
รู้หรือไม่ การกำจัดสุกรติดโรคระบาด ไม่สามารถทำได้โดยพลการ แต่ต้องปฏิบัติตามหลักการุณยฆาต
วันที่ 14 มกราคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โลกออนไลน์แห่แชร์ภาพซากหมูที่คาดว่าติดเชื้อโรค ASF ถูกยัดเต็มโอ่ง ไม่กี่วันหลังจากกรมปศุสัตว์เพิ่งออกมายอมรับอย่างเป็นทางการว่า พบการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ที่โรงฆ่าสัตว์แห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม
- EV จีนทุบราคาเลือดสาด ฉางอานท้ารบ-BYD เกทับลดอีกแสน
- รู้จัก น้ำมัน EURO 5 เริ่มใช้ 1 ม.ค. 67 มีผลกับค่าการตลาดน้ำมันอย่างไร
- เช็กเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท เงินเข้าบัญชีวันนี้ 38 จังหวัด
เป็นเหตุให้ในสังคมมีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่า มีความพยายามปกปิดข่าวการระบาดหรือไม่ ขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิเสธข้อกล่าวหานี้มาโดยตลอด
อย่างไรก็ตาม การทำลายซากสัตว์ติดโรคนั้น ไม่สามารถกระทำโดยพลการ เนื่องจากมีการกำหนดหลักเกณฑ์ค่าชดเชย และวิธีการ ซึ่ง “ประชาชาติธุรกิจ” ได้รวบรวมขั้นตอนการทำลายสุกรและซากสุกรที่ถูกต้อง ที่ถูกกำหนดไว้ในแผนเตรียมความพร้อมเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค ASF กับการจ่ายค่าชดเชยหากมีการทำลายสุกรเกิดขึ้น ดังนี้
วิธีทำลายสุกรตามหลักการุณยฆาต
ข้อมูลจากกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบุถึงการทำลายสุกรตามหลักการการุณยฆาต มี 2 วิธี ดังนี้
จัดการด้วยวิธีทางเคมี
1. ฉีดด้วย Suxamethonium Chloride ขนาด 5 mg/kg เข้ากล้ามเนื้อ และ Barbiturate หรืออนุพันธ์ของ Barbituric Acid เข้าเส้นเลือดดำ
2. รมด้วย (CO2/CO/Argon/Argonผสม CO2/N2 ผสม CO2) มักใช้ในสุกรที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 30 กิโลกรัม
จัดการด้วยวิธีทางกายภาพ
1. การใช้ปืนยิง และ Penetrating Captive Blot สามารถใช้กับลูกสุกรดูดนมได้โดยยิงเข้าที่กะโหลก
ศีรษะส่วนหน้า
2. การช็อตด้วยไฟฟ้าบริเวณสมองและหัวใจ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดควรตามด้วยการแทงสมอง
ด้วยเหล็กแหลม
3. การทุบที่กะโหลกอย่างรุนแรง สำหรับลูกสุกรดูดนมเท่านั้น เนื่องจากกะโหลกศีรษะส่วนหน้าพัฒนา
ไม่เต็มที่ (Frontal Bone)
วิธีการกำจัดซากสุกร
การกำจัดซากเพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายโรคและโอกาสที่เชื้อจะปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมดำเนินการ ดังนี้
1. บริเวณที่จะฝังสัตว์หรือซากสัตว์ควรอยู่ในบริเวณฟาร์มที่เกิดโรคเพื่อลดโอกาสการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสออกไปนอกบริเวณ เป็นพื้นที่ดอนที่น้ำท่วมไม่ถึงและห่างจากแหล่งน้ำธรรมชาติหรือไกลจากชุมชน
2. หลุมที่จะฝังสัตว์หรือซากสัตว์ควรมีความลึกเพียงพอ โดยให้ส่วนบนสุดของซากสัตว์ที่จะถูก
ทำลายทับซ้อนกันสูงจากก้นหลุมไม่ควรเกิน 2.5 เมตร
3. ฝังซากสัตว์โดยให้ส่วนบนสุดของซากสัตว์อยู่ใต้ระดับผิวดินไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร และพูนดินกลบหลุมให้สูงกว่าระดับผิวดินไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร
4. พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคเพื่อกำจัดเชื้อไวรัสที่อาจปนเปื้อนหลงเหลือในสิ่งแวดล้อมขณะดำเนินการ
5. โรยปูนขาว (slaked lime-CaOH2) หรือเกลือคลอรีน (chlorinated lime-CaCl2) เพื่อฆ่าเชื้อโรคกำจัดกลิ่นให้ทั่วบริเวณที่ฝังกลบ อาจล้อมรั้ว กั้นเชือกโดยรอบหรือเทปเครื่องหมายห้ามเข้าเพื่อป้องกันการบุกรุกเข้ามาในพื้นที่
6. ทำการตรวจสอบดูแลพื้นที่เกิดโรคและที่ฝังสุกรเป็นระยะ โดยเฉพาะในช่วงแรกที่ซากสัตว์ยังไม่เสื่อมสภาพหรือดูแลแก้ไขปัญหา เช่น การจัดการแมลงรบกวน กลิ่นเหม็นเน่าที่เกิดขึ้น เป็นต้น
ทำลายสุกรและซากสุกรได้ครั้งละกี่ตัว
ตามมาตรา 13 (4) แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 ให้สัตวแพทย์มีอำนาจสั่งทำลายสุกรหรือ
