การเกษตร-SMEsไทยยังไม่พร้อมสู่4.0

“ซิสโก้” ชี้ไทยติด Top 3 ผู้นำปฏิวัติอุตสาหกรรมยุค 4 ของอาเซียน ย้ำอีก 10 ปี มูลค่าอุตสาหกรรมผลิตทะลุ 1.6 ล้านล้านบาท ขณะที่ SMEs-การเกษตรยังน่าห่วง เหตุปรับตัวช้า แรงหนุนภาครัฐยังไม่ชัดเจน

 

นายนาวีน เมนอน ประธานประจำภูมิภาคอาเซียนของบริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมการผลิตในอาเซียนมีมูลค่า 6.7 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ขับเคลื่อน 21% ของจีดีพี และคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 2 เท่า ในปี 2571 ทั้งการก้าวสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 จะเพิ่มมูลค่าสินค้าในทุก 1 เหรียญสหรัฐ เป็น 1.81 เหรียญสหรัฐ โดยเทคโนโลยีหลักที่ขับเคลื่อน ได้แก่ IoT, AI, 3D printing ,advanced robotics และ wearable เช่น AR/VRโดยปัจจุบันทุกประเทศให้ความสำคัญกับการก้าวสู่ยุค 4.0 แต่สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทยเป็นกลุ่ม Top 3 ด้านผู้นำในการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ ทั้งประเทศไทยยังเป็นอันดับ 2 รองจากอินโดนีเซียในการขับเคลื่อนมูลค่าอุตสาหกรรมการผลิตในอาเซียน

“ผลการศึกษาจากซิสโก้และ A.T. Kearney ชี้ว่าอุตสาหกรรมภาคการผลิตของไทยจะเติบโตจาก 1.3 ล้านล้านบาท เป็น 1.6 ล้านล้านบาท ใน 10 ปีข้างหน้า จากการปรับใช้เทคโนโลยียุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ในการปรับปรุงผลผลิตและเพิ่มไลน์สินค้าใหม่ ๆ”

นายนิโคไล ดอบเบอร์สไตน์ พาร์ตเนอร์ของบริษัท เอ.ที.เคียร์เน่ กล่าวเสริมว่า ปัญหาในการปรับใช้เทคโนโลยียังมีความช้าและไม่ต่อเนื่อง จาก 5 สาเหตุหลัก ได้แก่ 1.แรงงานยังมีราคาถูก 2.ขาดบุคลากรที่เชี่ยวชาญที่มีความชำนาญ 3.ยังไม่มีความต้องการของลูกค้าในตอนนี้ 4.อีโคซิสเต็มของซัพพลายเออร์มีความซับซ้อนและแยกออกเป็นส่วน ๆ

5.เป้าหมายทางธุรกิจเป็นแบบระยะสั้นและไม่ชัดเจน”หลายองค์กรสนใจในการทรานส์ฟอร์มแต่จะมีคำถามคือ ไม่รู้ว่าจะใช้โซลูชั่นอะไร ยังเรียงลำดับความสำคัญไม่ถูก เพราะเป็นเรื่องใหม่ จึงควรเริ่มในสิ่งใกล้ตัว ตอบโจทย์ในระยะสั้นก่อน”

ด้านนายวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยและอินโดจีนของบริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ กล่าวว่า ความท้าทายที่สำคัญของประเทศไทยคือต้องค้นหาแนวทางที่เหมาะสมเพื่อเร่งการปรับใช้เทคโนโลยีดังกล่าว โดยมี 3 ประเด็นหลักที่ควรมอง ได้แก่

1.มุ่งเน้นปัญหาสำคัญหรือเร่งด่วน

2.ระบุการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ไม่จำเป็นต้องใหม่

3.ดำเนินโครงการนำร่องโดยอาศัยการทำงานร่วมกัน

4.สร้าง partner ecosystem 5.สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ปรับขนาดได้อย่างยืดหยุ่น

โดยเน้น 4 ด้าน ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมต่อ, ระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์, แพลตฟอร์ม IOT และระบบวางแผนด้านทรัพยากรและการผลิตแบบครบวงจร 6.ปรับใช้เครื่องมือที่ช่วยเสริมศักยภาพ กลยุทธ์ที่เหมาะสม

สำหรับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล รวมถึงความสามารถที่เฉพาะเจาะจง ดัชนีชี้วัด และการปรับเปลี่ยนกระบวนการโดยมุ่งเน้นการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

“สิ่งที่องค์กรเจอคือความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปเร็วมาก มีความเฉพาะตัวสูงขึ้น ดังนั้นวางแผนระยะยาวเพื่อทำการผลิตไม่ได้ ต้องมีพาร์ตเนอร์มาช่วย เพื่อให้บริษัทสามารถโฟกัสกับธุรกิจหลัก รวมทั้งการรักษาคนในองค์กร เพราะคนที่มีทักษะหายาก”

สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตในไทยค่อนข้างตื่นตัวมาก โดยเฉพาะฝั่งพลังงาน, สาธารณูปโภค, เคมี แต่ที่ช้าจะเป็นเกษตรกรรม และที่น่าห่วงคือ SMEs เพราะแรงหนุนจากภาครัฐทั้งเงินทุน องค์ความรู้ยังไม่ชัดเจน

ขณะที่ซิสโก้ในประเทศไทยได้ตั้งทีมมาดูอุตสาหกรรมการผลิตโดยเฉพาะ มีช่องทางการจัดจำหน่ายใหม่ ขยายโฟกัสไปที่ IoT พร้อมขยายหลักสูตรด้านนี้เข้าสู่ภาคการศึกษาเพื่อเพิ่มทักษะบุคลากรและร่วมกับสภาอุตสาหกรรมและดีป้า ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ SMEsไทยยังไม่พร้อมสู่4.0