ราชกิจจาฯ เผยแพร่ คำแนะนำของประธานศาลฎีกาว่าด้วยแนวทางการใช้โทษอาญา

ราชกิจจานุเบกษา-สธ.-กอล์ฟ

วันที่ 16 ธันวาคม 2563 เว็บไชต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ คำแนะนำของประธานศาลฎีกาว่าด้วยแนวทางการใช้โทษอาญา พ.ศ. ๒๕๖๓ ดังนี้ 

โดยที่การใช้โทษอาญต้องคำนึงถึงพฤติการณ์ของการกระทำผิดกับโทษที่จะลงนั้นให้ได้สัดส่วนเหมาะสมกัน และต้องคำนึงถึการฟื้นฟูผู้กระทำผิดให้รู้สำนึกในความผิดของตนเพื่อส่งกลับคืนสู่สังคมอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนป้องปราให้ผู้กระทำผิดหรือผู้อื่นกระทำผิดซ้ำอีกด้วย เมื่อโทษอาญาสำหรับลงแก่ผู้กระทำผิดหลายรูปแบบ และการแก้ปัญหาอาชญากรรมไม่อาจอาศัยแต่โทษที่รุนแรงอย่างเดียว การใช้โทษอาญาย่อมต้องตระหนักถึงผลกระทบอย่างรอบด้านและพิจารณาปรับใช้โทษอาญาให้มีความเหมาะสมแก่ผู้กระทำผิดเป็นรายบุคคล ประกอบกับศาลมีอำนาจบังคับใช้มาตรการที่เป็นทางเลือกอันมิใช่การคุมขังได้อย่างกว้างขวาง ดังนั้น พื่อให้การใช้โทษอาญาเป็นไปในแนวทางเดียวกันลดความเหสื่อมล้ำในกระบวนการยุติธรรม และเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มติพระธรรมนูญศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ ประธานศาลฎีกาจึงออกคำแนะนำ ว่าด้วยแนวทางการใช้โทษอาญา ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ การลงโทษทางอาญาพึงคำนึงถึงเรื่องการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดให้เกิดความสำนึกรับผิดชอบที่พึงมีต่อสังคมและการป้องปรามมิให้เกิดการกระทำผิดอีก

ในการกำหนดโทษสถานใด เพียงใด นอกจากพฤติการณ์เกี่ยวกับการกระทำผิดและความเสียหายแล้ว ศาลพึงพิจารณาถึงความเป็นมาแห่งชีวิตของผู้กระทำผิดดังที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๖ ประกอบด้วยเสมอ แม้เป็นกรณีที่ไม่อาจรอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษได้ก็ตาม ซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าวอาจปรากฏจากการสืบเสาะ สำนวนการสอบสวน รายงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง หรือการไต่สวนของศาลก็ได้

ข้อ ๒ โทษกักขังหรือจำคุกเป็นมาตรการที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลอย่างรุนแรงและส่งผลต่อการกลับคืนสู่สังคมของผู้กระทำผิด จึงต้องใช้ด้วยความตระหนักถึงผลกระทบอย่างรอบด้านและพึ่งใช้ต่อเมื่อไม่สามารถใช้โทษหรือมาตรการที่เป็นทางเลือกอื่นได้

ระยะเวลากักขังหรือจำคุกควรได้สัดส่วนกับความจำเป็นในการป้องปรามมิให้เกิดการกระทำผิดซ้ำและการฟื้นสำนึกของผู้กระทำผิดเป็นรายบุคคล

การใช้โทษปรับ

ข้อ ๓ การกำหนดจำนวนงินค่ปรับศาลพึงคำนึงถึงฐานะการเงินหรือความสามารถในการชำระของผู้กระทำผิดแต่ละบุคคลประกอบด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้มีผลเป็นการยับยั้งมิให้เกิดการกระทำความผิดอีก จำนวนค่าปรับจึงอาจแตกต่างไปจากบัญชีมาตรฐานโทษได้

ข้อ ๔ ถ้าลักษณะของความผิดไมาใช่ความผิดที่ส่งผลเสียหายอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจและสังคม เมื่อคำนึงถึงฐานะการเงิน รายได้ และภาระหนี้สินต่าง ๆ ของผู้กระทำผิดแล้ว ศาลอาจให้ผู้นั้นผ่อนชำระค่าปรับได้ภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นเหมาะสม และในระหว่างผ่อนชำระ ไม่ควรสั่งกักขังผู้นั้นเว้นแต่จะมีพฤติการณ์หลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าปรับ

ข้อ ๕ หากความปรากฎแก่ศาลว่า ผู้กระทำผิดไม่อยู่ในสถานะที่จะชำระค่าปรับได้ครบถ้วนเพราะเหตุยากจนและความผิดที่กระทำไม่มีลักษณะตามที่ระบุไว้ในข้อ ๔ ศาลจะสั่งให้ผู้นั้นทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่ปรับทั้งหมด หรือแต่บางส่วนไปทันทีในวันพิพากษาคดีหรือในเวลาใด ๆ ภายหลังจากนั้น โดยไม่ต้องมีการร้องขอก็ได้

การรอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษ

ข้อ ๖ บัญชีมาตรฐานโทษถือเป็นเพียงข้อแนะนำ หากศาลเห็นว่าการรอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษเหมาะสมได้สัดส่วนกับการกระทำความผิดและเป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดยิ่งกว่าการจำคุก ศาลอาจพิพากษาแตกต่างไปจากบัญชีมาตรฐานโทษได้

ข้อ ๗ การรอการกำหนดโทษ พึงใช้ในกรณีที่ศาลเห็นว่า ควรให้โอกาสผู้กระทำผิดกลับตัวโดยไม่ต้องมีประวัติว่าเคยต้องโทษมาก่อน

ข้อ ๘ การรการลงโทษ อาจรอทั้งโทษจำคุกและโทษปรับก็ได้

ข้อ ๙ ในกรณีที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติที่วางไว้ ศาลอาจใช้วิธีตักเตือน ปลี่ยนแปลงเงื่อนไขให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์ หรือเพิ่มความเข้มข้นของเงื่อนไข เช่นการคุมประพฤติแบบเข้มงวด การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์อื่นใด ที่สามารถใช้ตรวจสอบจำกัดการเดินทาง หรือนำโทษปรับที่รอไว้มาลงโทษจำเลยก่อน โดยยังไม่ลงโทษจำคุกทันทีก็ได้แต่หากจะลงโทษถึงจำคุก พึงพิจารณาว่าสมควรจะใช้วิธีการลงโทษกักขังแทนโทษจำคุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๓ หรือไม่ ด้วยเพื่อเลี่ยงการมีประวัติต้องโทษจำคุก และหากใช้วิธีการดังกล่าวให้นำความในข้อ ๑๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

การยกโทษจำคุกและการกักขังแทนโทษจำคุก

ข้อ ๑๐ กรณีที่ศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกินสามดือนพึงพิจารณาเลี่ยงโทษจำคุกโดยวิธีการต่อไปนี้ตามลำดับ

(๑) ยกโทษจำคุกเสียและคงปรับสถานเดียวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๕

(๒) ลงโทษกักขังแทนโทษจำคุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๓

ข้อ ๑๑ การกักขังแทนโทษจำคุกเป็นมาตรการเพื่อฟื้นสำนึกผู้กระทำผิดที่ไม่ร้ายแรงและมีโอกาสกลับตัวได้ แต่มีความจำเป็นต้องจำกัดเสรีภาพชั่วขณะเพื่อให้ผู้กระทำผิดได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบที่พึงมีต่อสังคมและเกรงกลัวต่อการกระทำผิดอีก จึงควรกำหนดระยะเวลาในการกักขังเพียงเท่าที่จำเป็นต่อการป้องปรามและเหมาะสมแก่พฤติการณ์ของผู้กระทำผิดแต่ละคน โดยอาจกำหนดระยะเวลาให้น้อยกว่าโทษจำคุกที่วางไว้ได้

กรณีศาลจะมีคำพิพากษาให้กักขังผู้กระทำผิดไว้ในที่อาศัยของผู้นั้นเองหรือของผู้อื่นที่ยินยอมรับผู้นั้นไว้ หรือสถานที่อื่นที่อาจกักขังได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๔ วรรคสองศาลพึงพิจารณาถึงลักษณะการกระทำความผิดและสภาพของผู้ถูกกักขัง เช่น ผู้ถูกกักขังเป็นผู้สูงอายุเป็นหญิงมีครรภ์หรือเพิ่งคลอดบุตร มีสภาพร่างกายไม่เหมาะสมที่จะกักขังไว้ในสถานที่กักขัง หรือเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง ซึ่งถ้าต้องกักขังจะถึงอันตรายแก่ชีวิตหรืออาจติดต่อไปยังบุคคลอื่นได้ เป็นต้น

ศาลพึงพิจารณาสถานที่กักขังว่าอยู่ในสภาพที่เหมาะสมหรือไม่ หากไม่อยู่ในสภาพดังกล่าว ศาลอาจมีคำสั่งให้กักขังในสถานที่อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๔ วรรคสาม

ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๓
เมทินี ชโลธร
ประธานศาลฎีกา

อ่านราชกิจจาฯ คลิก