เทคโนโลยีเปลี่ยนอะไรบ้าง “เดลล์” ทำนายอนาคต 2018

รายงาน “ยุคหน้าของความร่วมมือระหว่างมนุษย์และจักรกล” (Next Era of Human-Machine Partnership) ของเดลล์ เทคโนโลยีส์ และสถาบันเพื่ออนาคต (Institute for the Future : IFTF) นั้น ผู้นำของเดลล์ได้แบ่งปันถึงผลกระทบของเทคโนโลยี AI, AR, VR, IOT และคลาวด์ คอมพิวติ้ง ที่จะเปลี่ยนองค์กร และการใช้ชีวิตของทุกคนไปสู่ดิจิทัลในปี 2018

ขณะที่สถาบันเพื่ออนาคตคาดการณ์ว่า เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคหน้าของความร่วมมือระหว่างมนุษย์และเครื่องกล โดยในปัจจุบันและอนาคตในปี 2030 มนุษย์และเครื่องกลจะทำงานใกล้ชิดกันมากขึ้น และเข้ามาเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิต ซึ่งปัจจุบันกำลังก้าวเข้าสู่บทใหม่ของการทำงานร่วมกันอย่างสมบูรณ์ในรูปแบบที่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานมากขึ้นมหาศาลเป็นหนึ่งเดียว และสร้างความเป็นไปได้มากกว่าที่ผ่านมา

“อโณทัย เวทยากร” รองประธานบริหาร เดลล์ อีเอ็มซี ภูมิภาคอินโดจีน กล่าวว่า หลายศตวรรษมาแล้วที่คนเราใช้ชีวิตและทำงานร่วมกับเครื่องจักร แต่ในปี 2018 จะเข้ามาสู่การดำเนินชีวิต และเปลี่ยนรูปแบบทุกสิ่ง ตั้งแต่วิถีการดำเนินธุรกิจ การจัดลำดับความสำคัญที่มีต่อการรักษาความปลอดภัย ไปจนถึงรูปแบบการให้บริการด้านความบันเทิง

เทคโนโลยีใหม่อย่างปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) เทคโนโลยีการผสานสภาพแวดล้อมจริงกับวัตถุเสมือน (Augmented Reality : AR) เทคโนโลยีการจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริง (Virtual Reality : VR) ไปจนถึงอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (IOT) และคลาวด์ คอมพิวติ้ง ที่สร้างความเป็นไปได้จากการพัฒนาทั้งซอฟต์แวร์ การวิเคราะห์ (analytics) และพลังที่ใช้ในการประมวลผล ล้วนเป็นปัจจัยที่เร่งไปสู่ทิศทางดังกล่าว ดูได้จากรถยนต์อัจฉริยะ (connected cars), บ้าน, ธุรกิจ และการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือกระทั่งการที่เกษตรกรเปลี่ยนรูปแบบการจัดการพืชผลและการดูแลปศุสัตว์ อะไรจะเกิดขึ้นต่อไป

AI จัดการ “งานที่ใช้ความคิด”

อีกไม่กี่ปีข้างหน้า AI จะเปลี่ยนรูปแบบการที่เราใช้เวลากับข้อมูล ธุรกิจต่าง ๆ จะควบคุม AI ให้ “ทำงานที่ต้องใช้ความคิด” (thinking tasks) วิเคราะห์ข้อมูลที่มีเพื่อลดเวลาที่ต้องใช้ในการกำหนดขอบเขตด้านข้อมูล การถกประเด็น สำหรับการวางแผนสถานการณ์ในอนาคต (scenario planning) และการทดสอบทุกนวัตกรรม โดย AI ช่วยลดปัญหาคอขวดที่เป็นอุปสรรค และให้อิสระกับผู้คนเพื่อตัดสินใจได้มากขึ้น และเร็วขึ้น

การมีข้อมูลความรู้ช่วยให้แผนการ หรือโครงการใหม่ ๆ ไม่ติดขัด ซึ่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และญี่ปุ่นจะเป็นผู้นำนวัตกรรม AI และเริ่มมองเห็นตัวอย่างที่เป็นจริง

