
กระทรวงดิจิทัลฯ ผนึก พันธมิตรผุดโครงการ “ชุมชนโดรนใจ” 1 ตำบล 1 ดิจิทัล แจก-ช่วยซื้อโดรน 60% ครอบคลุมชุมชนศักยภาพ 500 ชุมชน ตั้งศูนย์ซ่อม 50 ศูนย์
วันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า กระทรวงดีอีเอส เดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ผ่านเครื่องยนต์ใหม่ของประเทศไทย (The Growth Engine of Thailand) ซึ่งถือเป็นแผนการดำเนินงาน สำคัญที่มุ่งเน้นเป้าหมายด้านการเพิ่มขีดความสามารถด้านดิจิทัลในการสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันของประเทศ (Thailand Competitiveness) การสร้างความมั่นคงและปลอดภัยของเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล (Safety & Security) และการเพิ่มศักยภาพทุนมนุษย์ของประเทศด้านดิจิทัล (Human Capital)
- สถิติหวย ตรวจหวย ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวด 16 พ.ย. ย้อนหลัง 10 ปี
- ตรวจหวย ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล ตรวจผลรางวัล งวด 16 พ.ย. 2566
- ถ่ายทอดสดหวย ตรวจผลรางวัล ผลสลากกินแบ่งรัฐบาลวันนี้ (16 พ.ย. 66)
“สำหรับโครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล (ชุมชนโดรนใจ) โดยกระทรวงดีอีเอส และสำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัลหรือดีป้า จะช่วยส่งเสริมให้วิสาหกิจชุมชนสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างรายได้และก้าวทันความเปลี่ยนแปลงในยุคเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นการสร้างแห่ง บนฐานความรู้ ถึงการประยุกต์ใช้เป็น เป้าหมายในเรื่องของการเพิ่มความสามารถด้านดิจิทัลเพื่อสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันของประเทศตามแผนการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลไทย”
ภายใต้โครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล (ชุมชนโดรนใจ) ใน 6 ด้าน ประกอบด้วย ความร่วมมือการพัฒนาหลักสูตรผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานไร้คนขับ ประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากระยะไกล ความร่วมมือด้านการส่งเสริมและสนับสนุน ให้เกิดการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลกับกลุ่มชุมชนในห่วงโซ่การผลิต ความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
ความร่วมมือด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมอากาศยานไร้คนขับ ความร่วมมือด้านการส่งและสนับสนุนชุมชนประยุกต์ใช้เทคโนโลยีโดรนเพื่อการเกษตร และความร่วมมือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรการดูแลรักษาและการซ่อมบำรุงโดรนเพื่อการเกษตร ระหว่าง ดีป้า และเครือข่าย พันธมิตร ได้แก่ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย สถาบันการบินพลเรือน ธนาคารเพื่อการเกษตร
โครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล (ชุมชนโดรนใจ) จะมีส่วนในการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ และทักษะ ถูกต้องเกี่ยวกับการประยุกต์และซ่อมบำรุงจนเพื่อการเกษตร พร้อมรองรับการเปลี่ยนผ่านธุรกิจดั้งเดิม ศูนย์บริการซ่อมบำรุง ฉีดพ่น และจำหน่ายโดรนเพื่อการเกษตร คาดภายใน 1 ปีของการดำเนินโครงการจะเกิดศูนย์บริการฯ ทั่วประเทศ 50 ศูนย์ ผลักดันให้ชุมชนเกิดการประยุกต์ใช้โดรนเพื่อการเกษตร 500 ชุมชน สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ไม่น้อยกว่า 350 ล้านบาท
ด้าน ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กล่าวว่า การบูรณาการ การทำงานระหว่าง ดีป้า และเครือข่ายพันธมิตร มีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมการสร้างระบบนิเวศดิจิทัล เพื่อการยกระดับชุมชนด้วยเทคโนโลยีโดรนเพื่อการเกษตรผ่านการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ และทักษะ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการบินและการซ่อมบำรุงโดรนแก่กลุ่มเกษตรกรและชุมชนในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
โดยคณาจารย์และผู้เชี่ยวชาญ อีกทั้งส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนผ่านธุรกิจแบบดั้งเดิมไปสู่ศูนย์บริการซ่อมบำรุง ฉีดพ่น จัดจำหน่ายโดรนการเกษตรที่ได้รับการรับรองสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย (Made in Thailand : MIT) จากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และมาตรฐาน ASURE จากดีป้า
“ภายใน 1 ปีของการดำเนินโครงการจะเกิดศูนย์บริการฯ ทั่วประเทศ จำนวน 50 ศูนย์ ผลักดันให้ชุมชนเกิดการประยุกต์ใช้โดรนเพื่อการเกษตรจำนวน 500 ชุมชน คิดเป็นพื้นที่ทางการเกษตรรวมไม่น้อยกว่า 4 ล้านไร่ นอกจากนี้ ดีป้าและพันธมิตรจะเปิดอบรมหลักสูตรผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน ประเภทอากาศยาน การบินจากระยะไกล หลักสูตรการดูแลรักษา และการซ่อมบำรุงโครนเพื่อการเกษตร
ซึ่งเนื้อหาของทั้งสองหลักสูตรได้รับการออกแบบโดยดีป้า และผ่านการรับรองจากบันการบินพลเรียน พร้อมตั้งเป้าผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้บังคับหรือปล่อยอากาศ มีนักบิน 1,000 คน และหลักสูตรการดูแลรักษาและการซ่อมกรุง วนเพื่อการเกษตร 100 คน”
โดยเงื่อนไขของการได้รับโดรนฟรี คือ การที่ชุมชนรวมกลุ่มกันอย่างน้อย 10 ครัวเรือน และสามารถมีพื้นที่บินโดรนทางการเกษตรครอบคลุม 4 พันไร่ และหากมีไม่ถึง ก็สามารถให้รัฐช่วยจ่าย 60% และหากไม่มีเงินทุนเลย กลุ่มเกษตรกรสามารถเข้าถึงวงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำได้จาก ธ.ก.ส.