ปภ. เตือน 15 จังหวัด ระวังน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลาก

น้ำท่วมในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อค่ำ 19 ก.ย. จากเฟซบุ๊ก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แจ้งเตือนภัย พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก ในหลายพื้นที่ของ 15 จังหวัด

วันที่ 23 กันยายน 2564 เมื่อเวลา 08.30 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานสถานการณ์ ข้อมูลคาดการณ์และแจ้งเตือนภัย ประจำวันที่ 23 กันยายน 2564 โดยแจ้งพื้นที่เฝ้าระวังดังนี้

พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก

ภาคเหนือ

  1. เชียงใหม่ (อ.ฝาง)
  2. ลำปาง (อ.งาว สบปราบ เถิน)
  3. ตาก (อ.เมืองฯ สามเงา บ้านตาก แม่สอด แม่ระมาด)
  4. สุโขทัย (อ.เมืองฯ คีรีมาศ)
  5. กำแพงเพชร (อ.ปางศิลาทอง)
  6. พิษณุโลก (อ.วังทอง)
  7. เพชรบูรณ์ (อ.หล่มสัก)
  8. นครสวรรค์ (อ.แม่วงก์)
  9. อุทัยธานี (อ.บ้านไร่ ลานสัก)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  1. ชัยภูมิ (อ.เมืองฯ เกษตรสมบูรณ์)
  2. เลย (อ.ภูเรือ ท่าลี่)

ภาคกลาง

  1. สุพรรณบุรี (อ.ด่านช้าง)
  2. กาญจนบุรี (อ.เมืองฯ หนองปรือ ไทรโยค ศรีสวัสดิ์)
  3. จันทบุรี (อ.เมืองฯ ขลุง มะขาม)
  4. ตราด (อ.บ่อไร่ เขาสมิง)

พื้นที่เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง

ภาคเหนือ

  1. กำแพงเพชร (อ.พรานกระต่าย)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  1. นครราชสีมา (อ.โชคชัย ด่านขุนทด สูงเนิน โนนสูง)
  2. ชัยภูมิ (อ.เมืองฯ จัตุรัส เนินสง่า หนองบัวระเหว บ้านเขว้า)

ภาคกลาง

  1. พระนครศรีอยุธยา (อ.เสนา ผักไห่ บางบาล)

พื้นที่เฝ้าระวังดินถล่ม

ภาคเหนือ

  1. เชียงใหม่ (อ.อมก๋อย ฮอด ฝาง แม่อาย)
  2. ลำปาง (อ.งาว สบปราบ เถิน)
  3. ตาก (อ.แม่ระมาด ท่าสองยาง)

ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนติดตามข้อมูลสภาวะอากาศและข่าวสารจากทางราชการ พื้นที่เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ฝนตกหนัก ปริมาณฝนสะสม โดยเฉพาะพื้นที่ชุมชนเมือง อาจได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมขังระยะสั้นๆ พื้นที่ลุ่มต่ำ พื้นที่ลาดเชิงเขา อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งอาจเกิดดินถล่ม

พื้นที่ริมลำน้ำ อาจได้รับผลกระทบจากน้ำล้นตลิ่งและน้ำท่วมในระดับสูง ระวังอันตรายจากสัตว์และแมลงมีพิษ อันตรายจากกระแสไฟฟ้า รวมทั้งการขับขี่พาหนะบริเวณน้ำไหลผ่านเส้นทาง

ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อปพร. จิตอาสา เครือข่ายอาสาสมัคร องค์กรสาธารณกุศลได้เตรียมความพร้อมตามแผนเผชิญเหตุ เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ พร้อมประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้ให้กับชุมชน/หมู่บ้านในทุกช่องทาง ทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

เช่น สื่อสังคมออนไลน์ วิทยุชุมชน หอกระจายข่าวหรือเสียงตามสายประจำหมู่บ้าน เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบถึงแนวทางการปฏิบัติตนอย่างปลอดภัย

อ่านฉบับเต็ม รายงานแจ้งข่าวแจ้งเตือนสาธารณภัยประจำวันที่ 23 กย. 64