AI จะเข้ามาแทนที่การทำงานในส่วนต่าง ๆ ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ เช่น การเกิดขึ้นของผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีในแขนงใหม่ที่มุ่งไปที่การฝึกอบรม AI และปรับรูปแบบการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการ โดยภูมิภาคนี้จะเป็นแหล่งรวบรวมทักษะความสามารถ โดย AI มีอิทธิพลเหนือทักษะต่าง ๆ ซึ่งนักปฏิบัติเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำหนดตัวแปรว่าอะไรคือสิ่งที่ควรหรือไม่ควร จัดหมวดหมู่ไว้ในด้านผลลัพธ์ที่ดีทางธุรกิจ และตัดสินใจในด้านกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

เมื่อทั้งหมดเข้าที่ เทคโนโลยีจะชี้แนะโอกาสเชิงบวกในการดำเนินธุรกิจด้วยความเร็วสูงสุด ดูได้จากการใช้ AI ในการประมวลผลทางความคิดในธุรกิจดูแลสุขภาพ การเกษตรกรรม ไปจนถึงบริการการเงิน ดังนั้นความท้าทายจะอยู่กับองค์กรที่ต้องพิสูจน์ให้เห็นคุณค่าเชิงธุรกิจของเทคโนโลยีต่าง ๆ ด้าน AI รวมทั้งต้องมั่นใจได้ มีโครงสร้างพื้นฐานที่ถูกต้อง และมีบุคลากรที่มีความสามารถอยู่ในมือ


เพิ่มความฉลาด (IQ) ให้สรรพสิ่ง

ในปี 2018 มีการฝัง (embed) สิ่งที่เป็นความฉลาด (intelligence) ไว้ในเมือง, องค์กร, บ้านเรือน และยานพาหนะ ยกระดับไปสู่ศักยภาพด้าน IoT ด้วยราคาของพลังการประมวลผลที่ลดลง พร้อมทั้งโหมดที่เชื่อมต่อกันที่ลดลงจนเกือบเป็น 0 เหรียญสหรัฐ มีอุปกรณ์เชื่อมต่อนับแสนล้านชิ้นในไม่ช้า และเป็นล้านล้านชิ้น

ข้อมูลปริมาณมหาศาลที่เอามารวมกัน การประมวลผลด้วยพลังของ AI ช่วยให้เครื่องกลควบคุมทรัพยากรทางกายภาพ รวมถึงทรัพยากรมนุษย์ดีขึ้น และพัฒนาไปสู่ “การเป็นผู้ควบคุมดิจิทัล” สำหรับเทคโนโลยี และสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบตัว ทุกสิ่งจะทำงานได้อย่างฉลาด และช่วยให้ใช้ชีวิตสมาร์ทขึ้น

ที่เริ่มเห็นแล้วคือใน “รถยนต์” ที่มาพร้อมเซ็นเซอร์ “อัลตราโซนิก” ที่ใช้ลำแสงเป็นตัววัดระยะทางระหว่างยานพาหนะกับการจดจำท่าทาง (gesture recognition) ทำให้การขับขี่อัตโนมัติเป็นความจริงในชีวิตประจำวัน แต่ก่อนถึงจุดนั้นต้องทำความคุ้นเคยกับการใช้รถที่ต้องจองเพื่อใช้บริการตามกิจวัตร แจ้งอู่ว่าต้องทำอะไรบ้าง และกำหนดตารางการอัพเดตซอฟต์แวร์ด้วยตนเอง

ในเอเชีย-แปซิฟิก และญี่ปุ่น เป็นจุดยุทธศาสตร์สำหรับ IoT และการติดตั้งใช้งาน มีการลงทุนเพิ่ม และมีความริเริ่มจากภาครัฐบาล และความก้าวหน้าของ 5G เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ

