ปิดฉากทีวี “สปริงส์” กรุ๊ป

หลังเที่ยงคืนของวันที่ 15 ส.ค.นี้ 2 ช่องทีวีดิจิทัลอย่าง “สปริงนิวส์”หมายเลข 19 และ “สปริง” หมายเลข 26 จะยุติการออกอากาศ หลังจากได้ยื่นขอใช้สิทธิ์ “คืนช่อง” ตามคำสั่ง คสช.ที่ 4/2562 ได้เปิดทางไว้ ถือเป็นการปิดฉากของช่องทีวีที่แรกเริ่มตั้งใจจะเป็น “ช่องข่าว” และเป็น 2 ช่องอยู่ภายใต้กลุ่มทุนเดียวกัน คือ บมจ.นิวส์ เน็ตเวิร์ค คอร์ปอเรชั่น

โดย “สปริงนิวส์” เป็นช่องทีวีดิจิทัลในหมวด “ข่าวสาร สาระ” ต่อยอดจากการเป็นช่องข่าวในทีวีดาวเทียมที่เริ่มออกอากาศในปี 2553 ก่อนจะขยับมาสู่ทีวีดิจิทัลในปี 2557 ซึ่งแรกเริ่มเปิดตัวมีเรตติ้งอยู่ที่อันดับ 16 แม้ในปีถัด ๆ มาจะสามารถเพิ่มเรตติ้งได้

แต่ด้วยการแข่งขันที่รุนแรง ทำให้อันดับเรตติ้งตกลงมาต่อเนื่อง จนอยู่ในกลุ่ม 5 อันดับช่องที่มีเรตติ้งน้อยสุด โดยเรตติ้งสูงสุดที่เคยทำได้ คือ 0.080 ในเขตกรุงเทพฯ เมื่อปี 2559 วนรายได้เมื่อเปิดตัวอยู่ที่ 130 ล้านบาท

ก่อนเพิ่มเป็น 192 ล้านบาท ในปี 2558 และลดเหลือ 183 ล้านบาทในปี 2559 และอยู่ที่ 190 ล้านบาทในปี 2560 ส่วนปี 2561 อยู่ที่ 224 ล้านบาท

ขณะที่ช่อง SPRING 26 หรือเดิมคือ NOW 26 แม้จะเป็นช่องทีวีดิจิทัลในหมวดวาไรตี้ความคมชัดปกติ (SD) แต่ผู้บริหารในขณะนั้นตั้งใจจะให้เป็น biz-life variety โดยใช้ทีมผลิตคอนเทนต์

จากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ในช่วงแรก

เน้นผลิตรายการข่าวเอง แต่เริ่มใช้การถ่ายทอดสด “มวยไทย” เป็นจุดขายตั้งแต่ปี 2558 และในปี 2560 ได้ทยอยปิดรายการข่าวที่ผลิตเอง หันมาเน้นการซื้อคอนเทนต์สารคดีแทน

จนปี 2561 ได้เปลี่ยนผู้ถือหุ้น และใช้การถ่ายทอดสด “มวย” ทุกวันเป็นจุดเด่น

โดยเรตติ้งของช่องเปิดตัวด้วยอันดับ 27 คือ 0.005 และสูงสุดที่เคยทำได้อยู่ที่ 0.223 ในพื้นที่ภาคเหนือ เมื่อปี 2561 และในปี 2561 มีเรตติ้งเฉลี่ยที่ 0.175

ส่วนรายได้ของช่องในปีแรกอยู่ที่ 196 ล้านบาท ปี 2558 อยู่ที่ 335 ล้านบาท ถือว่ามากที่สุด ก่อนที่จะลดลงเหลือ 280 ล้านบาทในปี 2559 และ 163 ล้านบาทในปี 2560 และในปี 2561


อยู่ที่ 214 ล้านบาท