกินมาตรฐาน และจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ พร้อมรณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่ช่วยกันฉีดพ่นละอองน้ำในทุกครัวเรือนและชุมชน องค์การบริหารปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้ง 18 อำเภอ ในจังหวัดเชียงราย ฉีดพ่นละอองน้ำในพื้นที่เขตรับผิดชอบ วันละ 2 รอบ

จังหวัดลำปาง

จังหวัดลำปางได้กำหนดข้อปฏิบัติในการบริหารจัดการเชื้อเพลิงหลังจากพ้นกำหนดห้ามเผา จังหวัดลำปาง ประจำปี พ.ศ. 2562 เพื่อเป็นการบริหารจัดการเชื้อเพลิงทุกพื้นที่หลังสิ้นสุดกำหนดวันห้ามเผา ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป โดยดำเนินการบริหารจัดการเชื้อเพลิงตามหลักวิชาการ ให้พื้นที่ที่มีความประสงค์จะดำเนินการบริหารจัดการเชื้อเพลิงตามหลักวิชาการ

โดยให้จัดการด้วยวิธีการที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชนเป็นลำดับแรก เช่น การไถกลบตอซัง หรือเศษวัชพืชในพื้นที่เกษตร การทำปุ๋ยหมัก หรือการนำไปเป็นอาหารสัตว์ เป็นต้น ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องเผาวัชพืชในที่ดินทำกิน ให้ราษฎรผู้ครอบครองที่ดินดังกล่าวต้องขออนุญาตจากกำนันหรือ ผู้ใหญ่บ้าน นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และนายอำเภอท้องที่นั้นๆ ก่อนที่จะดำเนินการเผาทุกครั้ง โดยต้องจัดทำแนวกันไฟความกว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตร

โดยรอบพื้นที่และควบคุมไฟมิให้ลุกลามไปยังพื้นที่อื่นๆได้  พร้อมทั้งให้ประสานกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และนายอำเภอท้องที่จัดเจ้าหน้าที่คอยควบคุมในการดำเนินการดังกล่าวด้วย

จังหวัดพะเยา

จังหวัดพะเยาร่วมกับส่วนราชการ หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักงานเทศบาลเมืองพะเยา) ร่วมดำเนินมาตรการเพิ่มความชุ่มชื้นและลดฝุ่นละอองในอากาศ โดย นำรถยนต์บรรทุกน้ำ รถดับเพลิง ทำการฉีดพ่นละอองน้ำเพิ่มความชุ่มชื่น ลดหมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ ทำความสะอาดถนน ต้นไม้ ณ บริเวณศาลหลักเมืองพะเยา อำเภอเมืองพะเยา

จังหวัดตาก

ศูนย์บัญชาการหมอกควันและไฟป่าอำเภอแม่สอดจัดรถดับเพลิงทำการฉีดพ่นละอองน้ำและล้างถนน           เพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองในอากาศในพื้นที่อำเภอแม่สอด โดยได้รับการสนับสนุนรถน้ำจากหน่วยเฉพาะกิจ    กรมทหารราบที่ 14 เทศบาลนครแม่สอด และศูนย์ปภเขต 9 พิษณุโลก

 จังหวัดแพร่    

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดแพร่ ปฏิบัติการฉีดพ่นละอองน้ำเพื่อบรรเทาปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กและเพิ่มความชื้นในอากาศเป็นประจำทุกวัน โดยได้รับการสนับสนุนรถหุ่นยนต์ดับเพลิงแรงดันสูงควบคุมระยะไกล จากศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 15 เชียงราย และได้รับการสนับสนุนรถน้ำดับเพลิง พร้อมเจ้าหน้าที่จากเทศบาลเมืองแพร่ กองพันทหารม้าที่ 12 แขวงทางหลวงแพร่ แขวงทางหลวงชนบท อบจ.แพร่ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น