หันมาสวมใส่ AR headsets

เส้นแบ่งระหว่างความเป็นจริงที่ “เป็นจริง” และเทคโนโลยีที่จำลองภาพเสมือนจริง (Augmented Reality) จะเริ่มหายไป การนำ AR ไปใช้ในเชิงพาณิชย์ชัดขึ้น เช่น ทีมคนงานก่อสร้าง, สถาปนิก และวิศวกร นำ AR headsets ใช้จำลองภาพในการสร้างสิ่งก่อสร้างใหม่ ๆ เป็นต้น

AR นำผู้คนมาอยู่รวมกัน ช่วยให้สื่อสารโต้ตอบกับข้อมูลในวิถีทางที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และภูมิภาคนี้เป็นโครงการวิจัยสำหรับแอปพลิเคชั่นเหล่านี้ ในฐานะจุดเริ่มต้นการเดินทางไปสู่การควบคุมนวัตกรรม AR และการนำมาใช้งานสัมพันธภาพกับลูกค้าที่ลึกซึ้งขึ้น

ดัชนีเกี่ยวกับการปฏิรูปสู่ดิจิทัลของเดลล์ เทคโนโลยีส์ (Dell Technologies : Digital Transformation Index) ชี้ให้เห็นว่า 52% ขององค์กรในเอเชีย-แปซิฟิก และญี่ปุ่น คิดว่าตนเองล้าสมัยใน 3-5 ปีข้างหน้า และ 83% รู้สึกว่าโดนคุกคามจากสตาร์ตอัพ

สิ่งที่ทวีความสำคัญกว่าที่ผ่านมา คือประสบการณ์ลูกค้าต้องมาก่อนสิ่งอื่นใด

และในปีหน้า ด้วยการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ประเมินว่า การเรียนรู้ของเครื่องจักรกล (ML-Machine Learning) และ AI แถวหน้า ช่วยให้ธุรกิจเข้าใจลูกค้ามากขึ้นและให้บริการได้ดีขึ้นในเวลาที่ต้องการหรือก่อนที่จะต้องการ ดังนั้นแทนที่จะยกเลิกการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าไปสู่ chatbots รุ่นแรก และกำหนดข้อความต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้า มนุษย์ และตัวแทนเสมือนจริงต้องทำงานเป็นทีมเดียวกัน ผู้บริโภคในเอเชีย-แปซิฟิก และญี่ปุ่น ต้องการการติดต่อสื่อสารผ่านระบบดิจิทัล และขับเคลื่อนด้วยโมบาย

เช็ก “อคติ” เหมือนเช็กตัวสะกด

ในทศวรรษหน้า เทคโนโลยี เช่น VR และ AI ช่วยให้ผู้คนค้นพบและดำเนินการด้านข้อมูลโดยไม่มีอารมณ์หรืออคติเข้ามาเกี่ยวข้อง และช่วยเพิ่มอำนาจในการตัดสินมนุษย์ได้เหมาะสม

และเห็นการนำ AI มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการจ้าง และการโปรโมตคนเพื่อคัดกรองอคติอย่างมีสติ

การนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้จะทำให้ “การเช็กอคติ” ง่ายเหมือนการ “เช็กตัวสะกด” แต่ให้ประโยชน์กับสังคมในวงกว้าง

“อีสปอร์ต” สื่อและความบันเทิง

ในปี 2018 เราได้เห็นผู้เล่นจำนวนมากนั่งหลังจอคอมพ์ หรือใช้ VR headsets ต่อสู้ในเกม มีผู้เล่นและผู้ชมหลายร้อยล้านคนเข้ามามีส่วนร่วม ทำให้ “อีสปอร์ต” กลายเป็นกระแสหลัก และมุ่งไปสู่เอเชี่ยนเกมส์ในปี 2022 ที่จะมีการชิงเหรียญทอง “อีสปอร์ต”

