ทางรอดทีวีไทย เพิ่มเนื้อหาคุณภาพ สู้แพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง ?

PCC-ทีวีดิจิทัล-ภาพPCC

กสทช. เผยผลวิจัย ฉากทัศน์อุตสาหกรรรมทีวีไทย เทียบเคียง 7 ประเทศ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมทีวีคล้ายกัน ทำไมทีวีหลายประเทศชนะแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง

วันที่ 18 สิงหาคม 2567 ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้มีการจัดการประชุมเผยแพร่ผลการศึกษาภายใต้โครงการศึกษา “ฉากทัศน์กิจการแพร่ภาพกระจายเสียงในอนาคตของไทยภายใต้สภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป” ซึ่ง กสทช. ได้ว่าจ้างบริษัท SCF Associate LTD. เป็นผู้ทำการศึกษา โดยมีการเผยแพร่ผลการศึกษาหลายด้าน

ส่วนหนึ่งในผลการรายงานวิจัยที่น่าสนใจ คือ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และพฤติกรรมของผู้รับชม จุดเน้นคือแพลตฟอร์ม Over on Top หรือ OTT ตลอดจนสตรีมมิ่งแพลตฟอร์มที่กำลังท้าทายอุตสาหกรรมทีวีไทย

คำถามสำคัญคือ ในหลายประเทศทีวีอยู่รอดและเอาชนะใจผู้ชมในประเทศได้อย่างไร

ผลวิจัยบางส่วนอธิบายว่า อยู่ที่คุณภาพเนื้อหา ที่ แม้แต่แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งยังต้องทุ่มทุนมหาศาลเพื่อสร้างเนื้อหาคุณภาพให้กับผู้ชม แพลตฟอร์ม OTT รายใหญ่อย่าง Netflix ลงทุน 17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการจ้างผลิตเนื้อหาคุณภาพในปีที่แล้ว

แต่ก็ไม่ใช่แค่สตูดิโอ หรือผู้ผลิตสื่อเท่านั้น ผู้กำกับเแลอุตสาหกรรมก็ต้องมีกรอบการสนับสนุนและดูแลให้เกิดเนื้อหาคุณภาพด้วย ทั้งนี้ลำพังเนื้อหาก็อาจไม่เพียงพอต่อไป เพราะช่องทางในการเข้าถึงผู้ชมในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนผ่านก็ต้องคำนึงถึงความยืดหยุ่น เข้ากับแพลตฟอร์มและกลุ่มผู้ใช้งานอีกด้วย

ADVERTISMENT

เส้นทางของอุตสาหกรรมแพร่ภาพกระจายเสียงนับว่าถูกท้าทายจากหลายด้านทั้งเนื้อหา ช่องทาง และเทคโนโลยีใหม่

สถานการณ์แพลตฟอร์ม OTT ต่างชาติรุกไทย

ในเบื้องต้น รายงานชี้ผลสำรวจออนไลน์พฤติกรรมผู้รับชมตามกลุ่มอายุ ตั้งแต่วัยรุ่นถึง 30 ปี เข้าถึงคอนเทนต์ทีวีผ่านอุปกรณ์ เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเลต สมาร์ททีวีและอื่น ๆ แต่กระนั้นการสตรีมมิ่งก็ยังมีต่นทุนเครือข่าย ที่กลุ่มผู้มีรายได้น้อยอาจเข้าไม่ถึง รวมถึงตามเขตชนบทที่ยังนิยมดูทีวีอยู่

ADVERTISMENT

อย่างไรก็ตามแนวโน้มของ OTT ก็นับว่าได้แย่งส่วนแบ่งรายได้หลักอย่างชัดเจน จากผู้ให้บริการฟรีทีวี

ในบริบทประเทศไทย กลุ่มผู้ให้บริการ OTT จากต่างชาติรุกเข้ามา 2 กลุ่ม

• กลุ่มแรกจากสหรัฐอเมริกา (โดยเฉพาะกลุ่ม GAFAM ประกอบด้วย Google, Apple, Facebook/Meta, Amazon, Microsoft) ทุกรายล้วนเป็นผู้เล่นระดับโลก และมีมูลค่าทางการตลาดต่อปีราว ๆ 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีมูลค่ามาก เมื่อเทียบกับ GDP ของประเทศในกลุ่มอาเซียนซึ่งอยู่ระหว่าง 0.42-1.41 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

• กลุ่มที่สอง คือ กลุ่มแพลตฟอร์มออนไลน์หลักจากประเทศจีน เช่น ByteDance (TikTok), Viu, WeTV กลุ่มบริษัท GAFAM มีขนาดใหญ่กว่าขนาดของเศรษฐกิจของประเทศส่วนใหญ่ในอาเซียน กลุ่มเป็นเจ้าของแพลตฟอร์ม บริการออนไลน์ขนาดใหญ่ และมีบทบาทในตลาดแพร่ภาพกระจายเสียงทั่วโลก

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศสมาชิกอาเซียน ภูมิภาคนี้มีประชากรมากกว่า 700 ล้านคน และมีเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งมักเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วของการใช้บริการออนไลน์ กลุ่มนี้มีบริการสตรีมมิ่งที่สำคัญ เช่น YouTube, Twitch, ช่องช็อปปิ้ง และเว็บไซต์แบ่งปัน เนื้อหาแบบ short-form ที่สร้างโดยผู้ใช้ รวมถึงโซเชียลเน็ตเวิร์ก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาในระบบนิเวศของสื่อแพร่ภาพกระจายเสียงทางออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นมาก

