Social ไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก ตัวเลข ไม่การันตี Engagement

ทุกวันนี้ “อินเทอร์เน็ต” กลายเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะ “โซเชียลมีเดีย” ล่าสุด “ไวซ์ไซท์” (Wisesight) ผู้ให้บริการวิเคราะห์ข้อมูลสื่อสังคมออนไลน์ เผยภาพรวมการใช้งานโซเชียลมีเดียในไทย 4 เดือนแรก

“กล้า ตั้งสุวรรณ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า ปริมาณข้อความในโซเชียลมีเดียปีนี้จะมีกว่า 6,300 ล้านข้อความ เพิ่มขึ้น 19% จากปีก่อน ขณะที่เฟซบุ๊กมีผู้ใช้ 53 ล้านราย, อินสตาแกรม 13 ล้านราย และทวิตเตอร์ 9.5 ล้านราย โดย “ทวิตเตอร์” มียอดผู้ใช้เพิ่มสูงสุด ขณะที่ “เฟซบุ๊ก-อินสตาแกรม” มีผู้ใช้งานทรงตัว แต่โพสต์ข้อความเพิ่มเยอะเมื่อมีกระแส “ดราม่า” ต่าง ๆ เกิดขึ้นใช้เยอะ แต่ engagements ลด โจทย์ใหญ่ของนักการตลาดและแบรนด์ คือ สถิติการ engagements ที่ “แบรนด์” โพสต์ลงในโซเชียลมีเดียลดลง 18% ทั้งที่ใน 1,000 แบรนด์โพสต์ข้อความเพิ่มถึง 23% มีเพียง “ทวิตเตอร์” และ “ยูทูบ” เท่านั้นที่ ยอด engagements ของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ขณะที่ engagements ของเฟซบุ๊กเปลี่ยน จาก “ไลก์ เมนต์ แชร์” เป็น “ไลก์ แชร์ เมนต์”

แบรนด์รับมือไม่เป็น

ทั้งยังพบว่า กลุ่มผู้บริโภคอายุ 45 ปีใช้เฟซบุ๊กน้อยลงเพราะหันไปใช้ LINE แทน ส่วนอินสตาแกรมเป็นเรื่องของไลฟ์สไตล์ คนใช้เป็นเด็ก แต่ทวิตเตอร์ยังโตเรื่อย ๆ เพราะอัลกอริทึ่มไม่ซับซ้อน

“ทวิตมีแนวโน้มที่จะนำคอนเทนต์เข้าไปแล้วฮิตง่าย เพราะคนใช้เยอะขึ้น แต่ยังถูกใช้โฆษณาน้อย อย่างคอการเมืองถึงมีไม่เยอะแต่โพสต์เยอะ และกลุ่มติ่งเกาหลี ที่เริ่มโตและมีกำลังซื้อสูง

ไม่การันตียอด Engagement

จากการเก็บข้อมูล 1,000 influencers พบว่า มีการโพสต์คอนเทนต์ 4.49 แสนครั้ง มี engagements 1,321 ล้านครั้ง หากเปรียบเทียบกับการโพสต์คอนเทนต์ของ “แบรนด์” ผ่านโซเชียลมีเดีย มีจำนวนโพสต์มากกว่า “เท่าตัว” และมี engagement มากกว่า 10 เท่าตัวที่สำคัญพบว่า “influencers ที่โพสต์มากหรือมีผู้ติดตามมาก ไม่ได้สร้าง engagement ได้มากที่สุด”

หากแบ่งตามประเภทของคอนเทนต์ที่โพสต์ พบว่า กลุ่มที่ engagements สูง ได้แก่ ไลฟ์สไตล์บิวตี้ อาหาร social critic และสัตว์เลี้ยง

“ตอนนี้อินฟลูเอนเซอร์เติบโตมาก ทั้งจำนวนและเม็ดเงินของแบรนด์ที่ลง แต่ไม่มีตัวเลขว่าเติบโตแค่ไหน แต่ปัญหาคือ จะใช้อย่างไร ใช้แล้วเวิร์กแค่ไหน ต่อไปมีแผนจะทำ influencers analysis”


สำหรับกลุ่มที่แอ็กทีฟมากสุด ได้แก่ ช็อปปิ้งมอลล์ รัฐบาลและหน่วยงานรัฐ อีมาร์เก็ตเพลซ แบรนด์ที่ engagement มากสุด คือ เทเลคอม อีมาร์เก็ตเพลซ สายการบิน ส่วนเติบโตสุดคือ บริการทางการเงินเติบโต 40% อีมาร์เก็ตเพลซ 30% และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 28% ส่วนที่ engagement ลดลงมากสุด คือ ประกันลด 57% สินค้าแม่และเด็ก 49% และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 46%