หัวเว่ย ทลายข้อจำกัด AI ดึงนักพัฒนาสร้างนวัตกรรม

คอมพิวเตอร์วิทัศน์ หรือ computer vision คือ สาขาหนึ่งของวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับการดึงสารสนเทศจากรูปภาพหรือวีดิทัศน์ ล่าสุด “หัวเว่ย” ได้เปิดแผน “คอมพิวเตอร์วิทัศน์” ให้กับผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ระดับโลก เพื่อเปิดกว้างให้นักวิจัยและนักพัฒนาด้าน AI สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ จาก AI

“ศ.เทียน ชี่” หัวหน้าทีมนักวิทยาศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์วิทัศน์แห่งห้องปฏิบัติการโนอาห์ อาร์ก (Noah’s Ark) ของหัวเว่ย และสมาชิกของสถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (IEEE) เปิดเผยว่า หัวเว่ยได้ทุ่มทุนจำนวนมากในด้านการวิจัยขั้นพื้นฐาน การจัดการอุปสรรคขั้นพื้นฐานทั้ง 3 ในด้านการวิเคราะห์ภาพ (visual recognition) เพื่อให้สามารถสืบค้นความรู้จากข้อมูลจำนวนมหาศาล การออกแบบโมเดลสำหรับการวิเคราะห์ภาพ (visual recognition) และการเป็นตัวแทนสัญลักษณ์และการจัดเก็บของความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้แผนวิสัยทัศน์สำหรับนักพัฒนา AI ทุกคน

โดยประกอบด้วย 6 แผนย่อย ได้แก่ แผนภูเขาน้ำแข็งแห่งข้อมูล (data iceberg plan) : ใช้ข้อมูลจำนวนไม่มากจากข้อมูลที่ได้บันทึกไว้ ในการปลดปล่อยสมรรถภาพของข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ไม่เคยได้รับการบันทึก และสนับสนุนรูปแบบการฝึกฝน (model training) ในสถานการณ์ตัวอย่างขนาดย่อมที่หลากหลาย

แผนลูกเต๋ามหัศจรรย์แห่งข้อมูล (data magic cube plan) : ใช้การแสดงปริมาณหลากหลายรูปแบบ การจัดเรียง และกลยุทธ์แบบผสมผสานในการเพิ่มขีดความสามารถในการเรียนรู้ของโมเดลต่าง ๆ ตามสถานการณ์จริง

แผนโมเดลไฮ-ทัชชิ่ง (model high-touching plan) : สร้างโมเดลขนาดใหญ่บนเทคโนโลยีคลาวด์ เพื่อสำรวจขีดจำกัดความสามารถต่าง ๆ ของปฏิบัติการที่หลากหลายในด้านวิทัศน์

แผนลดจำนวนวิธี (mode slimming plan) : สร้างโมเดลระบบคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสำหรับฝ่ายอุปกรณ์ เพื่อช่วยให้ชิปสามารถหาข้อสรุปและเติมเต็มข้อวินิจฉัยอันซับซ้อนได้

แผนการมองเห็นทั่วไป : กำหนดภารกิจก่อนการอบรมด้านวิทัศน์ เพื่อสร้างโมเดลวิทัศน์แบบกว้าง

แผนการผนวกวีอาร์ (V-R integration plan) : ควบคุมคอมพิวเตอร์วิทัศน์สู่ AI ผ่านการผสมผสานการจำลองเสมือน (VR) เข้ามาใช้งาน

“ความสามารถทางการคำนวณอันทรงพลังของผลิตภัณฑ์ Atlas แพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์แบบ AI ของหัวเว่ย จะเร่งการนำแผนวิสัยทัศน์ไปปรับใช้จริงให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ผลการวิจัยเหล่านี้จะถูกนำไปใช้อย่างเต็มที่ใน MindSpore ซึ่งเป็นกรอบด้านการคำนวณแบบ AI ของหัวเว่ย ที่ครอบคลุมทุกสถานการณ์การใช้งานและเปิดเผยต่ออุตสาหกรรมเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมนักพัฒนาทุกคน”