ย้อนสถิติเสียชีวิตจากโควิด นิวไฮ 74 ราย มากสุดในรอบปี 2565

โควิด

เปิดสถิติตัวเลขผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ตั้งแต่ 1-10 มี.ค. 2565 ทำนิวไฮมากสุด 74 สูงสุดในรอบปี 2565 

วันที่ 10 มีนาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ตั้งแต่ต้นปี 2565 มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากรวมจำนวนผู้ป่วยในระบบและเข้าข่ายติดเชื้อ ATK รายวัน รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 7 หมื่นรายต่อวัน (ข้อมูลล่าสุดวันที่ 10 มี.ค.)

เช่นเดียวกับจำนวนผู้เสียชีวิต พบว่าตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระทั่งในช่วงเดือนมีนาคม ทำสถิติใหม่ เสียชีวิตวันเดียว 74 คน (ข้อมูลล่าสุดวันที่ 10 มี.ค.) ซึ่งเป็นจำนวนที่มากที่สุดตั้งแต่ปี 2565

“ประชาชาติธุรกิจ” พาย้อนดูสถิติผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1-10 มีนาคม 2565 ดังนี้

เสียชีวิตจากโควิดเดือนมีนาคม

  • วันที่ 1 มีนาคม 2565 : ผู้ติดเชื้อ 20,420 ราย : เสียชีวิต 43 ราย
  • วันที่ 2 มีนาคม 2565 : ผู้ติดเชื้อ 22,197 ราย : เสียชีวิต 45 ราย
  • วันที่ 3 มีนาคม 2565 : ผู้ติดเชื้อ 23,618 ราย : เสียชีวิต 49 ราย
  • วันที่ 4 มีนาคม 2565 : ผู้ติดเชื้อ 23,834 ราย : เสียชีวิต 54 ราย
  • วันที่ 5 มีนาคม 2565 : ผู้ติดเชื้อ 22,818 ราย : เสียชีวิต 52 ราย
  • วันที่ 6 มีนาคม 2565 : ผู้ติดเชื้อ 21,881 ราย : เสียชีวิต 59 ราย
  • วันที่ 7 มีนาคม 2565 : ผู้ติดเชื้อ 21,162 ราย : เสียชีวิต 65 ราย
  • วันที่ 8 มีนาคม 2565 : ผู้ติดเชื้อ 18,943 ราย : เสียชีวิต 69 ราย
  • วันที่ 9 มีนาคม 2565 : ผู้ติดเชื้อ 22,073 ราย : เสียชีวิต 69 ราย
  • วันที่ 10 มีนาคม 2565 : ผู้ติดเชื้อ 22,984 ราย : เสียชีวิต 74 ราย

เปิดตัวเลขเสียชีวิตสะสม ปี 256-2565

ศูนย์ข้อมูล COVID-19 ของรัฐบาล และศูนย์ EOC กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รายงานข้อมูลการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 มีจำนวนสะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 9 มีนาคม 2565 อยู่ที่ 1,740 ราย

ส่วนตัวเลขผู้เสียชีวิตสะสมปี 2564 อยู่ที่ 21,604 ราย และตัวเลขผู้เสียชีวิตสะสมปี 2563 อยู่ที่ 21,698 ราย  โดยเมื่อนำจำนวนผู้เสียชีวิตสะสมปี 2565 มาเปรียบเทียบกับผู้เสียชีวิตสะสมในปี 2563 และ 2564 พบว่า

  • เสียชีวิตปี 2465 คิดเป็น 8.01% ของปี 2563
  • เสียชีวิตปี 2565 คิดเป็น 8.05% ของปี 2564

ปัจจัยเสี่ยงการเสียชีวิต

สำหรับปัจจัยเสี่ยงในการเสียชีวิตส่วนใหญ่ยังคงเป็นผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวใน 7 กลุ่มโรคเสี่ยง ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน

นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุจากการได้รับเชื้อจากคนรู้จัก คนในครอบครัว อาศัยในพื้นที่ที่มีการระบาด และยังมีผู้เสียชีวิตจากในเรือนจำอีกด้วย