ปรากฏการณ์ “อีสปอร์ต” ชี้ให้เห็นแนวโน้มที่ขยายไปสู่วงกว้างมากขึ้น แม้แต่กิจกรรมที่เป็นสาระสำคัญของ “มนุษย์” อย่าง “กีฬา” ยังแปลงไปสู่ “ดิจิทัล” ในจีน ฮ่องกง และเกาหลีใต้ กำลังมุ่งไปสู่งานอีเวนต์และการลงทุน ขณะที่ “สิงคโปร์” มุ่งสร้างมืออาชีพด้านอีสปอร์ต มีสถาบันฝึกฝนเพื่อสร้างแชมเปี้ยน ขณะที่กีฬาแบบเดิม เช่น การปั่นจักรยาน ยกระดับการแข่งขันด้วยการเก็บเกี่ยวข้อมูลเพื่อหาข้อได้เปรียบ และวิธีพลิกโฉมการแข่งขัน

ในอนาคตองค์กรธุรกิจจะกลายเป็นองค์กรด้านเทคโนโลยี และเวลาว่างจะเป็นประสบการณ์แห่งการเชื่อมต่อ


เดินทางเข้าสู่ “มัลติ-คลาวด์”

คลาวด์ไม่ใช่จุดหมายปลายทาง แต่เป็นรูปแบบไอทีที่มีการฝังเรื่องระบบควบคุมการทำงานทั้งหมด ระบบอัตโนมัติ และระบบอัจฉริยะไว้ในโครงสร้างพื้นฐานไอที

ในปี 2018 องค์กรต่าง ๆ จะมุ่งไปสู่แนวคิด “มัลติ-คลาวด์” เพื่อให้มีข้อได้เปรียบจากคลาวด์ในทุกโมเดล ไม่ว่าจะเป็นไพรเวตคลาวด์, พับลิก คลาวด์ ไปจนถึงการโฮสต์การจัดการ และคลาวด์ในรูปของซอฟต์แวร์เชิงการบริการ (SaaS) เนื่องจากมีการย้ายแอปพลิเคชั่น และเวิร์กโหลดจำนวนมากขึ้นไปสู่คลาวด์ที่หลากหลาย ดังนั้นองค์กรต้องมีความสามารถเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์จากระบบวิเคราะห์ข้อมูล และความริเริ่มด้าน AI ส่งผลไปถึงแอปพลิเคชั่น และข้อมูลที่อยู่บนคลาวด์แบบผิดที่ผิดทางเพราะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ไม่ปรารถนา

ก้าวต่อไปจะเห็นการเกิด “เมกะคลาวด์” ซึ่งร้อยเรียงไพรเวตคลาวด์รวมถึงพับลิก คลาวด์ ไว้ด้วยกัน ให้ทำงานร่วมกันเป็นระบบรวม ปีแห่งการรักษาความปลอดภัย

ในโลกที่มีการเชื่อมต่อระหว่างกันมากขึ้น การไว้วางใจในบุคคลที่สามเป็นเรื่องสำคัญมาก องค์กรไม่ได้เป็นแค่หน่วยเล็ก ๆ แต่มีระบบเชื่อมต่อระหว่างกันมากมาย เป็นส่วนหนึ่งของบางสิ่งที่ยิ่งใหญ่ การกระเพื่อมของความยุ่งเหยิงจะแผ่ไปไกลขึ้น เร็วขึ้น และความสำคัญอันดับต้นคือการติดตั้งเครื่องมือรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ และเทคโนโลยีเพื่อปกป้องข้อมูล และป้องกันภัยคุกคามได้อย่างมีประสิทธิภาพ

องค์กรในเอเชีย-แปซิฟิก และญี่ปุ่นผลักดันให้เพิ่มงบประมาณด้านการรักษาความปลอดภัย และพยายามร่วมกันทั้งองค์กร เช่น การรับรู้ของพนักงาน การรักษาความปลอดภัย IoT อยู่อันดับต้นของลิสต์เรื่องการรักษาความปลอดภัยเพื่อรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตั้งแต่ในระดับจุดเชื่อมต่อเครือข่ายที่อยู่ใกล้อุปกรณ์, ระบบงานหลักไปจนถึงคลาวด์ (from edge to core to cloud) เนื่องจากนวัตกรรม IoT รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว