เปรียบเทียบโควิดโอไมครอน-สายพันธุ์อื่น แตกต่างกันอย่างไร

Lionel BONAVENTURE / AFP

เปรียบเทียบโคโรนา 5 เชื้อกลายพันธุ์ที่น่ากังวล ความสามารถในการแพร่เชื้อและแสดงอาการบางอย่าง ต่างอย่างไรกัน

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งพบเชื้อครั้งแรกที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ปัจจุบันเชื้อมีการกลายพันธุ์จำนวนมาก ซึ่งมี 5 สายพันธุ์ ที่องค์การอนามัยโลก จัดให้เป็นเชื้อกลายพันธุ์ที่น่ากังวล คือ สายพันธุ์อัลฟ่า (อังกฤษ) สายพันธุ์เบต้า (แอฟริกาใต้) สายพันธุ์แกมม่า (บราซิล) สายพันธุ์เดลต้า (อินเดีย) และสายพันธุ์ล่าสุด คือ สายพันธุ์โอไมครอน (แอฟริกาใต้)

ขณะที่อีก 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์แลมบ์ดา (เปรู) และสายพันธุ์มิว (โคลอมเบีย) ที่สร้างความกังวลก่อนหน้านี้ ยังเป็นสายพันธุ์ที่อยู่ในความสนใจ (Virant of Interest) ซึ่งมีความร้ายแรงต่ำกว่า

โควิดสายพันธุ์โอไมครอน

สายพันธุ์ B.1.1.529 หรือสายพันธุ์โอไมครอน มีรายงานการพบครั้งแรกในทวีปแอฟริกา ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รับรายงานการพบสายพันธุ์นี้เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2564

ปัจจุบัน “โอไมครอน” มีการพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนแล้วในทุกทวีป อย่างน้อย 32 ประเทศ และ 1 เขตปกครองพิเศษ (ข้อมูล ณ วันที่ 2 ธ.ค. 2564) ดังนี้

ทวีปแอฟริกา : แอฟริกาใต้, บอตสวานา, มาลาวี, เอสวาตินี, โมซัมบิก, ซิมบับเว, เลโซโท, นามิเบีย, กานา

ทวีปยุโรป : อิตาลี, สหราชอาณาจักร, เดนมาร์ก, เยอรมนี, เบลเยียม, เนเธอร์แลนด์, สวิตเซอร์แลนด์, ตุรกี, สาธารณรัฐเช็ก, โปรตุเกส, ออสเตรีย, สวีเดน, สเปน, นอร์เวย์

ทวีปเอเชีย : ฮ่องกง, อิสราเอล, ญี่ปุ่น, สิงคโปร์, เกาหลีใต้, ซาอุดีอาระเบีย, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

ทวีปอเมริกา : สหรัฐอเมริกา, แคนาดา

ทวีปโอเชียเนีย : ออสเตรเลีย

ศบค.เผยอาการเบื้องต้นของผู้ติดเชื้อโอไมครอนว่า ยังไม่พบว่ามีความแตกต่างกับสายพันธุ์อื่นมากนัก บางรายมีอาการปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ไม่สูญเสียการรับกลิ่น/รส อาการป่วยไม่รุนแรง นอกจากนี้ สายพันธุ์ชนิดนี้ อาจมีการหลบหลีกภูมิคุ้มกันได้อย่างมีนัยสำคัญ และพบว่ามีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้สูงขึ้น

โควิดสายพันธุ์อัลฟ่า

สายพันธุ์ B.1.1.7 หรือสายพันธุ์อัลฟ่า พบที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งมีการรายงานไปยังองค์การอนามัยโลกครั้งแรกในเดือนกันยายน 2563 โดยสายพันธุ์นี้สามารถกลายพันธุ์ได้ถึง 17 ตำแหน่ง โดยหนึ่งในจุดที่พบการกลายพันธุ์คือโปรตีนส่วนหนามของไวรัส ซึ่งทำให้เชื้อไวรัสจับกับเซลล์ของมนุษย์ได้ดีขึ้น แต่วัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบัน ยังสามารถต่อต้านสายพันธุ์นี้ได้

มีการพบการติดเชื้อในประเทศไทยครั้งแรก เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2564 โดยนายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยข้อมูลการรายงานขององค์กรสาธารณสุขประเทศอังกฤษ (Public Health England) และองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าสายพันธุ์อัลฟ่า (อังกฤษ) เป็นสายพันธุ์ที่มีการแพร่กระจายเชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมถึง 1.7 เท่า

อาการโควิดอัลฟ่า

  • มีไข้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
  • เจ็บคอ
  • หายใจหอบเหนื่อย
  • ปวดตามร่างกายและศีรษะ
  • การรับรสหรือการได้รับกลิ่นผิดปกติ

หากพบอาการข้างต้น ให้รีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจให้ได้ผลที่แน่ชัด

โควิดสายพันธุ์เบต้า

สายพันธุุ์ B.1.351 หรือสายพันธุ์เบต้า พบครั้งแรกที่แอฟริกา และมีการรายงานไปยังองค์การอนามัยโลกครั้งแรก เมื่อเดือนพฤษภาคม 2563 เป็นการกลายพันธุ์จากสายพันธุ์ที่พบในประเทศอังกฤษ ซึ่งอาจทำให้มีความสามารถในการหลบหนีภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์เดิมหรือแม้กระทั่งวัคซีนได้

พบการระบาดในประเทศไทยครั้งแรก ในพื้นที่ภาคใต้ จากอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส โดยได้รับเชื้อจากผู้ลักลอบเข้าเมือง และพบผู้ติดเชื้อครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2564

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า สายพันธุ์เบต้ามีการแพร่กระจายเชื้อไม่รวดเร็วเท่าสายพันธุ์เดลต้าและอัลฟ่า แต่อย่างไรก็ตาม สายพันธุ์เบต้าอาจทำให้เกิดอาการป่วยหรือเสียชีวิตได้มากกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม

อาการโควิดเบต้า

  • ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • เจ็บคอ
  • ท้องเสีย
  • ปวดศีรษะ
  • ตาแดง
  • การรับรสหรือการได้รับกลิ่นผิดปกติ
  • มีผื่นขึ้นบริเวณผิวหนัง หรือนิ้วมือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี

โควิดสายพันธุ์แกมม่า

สายพันธุ์ P.1 หรือสายพันธุ์แกมม่า (Gamma) ถูกพบที่ประเทศบราซิล มีการรายงานไปยังองค์การอนามัยโลกครั้งแรก เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2563 สายพันธุ์นี้มีความรุนแรงกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ เชื้อสามารถทะลุเข้าสู่เซลล์ได้อย่างง่ายดาย อีกทั้งยังสามารถเอาตัวรอดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ มีโอกาสที่จะติดเชื้อซ้ำได้ นอกจากนี้ยังพบว่าวัคซีนบางชนิดมีประสิทธิผลน้อยลง เมื่อต้องเผชิญกับเชื้อสายพันธุ์นี้

อาการโควิดแกมม่า

  • ปวดหัว
  • เจ็บคอ
  • มีน้ำมูก
  • ไม่ค่อยพบการสูญเสียการรับรส
  • อาการคล้ายเป็นหวัดธรรมดา

หากรู้สึกไม่สบาย คล้ายเป็นหวัด ให้สังเกตตัวเอง หากมีอาการน่าสงสัยให้รีบไปพบแพทย์

โควิดสายพันธุ์เดลต้า

สายพันธุ์ B.1.617.2 หรือสายพันธุ์เดลต้า ถูกพบครั้งแรกในประเทศอินเดีย รายงานไปยังองค์การอนามัยโลกครั้งแรก เมื่อเดือนตุลาคม 2563 สายพันธุ์นี้มีความแตกต่างจากสายพันธุ์อื่น เนื่องจากพบการกลายพันธุ์คู่ ที่อาจทำให้ไวรัสติดต่อได้ง่ายขึ้น หรือหลบระบบป้องกันในร่างกายมนุษย์ได้ดีขึ้น 

โควิดสายพันธุ์เดลต้า ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์รายงานเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา พบผู้ติดเชื้อจำนวน 661 ราย โดยโควิดสายพันธุ์นี้ถูกค้นพบครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย พบการแพร่กระจายไปแล้วกว่า 92 ประเทศทั่วโลก อีกทั้งยังถูกจับตามองว่าเป็นโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่จะมาแทนที่สายพันธุ์อัลฟ่าที่กำลังเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดในประเทศไทยในขณะนี้

ส่วนการพบเชื้อในประเทศไทยครั้งแรกที่บ้านพักคนงานย่านหลักสี่ ข้อมูลผู้ติดเชื้อจากการรายงานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (22 มิ.ย.) พบผู้ติดเชื้อจำนวน 661 ราย โดยจังหวัดที่พบมากสุด คือกรุงเทพมหานคร

อาการโควิดเดลต้า

  • ปวดหัว
  • เจ็บคอ
  • มีน้ำมูก
  • ไม่ค่อยพบการสูญเสียการรับรส
  • อาการคล้ายเป็นหวัดธรรมดา

หากรู้สึกไม่สบาย คล้ายเป็นหวัด ให้สังเกตตัวเอง หากมีอาการน่าสงสัยให้รีบไปพบแพทย์

อัลฟ่า

เบต้า แกมม่า เดลต้า โอไมครอน

ลักษณะอาการ

อาการคล้ายกันไม่สามารถบอกสายพันธุ์อาการเพียงอย่างเดียวได้

เบื้องต้นบังไม่พบว่ามีความแตกต่างบางรายระบุว่ามีอาการปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ไม่สูญเสียการรับกลิ่น/รส ซึ่งอาการป่วยไม่รุนแรง

ความเร็วในการแพร่โรค

เพิ่มขึ้น 50-75% เพิ่มขึ้น50% เพิ่มขึ้น2.5 เท่า เพิ่มขึ้นจากสายพันธุ์อัลฟ่า 60%

คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากสามารถแทนที่สายพันธุ์เดลต้าในประเทศแอฟริก้าใต้ ได้อย่างรวดเร็ว

โอกาสการติดเชื้อแบบทวีคูณ

1.74 ~1.1 2.6 5.08

คาดว่าจะเพิ่มขึ้นกว่า Wild Type ยังไม่มีข้อมูลที่หลักฐานยืนยัน

ความรุนแรง

น่าจะเพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น

ยังไม่มีข้อมูล ผู้เชียวชาญระบุว่า “วัคซีนไม่สามารถป้องกันอาการรุนแรงได้”

ระยะฟักตัว

เฉลี่ย 5-6 วัน

เฉลี่ย 4.3วัน

ยังไม่มีข้อมูล

ผลต่อความคุ้มกัน

ไม่มี-น้อยมาก ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง

อาจหลบหลีกภูมิคุ้มกันได้ อย่างมีนัยสำคัญ พบว่ามีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้สูงขึ้น

ประสิทธิผลของวัคซีน

J&J 57-72%

Novavax 40-60%

Pz & Moderna 61% Pz 96%

AZ 92%

ยังไม่มีข้อมูล