รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ เชื่อม 3 จังหวัด เช็กพื้นที่ก่อสร้าง วางแผนการจราจร

รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้

เช็กพื้นที่ก่อสร้างแนวเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ เชื่อมต่อ 3 จังหวัด คาดเปิดใช้งานปี 2570 

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่รอคอยของชาวฝั่งธนบุรี สำหรับ “รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้” หรือ “สายสีม่วง ส่วนต่อขยายช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ” ที่คาดว่าจะก่อสร้างเสร็จในปี 2570 และประชาชนจะสามารถใช้บริการเพื่อเดินทางได้ถึง 3 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ

ล่าสุด การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดข้อเสนอซองที่ 3 (ด้านราคา) การประกวดราคาจ้างก่อสร้างงานโยธา โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา

ปรากฏผลการยื่นข้อเสนอซองที่ 3 (ด้านราคา) ทั้งหมด 6 สัญญา พร้อมระยะทางการก่อสร้างที่อาจจะมีผลกระทบต่อเส้นทางการจราจรในพื้นที่ดังกล่าว ดังนี้

ช่วงเตาปูน-หอสมุดแห่งชาติ

  • สัญญาที่ 1 งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงเตาปูน-หอสมุดแห่งชาติ
  • ราคากลาง 19,458,167,648 บาท (รวม VAT และ ค่า Provisional Sum)
  • ผู้ร่วมเสนอราคาต่ำสุด : บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)) เสนอราคา 19,433,000,000 บาท
  • ผู้ร่วมเสนอราคารองลงมา : บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จํากัด (มหาชน) เสนอราคา 19,442,218,452 บาท

ช่วงหอสมุดแห่งชาติ-ผ่านฟ้า

  • สัญญาที่ 2 งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงหอสมุดแห่งชาติ – ผ่านฟ้า
  • ราคากลาง 15,896,993,873 บาท (รวม VAT และ ค่า Provisional Sum)
  • ผู้ร่วมเสนอราคาต่ำสุด : บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)) เสนอราคา 15,880,000,000 บาท
  • ผู้ร่วมเสนอราคารองลงมา : บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จํากัด (มหาชน) เสนอราคา 15,889,202,393 บาท และ บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จํากัด (มหาชน) เสนอราคา 15,891,000,000 บาท

ช่วงผ่านฟ้า-สะพานพุทธ

  • สัญญาที่ 3 งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงผ่านฟ้า – สะพานพุทธ
  • ราคากลาง 15,137,892,295 บาท (รวม VAT และ ค่า Provisional Sum)
  • ผู้ร่วมเสนอราคาต่ำสุด : บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)) เสนอราคา 15,118,000,000 บาท
  • ผู้ร่วมเสนอราคารองลงมา : บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน)) เสนอราคา 15,109,386,314 บาท และบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จํากัด (มหาชน) เสนอราคา 15,132,000,000 บาท

ช่วงสะพานพุทธ-ดาวคะนอง

  • สัญญาที่ 4 งานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงสะพานพุทธ – ดาวคะนอง
  • ราคากลาง 15,012,703,092 บาท (รวม VAT และ ค่า Provisional Sum)
  • ผู้ร่วมเสนอราคาต่ำสุด : บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)) เสนอราคา 14,990,000,000 บาท
  • ผู้ร่วมเสนอราคารองลงมา : บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จํากัด (มหาชน) เสนอราคา 14,990,276,879 บาท และ บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จํากัด (มหาชน) เสนอราคา 14,982,000,000 บาท

ช่วงดาวคะนอง-ครุใน

  • สัญญาที่ 5 งานก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งและสถานียกระดับ ช่วงดาวคะนอง – ครุใน อาคารจอดรถไฟฟ้า (Stabling Yard) และอาคารจอดแล้วจร (Park & Ride)
  • ราคากลาง 13,170,589,710 บาท (รวม VAT และ ค่า Provisional Sum)
  • ผู้ร่วมเสนอราคาต่ำสุด : บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)) เสนอราคา 13,159,000,000 บาท
  • ผู้ร่วมเสนอราคารองลงมา : บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จํากัด (มหาชน) เสนอราคา 13,139,879,547 บาท และ บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จํากัด (มหาชน) เสนอราคา 13,161,000,000 บาท

ระบบรางตลอดแนวเส้นทาง

  • สัญญาที่ 6 งานออกแบบและก่อสร้างระบบรางตลอดแนวเส้นทางโครงการ
  • ราคากลาง 3,618,108,580 บาท (รวม VAT และ ค่า Provisional Sum)
  • ผู้ร่วมเสนอราคาต่ำสุด : บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)) เสนอราคา 3,605,000,000 บาท
  • ผู้ร่วมเสนอราคารองลงมา : บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จํากัด (มหาชน) เสนอราคา 3,591,363,980 บาท

แนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้

โครงการช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ-ครุใน เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากการปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง พ.ศ. 2538 มาสู่แผนแม่บทฯ พ.ศ. 2547 โดยแก้ไขแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มเดิม (บางกะปิ-สามเสน-ราษฎร์บูรณะ) ช่วงสามเสน (หอสมุดแห่งชาติ)-ราษฎร์บูรณะ และแนวเส้นทางสายสีม่วงเดิม (หอสมุดแห่งชาติ-เตาปูน-บางพูด) ช่วงเตาปูน-หอสมุดแห่งชาติ นำมารวมกันเป็นเส้นทางสายสีม่วงที่เกิดขึ้นใหม่ และไปเชื่อมต่อกับเส้นทางสายสีม่วงส่วนแรกในช่วงบางใหญ่-เตาปูน

รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดหนัก (Heavy Rail Transit) มีความจุประมาณ 320 คนต่อตู้ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ไม่น้อยกว่า 50,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง

17 สถานี รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้

มีทั้งสิ้น 17 สถานี แบ่งเป็นใต้ดิน 10 สถานี (ตั้งแต่สถานีรัฐสภาถึงสถานีสำเหร่) ยาวประมาณ 250 เมตร กว้าง 20 เมตร มีประตูกั้นชานชาลา (Platform Screen Doors)

และสถานียกระดับ 7 สถานี (ตั้งแต่สถานีดาวคะนองถึงสถานีครุใน) ยาวประมาณ 250 เมตร กว้าง 18 เมตร มีประตูกั้นชานชาลา (Platform Screen Doors) ที่สูงขึ้นมาจากพื้นระดับหนึ่ง (half height)

สถานีใต้ดิน 10 สถานี

1. สถานีรัฐสภา : เชื่อมกับอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ อยู่ระหว่างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ และ ม.พัน 4 รอ.
2. สถานีศรีย่าน : ตั้งอยู่ด้านหน้ากรมชลประทาน
3. สถานีวชิรพยาบาล : ตั้งอยู่ด้านหน้าโรงพยาบาลวชิรพยาบาล
4. สถานีหอสมุดแห่งชาติ : ตั้งอยู่หน้าหอสมุดแห่งชาติ และสมาเก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย
5. สถานีบางขุนพรหม : ตั้งอยู่หน้าวัดเอี่ยมวรนุช
6. สถานีผ่านฟ้า : ตั้งอยู่บริเวณใกล้ทางเชื่อมสถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยองสายสีส้มศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์
7. สถานีสามยอด : ตั้งอยู่ใกล้แยกสามยอด เป็นสถานีร่วมของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-บางแค
8. สถานีสะพานพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช : ตั้งอยู่บริเวณก่อนถึงสี่แยกบ้านแขก
9. สถานีวงเวียนใหญ่ : ตั้งอยู่ใกล้กับวงเวียนใหญ่ จุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงยศเส-บางหว้า และรถไฟฟ้าสายสีแดงหัวลำโพง-มหาชัย
10. สถานีสำเหร่ : ตั้งอยู่ใกล้ตลาดสำเหร่ และโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า

สถานียกระดับ 7 สถานี

11. สถานีดาวคะนอง : ตั้งอยู่ระหว่างซอยสุขสวัสดิ์ 12 กับซอย 14
12. สถานีบางปะแก้ว
13. สถานีบางปะกอก : ตั้งอยู่ระหว่างซอยสุขสวัสดิ์ 23 และซอย 25
14. สถานีแยกประชาอุทิศ : ตั้งอยู่ด้านหน้าซอยสุขสวัสดิ์ 44
15. สถานีราษฎร์บูรณะ : ตั้งอยู่กลางถนนสุขสวัสดิ์ คร่อมคลองแจงร้อน
16. สถานีพระประแดง : ตั้งอยู่ใกล้กับถนนวงแหวนอุตสาหกรรมสามแยกพระประแดง
17. สถานีครุใน : ตั้งอยู่ปากซอยสุขสวัสดิ์ 70