ผู้ว่าฯตรัง แถลงข่าวแจงขอความเป็นธรรมให้ชาวตรัง วิกฤตล่าพะยูน นำเขี้ยว กระดูก และเนื้อผัดเผ็ด ยันตรังเป็นจังหวัดเดียวที่ยังมีการดูแลอนุรักษ์พะยูนอย่างเข้มแข็ง วอนใครมีข้อมูลกระบวนล่าพะยูนแจ้งได้ทันที อาจารย์.มทร.ศรีวิชัยตรัง ชี้ข้อมูลบั่นทอนความรู้สึกนักอนุรักษ์
เมื่อเวลา 08.00น.วันที่ 17 ตุลาคม ภายในห้องแถลงข่าวศาลากลางจังหวัดตรัง นายศิริพัฒ พัฒกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนประจำสัปดาห์โดยมีประเด็นกรณี ที่นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ข้อมูลในการการอนุรักษ์พะยูนและอนุรักษ์แหล่งหญ้าทะเลระดับประเทศ ถึงสถานการณ์พะยูนในประเทศไทยจัดอยู่ในภาวะวิกฤต เนื่องจากถูกคุกคามอย่างหนัก ในเรื่องที่อยู่อาศัยและการทำลายแหล่งหญ้าทะเล ซึ่งคาดว่าในน่านน้ำไทยมีพะยูนไม่เกิน 200 ตัว และมีอยู่ในเขตห้ามล่าหมู่เกาะลิบง จ.ตรัง ประมาณ 130-150ตัว โดยกลุ่มผู้ล่าพะยูนมีความเชื่อว่า กระดูกพะยูน มามารถนำไปทำยาโด๊ป เขี้ยวน้ำไปทำของขลัง เนื้อนำไปปรุงอาหาร เมนูพะยูนผลัดเผ็ดนั้น
นายศิริพัฒ แถลงว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องที่มาถึงผู้ว่าราชการจังหวัดก่อน แต่ เป็นเรื่องที่ทางอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมจะต้องรับไปดูแลเรื่องนี้ โดยเฉพาะอย่างคนที่มีข้อมูลตนฝากเรียนว่า หากมีข้อมูลกระบวนการล่าพะยูน ไม่ว่า จะเอาเขี้ยว เอาเนื้อ หรืออะไรต่างๆให้แจ้งตนมาได้เลย ผมจะจัดการแน่ ไม่ว่าจะเป็นคนในเกาะลิบงเอง หรือคนอื่นๆ อย่างพูดแบบให้ข่าวกับสังคมอย่างเดียวให้ข่าวกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องด้วย ถ้าไม่ไว้ใจเจ้าหน้าที่ อย่าน้อยก็ให้ไว้ใจผู้ว่าฯ ตนจะได้จัดการกับบุคคลพวกนี้อย่างเฉียบขาดเสียที
นายศิริพัฒ แถลงอีกว่า บอกว่าที่ตรังเหลือพะยูนอยู่ 200 ตัว แต่คิดให้ดีที่อื่นหมดแล้ว ตรังยังเหลือไว้ให้แต่ข่าวกับออกว่า หญ้าทะเลถูกทำลาย พะยูนเริ่มหมด แต่จังหวัดอิ่นๆทีมีพะยูนหมดไปแล้ว แต่จังหวัดจันทบุรีไม่มีใครพูด พะยูนหายไปเท่าไหร่แล้วจากการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จ.ตราด เกาะช้าง ขณะนี้แทบจะไม่เหลือ แต่ที่จังหวัดตรัง เหลือเป็นร้อยตัว จะมาทำข่าวตี เรื่องนี้ผมกราบเรียนว่าขอความเป็นธรรมให้กับคนตรังด้วย เพราะคนตรังดูแลพะยูนอย่างดีที่สุดแล้ว และเป็นจังหวัดที่มีพะยูนมากที่สุดในทะเลตรังเท่านั้น ในประเทศไทย
“จะต้องออกข่าวว่าชาวตรังภูมิใจที่ดูแลพะยูนที่สุดในประเทศไทย ต้องต่อสู้กับคนที่เห็นตัว เห็นแก่ประโยชน์ และเราคนตรังจะร่วมกันทุกภาคส่วนดูแลพะยูน หญ้าพะยูน ม้าน้ำให้เป็นแหล่งสุดท้าย เราจะไม่เน้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จะเน้นการท่องเที่ยวที่ไม่ใช่ลักษณะอุตสาหกรรม ไม่อยากเห็นการท่องเที่ยวตรังเหมือนตั๊กแตนปาทังก้า ลงทีเดียวเกลี้ยงพรึบ ทางจังหวัดเน้นให้นักท่องเที่ยวมาจังหวัดตรังอย่างมีความสุข และจะทำให้สิ่งแวดล้อมอยู่คู่กับประเทศไทย และคิดถึงสิ่งแวดล้อมโลกด้วย” นายศิริพัฒ แถลงปิดท้าย
นายอภิรักษ์ สงรักษ์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ในฐานะทำงานด้านการอนุรักษ์พะยูน กล่าวว่า ตนไม่ทราบว่าใครเป็นคนพูดและในข่าวออกมาในลักษณะเช่นนี้ แต่มีการพูดในลักษณะภาพรวม ไม่ได้เจาะจงมาที่จังหวัดตรังโดยตรง แต่ที่สุดก็กระทบกับคนตรัง เนื่องจากทะเลตรังมีพะยูนมากที่สุด และที่มีการพูดว่าเนื้อพะยูนนำมาปรุงอาหาร กก.ละ 150 บาท นั้นเป็นการตั้งมูลค่าที่ต่ำมาก ขณะที่ปลาทะเลชนิดอื่น ราคา กก.ละไม่ต่ำกว่า 300 บาท การให้ข้อมูลดังกล่าวเป็นการบั่นทอนการทำงานของนักอนุรักษ์อย่างมาก ทำให้นักอนุรักษ์อาจเกิดความขัดแย้งกับนักวิชาการได้ ตนไม่ทราบเจตนาของผู้พูดแต่ตั้งข้อสังเกตุว่าการพูดน่าจะมีการสังเคราะห์มากกว่านี้
รายงานข่าวแจ้งว่า หลังจากที่ข่าวดังกล่าวแพร่สะพัด ทำให้กลุ่มชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดตรัง พร้อมทั้งกลุ่มอนุรัก์พะยูน ออกมาเคลื่อนไหว อยากให้มีการชี้ให้ชัดเจนว่า ขบวนการล่าพะยูนเป็นคนกลุ่มไหน เนื่องจากปีที่ผ่านพบว่ามีพะยูนเสียชีวิตประมาณ 6 ตัว ส่วนใหญ่เกิดจากอาการเจ็บป่วย รวมทั้งติดเครื่องมือประมง โดยแต่ละครั้งจะมีการนำซากไปแจ้งความและนำไปผ่าพิสูจน์หาสาเหตุการเสียชีวิต ณ มทร.ศรีวิชัยตรัง และศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอันดามัน ภูเก็ต
ที่มา มติชนออนไลน์