
กรมอนามัย ย้ำ ซื้ออาหารในห้าง สั่งได้เฉพาะออนไลน์ หรือ ดีลิเวอรี่เท่านั้น ไม่อนุญาตซื้อหน้าร้าน ลดการติดต่อผู้ซื้อผู้ขาย ระบุพนักงานส่งอาหารขอให้เข้มมาตรการป้องกันควบคุมโรค หลังถูกร้องเรียนจับกลุ่มถอดหน้ากากคุยกันระหว่างรอออร์เดอร์ หากฝ่าฝืนปรับถึง 20,000 บาท
วันที่ 3 กรกฎาคม 2564 ที่กระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากการประกาศมาตรการข้อกำหนดฉบับที่ 30 ประกอบคำสั่ง ศบค.ที่ 11/2564 วันที่ 1 ส.ค.2564 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 ส.ค. เป็นต้นไป ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับร้านอาหาร ได้ให้ทุกพื้นที่ปฏิบัติตาม 3 ประเด็นสำคัญ คือ 1.การจัดนั่งบริโภคอาหาร 2.ระยะเวลาการให้บริการ 3.การบริโภคสุรา โดยแบ่งพื้นที่ออกมาเป็น 3 ลักษณะด้วยกัน คือ
- ตรวจหวย ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล ตรวจผลรางวัล งวด 16 มี.ค. 66 (อัพเดต)
- ผลสลากออมสินพิเศษ 1 ปี และ 3 ปี งวดวันที่ 16 มีนาคม 2566 (อัพเดต)
- สถิติหวย ตรวจหวย ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวด 16 มีนาคม ย้อนหลัง 10 ปี
1.พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดจำนวน 29 จังหวัด ห้ามบริโภคในร้าน ให้จำหน่ายแบบนำไปบริโภคที่อื่น ในส่วนของห้างสรรพสินค้าจำหน่ายได้เฉพาะดีลิเวอรี่ (งดจำหน่ายหน้าร้าน) ระยะเวลาในการให้บริการเปิดได้ไม่เกิน 20.00 น.
2.พื้นที่ควบคุมสูงสุด จำนวน 37 จังหวัด สามารถนั่งบริโภคในร้านได้ตามปกติ แต่เปิดบริการได้ไม่เกิน 23.00 น. และห้ามบริโภคสุราในร้าน
3.พื้นที่ควบคุม จำนวน 11 จังหวัด นั่งบริโภคในร้านได้ เปิดให้บริการได้ตามปกติภายในกำหนดเวลาปกติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และห้ามบริโภคสุราในร้าน
นพ.สุวรรณชัยกล่าวต่อว่า สำหรับพื้นที่ 29 จังหวัด ย้ำว่า ร้านอาหารหรือเครื่องดื่มในศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า คอมมิวนิตี้มอลล์ จะจำหน่ายในรูปแบบการสั่งอาหารหรือเครื่องดื่มผ่านบริการขนส่งอาหาร (Food Delivery Service) โดยเปิดได้ไม่เกิน 20.00 น.ไม่มีการจำหน่ายแก่ผู้บริโภคโดยตรง เพื่อลดการติดต่อระหว่างผู้จำหน่ายกับผู้บริโภคจำนวนหลายคน
“ซึ่งเรื่องนี้ก็มีการสอบถามเข้ามาจำนวนมากว่า ห้างสรรพสินค้ามีการเปิดซูเปอร์มาร์เก็ตให้เข้าไปจับจ่ายใช้สอยได้ แต่เมื่อซื้อของในซูเปอร์มาร์เก็ตแล้ว สามารถซื้ออาหารหรือเครื่องดื่มในร้านอาหารที่อยู่ในศูนย์การค้านั้นได้หรือไม่ โดยไม่ต้องสั่งผ่านไรเดอร์
ตรงนี้ขอชี้แจงว่า หากร้านอาหารในห้างสรรพสินค้านั้นๆ หรือตัวห้างเอง สามารถจัดระบบดีลิเวอรี่เอง โดยมีระบบการสั่งผ่านออนไลน์ โทรศัพท์ หรือพนักงานอำนวยความสะดวกเอง ที่ไม่ให้ผู้บริโภคไปซื้อกับผู้จำหน่ายโดยตรงก็สามารถทำได้ เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคไปรอ หรือไปแออัดหน้าร้าน แต่หากศูนย์การค้า หรือห้างสรรพสินค้าไม่สามารถทำได้ ก็ต้องใช้บริการทางฟู้ดดีลิเวอรี่แทน”