ซากสุกรได้โดยให้ปฏิบัติตามประกาศกรมปศุสัตว์ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการทำลายสัตว์ที่เป็นโรคระบาด หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคระบาด หรือสัตว์หรือซากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด พ.ศ. 2562 ซึ่งกำหนดให้ อำนาจในการทำลายสุกรในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบตามแต่ละตำแหน่งได้ไม่เกินจำนวน ดังต่อไปนี้
1. ผู้อำนวยการสำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ หรือผู้อำนวยการกองสารวัตรและกักกัน
มีอำนาจสั่งทำลายสัตว์ทั่วราชอาณาจักร สุกรรายละไม่เกิน 10,000 ตัว
2. ปศุสัตว์เขต มีอำนาจสั่งทำลายสัตว์ในพื้นที่เขตที่รับผิดชอบ สุกรรายละไม่เกิน 5,000 ตัว
3. ปศุสัตว์จังหวัด มีอำนาจสั่งทำลายสัตว์ในพื้นที่จังหวัดที่รับผิดชอบ สุกรรายละไม่เกิน 2,000 ตัว
4. หัวหน้าด่านกักกันสัตว์ มีอำนาจสั่งทำลายสัตว์ในด่านกักกันสัตว์หรือสถานกักกันสัตว์ที่อยู่ภายใต้ความรับ
ผิดชอบของด่านกักกันสัตว์นั้นๆ สุกรรายละไม่เกิน 1,000 ตัว
5. ปศุสัตว์อำเภอ มีอำนาจสั่งทำลายสัตว์ในพื้นที่อำเภอที่รับผิดชอบสุกรรายละไม่เกิน 1,000 ตัว
ทั้งนี้การสั่งทำลายสุกรจำนวนที่เกินกว่าอำนาจของผู้อำนวยการสำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ หรือผู้อำนวยการกองสารวัตรและกักกัน ให้เป็นอำนาจของอธิบดีกรมปศุสัตว
เงื่อนไขจ่ายชดเลยการทำลายสุกร
อย่างไรก็ตาม การทำลายสุกรนั้น ผู้เลี้ยงสุกรจะต้องได้รับเงินค่าชดเชย ตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 โดยจะจ่ายในราคาไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของราคาสุกรหรือซากสุกรที่ประเมินในท้องตลาด โดยเงื่อนไขเบื้องต้นของการได้รับค่าชดใช้การทำลายสัตว์ โดยฟาร์มเลี้ยงสัตว์ต้องมีการปฏิบัติตามกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติ โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 ดังนี้
1. เกษตรกรต้องดำเนินการแจ้งโรคต่อสัตวแพทย์ในท้องที่ ภายในเวลา 12 ชั่วโมง ตามมาตรา 11
แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์พ.ศ. 2558
2. มีระบบการป้องกันและควบคุมโรค ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 ซึ่งมี
ดังนี้
- ทำเครื่องหมายประจำตัวสัตว์และขึ้นทะเบียนผู้เลี้ยงสัตว์
- การดูแลสุขภาพสัตว์โดยการถ่ายพยาธิสัตว์ตามที่กรมปศุสัตว์กำหนด
- การให้วัคซีนป้องกันโรคให้แก่สัตว์ตามที่กรมปศุสัตว์กำหนด
- การจดบันทึกข้อมูลการให้วัคซีน การตรวจ และการรักษาโรค
- การป้องกันโรคด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ
- การทราบแหล่งที่มา
จ่ายเงินชดเชยแล้ว 560 ล้านบาท
ขณะที่ตัวเลขการรายงานจำนวนเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูล่าสุด มีจำนวนทั้งสิ้น 187,272 ราย แบ่งเป็น
- เกษตรกรรายย่อย 184,091 ราย : เลี้ยงหมูขุน 2,246,332 ตัว, หมูพันธุ์ 390,993 ตัว และลูกหมู 689,562
- เกษตรกรรายใหญ่ 3,181 ราย : เลี้ยงหมูขุน 5,746,265 ตัว, หมูพันธุ์ 683,998 ตัว และลูกหมู 1,532,035 ตัว โดยกระทรวงเกษตรฯได้ประเมินความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากโรค ASF ไว้ดังต่อไปนี้
กรณีเกิดโรคร้อยละ 30 ของหมูที่เลี้ยง เกษตรกรจะเกิดความเสียหายเป็นจำนวนเงิน 16,678,497,000 บาท
กรณีเกิดโรคร้อยละ 50 ของหมูที่เลี้ยง จะเสียหาย 27,792,723,500 บาท
กรณีเกิดโรคร้อยละ 80 ของหมูที่เลี้ยงจะเสียหาย 44,468,357,600 ล้านบาท
กรณีเกิดโรคร้อยละ 100 จะเสียหายคิดเป็นมูลค่า 55,585,447,000 บาท
โดยข้อมูลตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2562 ถึง ธันวาคม 2563 มีการดำเนินการจ่ายเงินชดเชยความเสียหายให้กับผู้เลี้ยงตามแผนรับมือโรค ASF คิดเป็นจำนวนหมู 122,631 ตัว มูลค่า 467 ล้านบาท
ปีงบประมาณ 2564 คิดเป็นจำนวนหมู 19,760 ตัว มูลค่า 93 ล้านบาท