ในอีกระยะหนึ่งมีแนวโน้มที่กลุ่มบริษัทเหล่านี้อาจเข้าซื้อกิจการผู้ให้บริการสตรีมมิ่งราย ใหญ่จากสตูดิโอฮอลลีวูด (ดิสนีย์, วอร์เนอร์, ยูนิเวอร์แซล เอ็มจีเอ็ม, พารามาวน์, โซนี่ ฯลฯ) รวมถึงเน็ตฟลิกซ์ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ สตรีมมิ่งที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดตอนนี้

นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของสตรีมเมอร์รายเล็กของไทยให้บริการเว็บไซต์สตรีมมิ่ง ซึ่งการเข้าถึงอาจมาจากการคำแนะนำ ของเว็บค้นหา กลุ่มนี้ยังไม่ได้มีมาตรการการจดทะเบียนหรือการกำกับดูแล เช่นเดียวกับแพลตฟอร์มระดับโลกและผู้ให้บริการ สตรีมมิ่งรายใหญ่จากสตูดิโอฮอลลีวูด (ดิสนีย์, วอร์เนอร์, ยูนิเวอร์แซล เอ็มจีเอ็ม, พารามาวน์, โซนี่ ฯลฯ) กลุ่มนี้เองก็มีโฆษณา จำนวนมาก และเสียภาษีเพียงเล็กน้อยในประเทศไทย อีกทั้งยังขาดมาตรฐานด้านการแข่งขันที่เท่าเทียมในมิติของการกำกับดูแล มาตรฐานเนื้อหาระหว่างดิจิทัลทีวีกับกลุ่มแพลตฟอร์มออนดีมานด์ และรวมถึงเรื่องมาตรการด้านทรัพย์สินทางปัญญาด้วย

ดังนั้น การคุ้มครองผู้บริโภคและลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญาจึงไม่มีการกำกับดูแลเลยในบริการเหล่านี้ ผู้เล่น OTT เหล่านี้ปรากฏ ตัวอย่างเต็มรูปแบบในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา โดยไม่มีมาตรการกำกับดูแล และยังแย่งชิงรายได้การโฆษณาไปจากผู้ให้บริการดิจิทัลทีวีด้วย

อุตสาหกรรมทีวีต่างประเทศตอบสนองอย่างไรกับ OTT

จากการศึกษาตลาดต่างประเทศในการศึกษานี้ จำนวน 8 แห่ง รวมถึงมาเลเซีย สิงคโปร์ และสหภาพยุโรป พบว่า ปัญหาโทรทัศน์ดิจิทัลแบบฟรีทีวีถูกท้าทายจากบริการสตรีมมิ่งนั้นเกิดขึ้นทั่วโลก แต่การตอบสนองต่อปัญหานั้นมีความแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละประเทศ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของสื่อในประเทศ (สื่อสาธารณะและสื่อเชิงพาณิชย์ที่มีเงื่อนไขผูกพันในการนำเสนอบริการเพื่อประโยชน์สาธารณะ) สภาพแวดล้อมอื่นในประเทศก่อนการเข้ามาของ OTT และการกำกับดูแล

ตัวอย่างเช่นในออสเตรเลีย บริการ OTT จากเน็ตฟลิกซ์ เข้าถึงครัวเรือนได้ 60% เนื่องจากการครอบคลุมของอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและเนื้อหาที่มีคุณภาพคำของเนื้อหาทางโทรทัศน์ ตรงกันข้าม ในฝรั่งเศส ผู้ชมส่วนใหญ่รับชมจากสถานีโทรทัศน์หลัก 7 แห่ง ซึ่งออกอากาศผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ (และโทรทัศน์ฟรีทีวี) พร้อมกับช่องสตรีมมิ่งและบริการแบบจ่ายต่อการรับชม เช่น Canal+ อันเป็นผลมาจากการผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพสูง

โดยช่อง ARTE เป็นตัวอย่างมาตรฐาน ในด้านของการรวมกิจการในระดับโลก ผู้ให้บริการสตรีมมิ่งพบว่าคุณภาพและความหลากหลายของเนื้อหานั้นสำคัญที่สุดที่จะเกิดสมรรถนะการแข่งขันในตลาด

ด้วยเหตุนี้ เน็ตฟลิกซ์จึงลงทุน 17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการจ้างผลิตเนื้อหาในปีที่แล้วและปีนี้ โดยสัดส่วนประเทศนอกสหรัฐอเมริกาอยู่ 70% และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นในปีต่อ ๆ ไป

ทั้งนี้ ธุรกิจสตรีมมิ่งจึงค่อนข้างเปราะบาง โดยสตูดิโอใน สหรัฐอเมริกาประสบกับการขาดทุนครั้งใหญ่ เช่น วอร์เนอร์บราเธอร์ส/ดิสคัฟเวอรี่ ได้ลดมูลค่าสินทรัพย์ลง 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมูลค่าตลาดลดลง 70% ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เดือนที่แล้ว ดิสนีย์ทำกำไรเล็กน้อยจากการสตรีมมิ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี หลังจากขาดทุน 11 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากการสตรีมมิ่ง