นพ.สุวรรณชัย กล่าวต่อว่า ในข้อกำหนดฉบับที่ 30 กำหนดด้วยว่าห้างศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอล มีหน้าที่และมีความรับผิดชอบที่จะต้องจัดให้มีระบบการคัดกรอง ซึ่งระบบคัดกรองในทีนี้จะไม่ใช่คัดกรองเฉพาะอาการไข้ ระบบทางเดินหายใจหรืออาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิดอย่างเดียว แต่จะต้องคัดกรองไปถึงประวัติความเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงของคนทำงานที่เกี่ยวข้องด้วย
โดยเฉพาะผู้ขนส่งอาหาร หรือคนทำงานก่อนที่จะเข้ามาในพื้นที่อาคาร ต้องมีการจัดคิว กำหนดพื้นที่เฉพาะสำหรับรอคิว เว้นระยะห่างระหว่างที่นั่ง หรือที่ยืนอย่างเข้มงวด ต้องจัดให้มีทางเข้า ออกที่ชัดเจน หากมีคนทำงานที่เกี่ยวข้องไม่สบายต้องให้หยุดงาน และไปตรวจโรคทันที และทุกร้านจะต้องประเมินมาตรฐานสุขภาพลักษณะของสถานที่ผ่าน “thai Stop covid Plus” เพื่อให้กระทรวงสาธารณสุขมาติดตามกำกับและประเมินผล
ส่วนประชาชนที่สั่งซื้ออาหารดิลิเวอรี่ ต้องดูความจำเป็นว่าอาหารที่สั่งซื้อนั้นมีประโยชน์หรือจำเป็นมากน้อยเพียงใด เน้นอาหารปรุงสุกใหม่ เมื่อออกไปรับอาหารจากผู้ส่งก็ควรสวมหน้ากากด้วย ให้คิดเสมอว่าคนที่เข้ามาหาเราคือผู้มีเชื้อ และรับมาแล้วนำให้บริโภคทันที ที่สำคัญคือพยายามชำระเงินด้วยระบบออนไลน์
เมื่อถามถึงแนวทางหรือการจัดระเบียบพนักงานส่งอาหาร อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า พนักงานส่งอาหารหรือไรเดอร์ มี 2 กลุ่ม คือกลุ่มฟูลไทม์ กับพาร์ตไทม์ โดยกลุ่มฟูลไทม์ ผู้ประกอบการจะมีการกำกับอย่างดี บางคนได้ฉีดวัคซีนแล้ว แต่ปัญหาส่วนใหญ่จะมาจากกลุ่มพาร์ตไทม์ เพราะประเด็นที่ได้รับการร้องเรียนคือจุดที่รอรับอาหาร หรือจุดส่งคำสั่งซื้อ มักเห็นการรวมกลุ่มกันของกลุ่มนี้
ฉะนั้นแล้วต้องขอความร่วมมือแต่ละร้านโดยเฉพาะที่อยู่นอกห้างให้ควบคุม จัดระบบ ไม่ให้มีการรวมตัวหน้าร้าน ส่วนร้านที่อยู่ในศูนย์การค้า หรือห้างสรรพสินค้า ซึ่งมีข้อกำหนดตั้งแต่วันที่ 3 ส.ค. 2564 ว่าห้างสรรพสินค้าต้องจัดระบบ และควบคุมกำกับ ไม่ให้ในส่วนของไรเดอร์มารวมกลุ่มแออัด
“ส่วนจะมีโทษหรือไม่นั้น ตัวข้อกำหนดต่าง ๆ ที่ออกตามมาตรา 9 ใน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ร่วมกับ พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ ประกาศชัดว่า กรณีอยู่นอกเคหสถาน หากไม่สวมหน้ากากอนามัย ถือว่ามีความผิด และคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติได้ออกระเบียบ ซึ่งออกตามมาตรา 34(6) ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2564 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.ที่ผ่านมา ได้กำหนดความผิดในเรื่องการรวมกลุ่ม และไม่สวมหน้ากากอนามัย รวมทั้งการพูดคุย การสูบบุหรี่ หรือกิจกรรมนันทนาการใด ๆ ก็ตาม โดยหากผิดครั้งแรกจะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท หากครั้งที่ 2 ปรับ 1,000-10,000 บาท ครั้งที่ 3 ปรับ 10,000-20,000 บาท
ซึ่งในส่วนนี้เจ้าพนักงานตามกฎหมาย และคณะกรรมการโรคติดต่อของกรุงเทพมหานคร หรือจังหวัดมีหน้าที่ควบคุมกำกับให้เป็นไปตามประกาศ จึงขอให้ความร่วมมือ และหากประชาชนพบพฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยงเกิดโรคระบาด ให้แจ้งไปที่จังหวัด หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือหากอยู่ในเขต กทม. ให้แจ้งไปที่สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร”