ศบค.เผย 10 อันดับจังหวัดติดโควิดมากสุด กทม.นำโด่ง 3,000 ราย

ตรวจโควิด
FILE PHOTO by NOAH SEELAM / AFP

ศบค. เปิดอันดับ 10 จังหวัดติดโควิดมากสุด กทม. ยอดป่วยพุ่ง 3,018 ราย ชลบุรีแซงขึ้นอันดับ 2 ปัดนนทบุรียอดเริ่มลดตกไปอันดับ 5 

วันที่ 2 มีนาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโคโรนา 2019 (ศบค.) รายงาน 10 อันดับจังหวัดที่พบผู้ติดเชื้อมากที่สุดประกอบด้วย อันดับที่ 1 กรุงเทพมหานคร พบติดเชื้อมากสุด 3,018 ราย ยอดติดเชื้อสะสม 104,752 ราย อันดับ 2 จ.ชลบุรี 1,134 ราย อันดับ 3 จ.สมุทรปราการ 986 ราย อันดับ 4 จ.ภูเก็ต 688 ราย อันดับ 5 จ.นนทุบรี 682 ราย

อันดับ 6 จ.สมุทรสาคร 678 ราย อันดับ 7 จ.นครศรีธรรมราช 632 ราย อันดับ 8 จ.นครราชสีมา 609 ราย  อันดับ 9 จ.ราชบุรี 591 ราย และอันดับ 10 จ.บุรีรัมย์ 503 ราย

เช็กยอดการฉีดวัคซีน

ด้านการรายงานผลการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย ข้อมูลล่าสุดวันที่ 1 มีนาคม 2565 เวลา 18.00 น. มีดังนี้

จำนวนฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 เพิ่มขึ้น 79,567 ราย สะสม 53,657,591 ราย

จำนวนฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 เพิ่มขึ้น 31,045 ราย สะสม 49,770,051 ราย

จำนวนฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 เพิ่มขึ้น 116,085 ราย สะสม 20,608,9047 ราย

ติดเชื้อรายใหม่วันนี้ เพิ่ม 22,197 ราย ตายอีก 45 ราย

ขณะที่การรายงานยอดติดเชื้อประจำวันตั้งแต่เมื่อช่วงเช้า พบผู้ป่วยรายใหม่ เพิ่มขึ้น 22,197 ราย แบ่งเป็นติดเชื้อในประเทศ 21,858 ราย ติดเชื้อจากต่างประเทศ 118 ราย จากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 221 ราย

ผู้ป่วยยืนยันสะสม 711,109 ราย หายป่วยรายใหม่เพิ่ม 19,093 ราย สะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 2 มีนาคม รวม 524,245 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 45 ราย รวมเสียชีวิตสะสมแล้ว 1,323 ราย

ผู้ป่วยที่กำลังรักษาจำนวน 214,784 ราย รักษาใน รพ. 77,444 ราย รักษา รพ.สนาม และอื่น ๆ 141,340 ราย ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยอาการหนัก 1,094 ราย โดยใส่เครื่องช่วยหายใจ 310 ราย

ข้อมูลผู้เสียชีวิตรายใหม่ 45 รายประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร 1 ราย นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร รวม 6 ราย บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ นครราชสีมา อุบลราชธานี รวม 8 ราย เชียงราย แพร่ เชียงใหม่ ตาก สุโขทัย รวม 8 ราย

ภูเก็ต กระบี่ ชุมพร พัทลุง สุราษฎร์ธานี ปัตตานี นครศรีธรรมราช นราธิวาส สงขลา รวม 14 ราย และชลบุรี จันทบุรี พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี และสุพรรณบุรี รวม 8 ราย

ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ อายุ 60 ปีขึ้นไป รวม 33 ราย คิดเป็น 73% รองลงมาอายุน้อยกว่า 60 ปี รวม 12 ราย คิดเป็น 27% แบ่งเป็นผู้ที่มีโรคเรื้อรัง 10 ราย และไม่มีประวัติโรคเรื้อรัง 2 ราย