นายอิงมาร์ หวาง ผู้อำนวยการ หัวเว่ย คอนซูมเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป ประเทศไทย กล่าวว่า หัวเว่ยได้เริ่มพัฒนา “HarmonyOS” หรือระบบปฏิบัติการ “หงเหมิง” (HongmengOS) ในภาษาจีน ตั้งแต่ปี 2017 และปัจจุบันพร้อมใช้งานแล้ว
แต่ HarmonyOS จะเน้นใช้สำหรับ IoT ก่อน และยืนยันว่าไม่มาเพื่อแทนที่ Android แต่มีไว้เผื่อกรณีที่กูเกิลไม่อนุญาตให้ใช้งานระบบปฏิบัติการณ์ ก็พร้อมที่จะใช้ HarmonyOS กับสมาร์ทโฟนได้ทันที
- วิกฤตหรือไม่วิกฤต คำตอบผู้ว่าการ ธปท.
- ในหลวง พระราชินี เสด็จฯส่วนพระองค์ ทรงร่วมแข่งเรือใบ จ.ภูเก็ต
- เช็กที่นี่ เงินอุดหนุนบุตร 600 บาท เดือนธันวาคม 2566 เงินเข้าวันไหน
โดย “HarmonyOS” มีจุดเด่นคือ 1.สามารถทำงานได้ในทุกอุปกรณ์แบบ seamless โดยเป็นระบบแรกที่เป็นแบบกระจาย (Distributed Operating System) โดยใช้ Microkernel ในการจัดทรัพยากรในระบบ เช่น กำหนดลำดับการทำงานของคำสั่งต่าง ๆ บนเธรด (Thread) และระบบ IPC จึงสามารถทำงานได้กับทุกอุปกรณ์
2.ปลอดภัยยิ่งขึ้น เพราะใช้ Microkernel ที่นอกจากจะช่วยจัดลำดับความสำคัญให้ Microkernel ยังมีระบบการยืนยันแบบ Formal Verification ที่ทำงานบน Trusted Execution Environment (TEE) ที่ช่วยให้เพราะระบบปฏิบัติการนี้มีจำนวนโค้ดที่ใช้ในการพัฒนาน้อยกว่าระบบปฏิบัติการอื่น ๆ ถึง 1 ต่อ 1,000 ทำให้ HarmonyOS มีช่องโหว่ของระบบน้อยกว่าระบบปฏิบัติการอื่นอย่างมาก
3.ทำงานได้อย่างลื่นไหลบนเทคโนโลยี Deterministic Latency Engine และ high-performance IPC ช่วยลดอาการหน่วงของแอปพลิเคชั่น 25.7% และ 4.Multi-Device IDE รองรับภาษาคอมพิวเตอร์หลากหลายภาษาและมีสถาปัตยกรรมที่รองรับการพัฒนาแอพพลิเคชั่นแบบเฉพาะ ช่วยให้นักพัฒนาเขียนโค้ดด้วยภาษาใดก็ได้ ช่วยลดเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์