อีคอมเมิร์ซไทยอะไรเปลี่ยนไปบ้าง

คอลัมน์ Pawoot.com
คอลัมน์ Pawoot.com
ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ

ผ่านไตรมาสแรกของปีไปเเล้ว ใครยังไม่ปรับตัวต้องขยับให้ทันแล้ว ครั้งนี้ยังพูดถึงเรื่อง “อีคอมเมิร์ซ” อีกครั้ง เพราะช่วยเป็นเข็มทิศให้คุณได้ ปีนี้ออนไลน์จะยังมีบทบาทมากเพราะพฤติกรรมคนไทยเปลี่ยนไปแล้ว ลองมาดูว่าอะไรบ้าง

  1. คนไทยซื้อสินค้าทางออนไลน์เป็นหลักแล้ว สินค้าหลายกลุ่มการซื้อออนไลน์นำไปแล้ว เช่น เครื่องสำอางเคาน์เตอร์แบรนด์ การท่องเที่ยวที่ซื้อและจองผ่านออนไลน์กันหมด น่าจะมาจากโครงการต่าง ๆ ที่ภาครัฐช่วยกระตุ้นให้คนไทยเข้าสู่ออนไลน์

และการทุ่มเงินในตลาดอีคอมเมิร์ซของยักษ์ใหญ่อย่าง Lazada, Shopee และ JD โดยเฉพาะโฆษณาวัน double days ทั้งหลาย และปีนี้กำลังซื้อจากต่างจังหวัดจะโตกว่ากรุงเทพฯ เพราะโฆษณาทีวี การชำระเงิน การขนส่งที่ส่งไปที่ไหนได้หมด

2. ตลาดค้าปลีกออนไลน์จะโดนคุมแบบเบ็ดเสร็จในหลายกลุ่มสินค้า กลุ่ม JSL (เจดี-ช้อปปี้-ลาซาด้า) เห็นจากช่วงวัน double days ที่กำลังซื้อช่วงนั้นหายไปเพื่อมารอซื้อของออนไลน์

คนในชุมชนเริ่มมาซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น เม็ดเงินเข้าไปในกลุ่ม JSL มากขึ้น เรียกได้ว่าคุมตลาดค้าปลีกแบบเบ็ดเสร็จทำให้ร้านค้าปลีกต้องปรับตัวโดยหันมาซื้อจากออนไลน์ให้ได้ราคาถูกลงบ้าง

3. ธุรกิจขนส่งแข่งขันรุนแรง ราคาถูกลง คุณภาพดีขึ้น เพราะมีบริษัทขนส่งนับสิบบริษัท มีการระดมทุนได้ระดับหมื่นล้าน ฉะนั้น ธุรกิจนี้จะโตมหาศาล ราคาค่าขนส่งถูกลงแต่คุณภาพดีขึ้น มีการลงทุนอินฟราสตรักเจอร์จนครบ และกระจายทั่วประเทศทำให้ส่งของเร็วขึ้น

4. ระบบชำระเงินดีขึ้น เป็นปีที่วิธีชำระเงินผ่านช่องทางดิจิทัลมีความหลากหลายและดีขึ้น มีการเซ็กเมนต์ลูกค้าในแบบที่แตกต่าง เข้าถึงลูกค้ามาก และช่วยให้จ่ายเงินสะดวกขึ้น ตอนนี้มีบริการผ่อนค่าสินค้าราคาแพงทางออนไลน์ได้ด้วยผู้ประกอบการทั่วไปก็ให้บริการได้

โดยให้บริการผ่อนชำระแบบเชื่อมมาที่เว็บไซต์หรือช่องทางขายทางโซเชียลมีเดียได้เลย ปัจจุบันเราทำให้ธุรกิจมีระบบชำระเงินออนไลน์ที่ครบวงจรได้ง่าย มีเพย์เมนต์เกตเวย์ที่สมัครและใช้บริการที่พูดมาได้

5. เจ้าของสินค้าขายตรงเอง เทรนด์ D2C (direct to consumer) มาแรง แบรนด์หรือโรงงานที่ผลิตสินค้าหันมาเปิดร้านบนมาร์เก็ตเพลซ มีช่องทางติดต่อสื่อสารกับลูกค้าเองผ่านเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดีย

ทั้งโฆษณาได้เอง ทำให้แบรนด์ต่าง ๆ ไม่ต้องพึ่งช่องทางการขายเดิม เทรนด์ D2C เริ่มเห็นมากขึ้นเพราะขายตรงผู้บริโภคได้มากขึ้น ได้ราคา ได้กำไร ที่สำคัญได้ข้อมูลลูกค้าของตัวเองด้วย

6. food delivery โตก้าวกระโดด ทุกพื้นที่ในไทยจะสั่งอาหารผ่าน food delivery ได้ ผู้ให้บริการไปแข่งขันในสมรภูมิต่างจังหวัดมากขึ้น เพราะระบบนิเวศ food delivery โตขึ้น เห็นได้จากcloud kitchen กำลังกระจายไปทั่วประเทศ ร้านอาหารเริ่มขยายตัวไปตาม cloud kitchen ในที่ต่าง ๆ เพื่อให้บริการอาหารกับคนทั่วประเทศได้

7. ยักษ์ใหญ่บุกอีคอมเมิร์ซเต็มตัว ไม่ว่าจะเป็น Google, Facebook, LINE หันมาให้บริการอีคอมเมิร์ซในทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างร้านค้า การชำระเงิน โฆษณาครบวงจร สร้างระบบนิเวศของตัวเองขึ้นมา ทางรอดของผู้ประกอบการ คือ เข้าไปทุกช่องทาง

8. โฆษณาออนไลน์เป็นเรื่องที่ใครก็ทำได้ การปรับแต่งโฆษณาแม่นยำมีประสิทธิภาพขึ้น จ่ายค่าโฆษณาถูกลง วันนี้ต้องก้าวข้ามไปอีกขั้น ต้องมีประสิทธิภาพขึ้น มีทีมและคนที่แข็งแกร่งมาช่วยปรับแต่งโฆษณา ต่อไปการโฆษณาจะไม่ดู awareness ไม่ดูการเข้าถึง แต่เน้นผูกกับยอดขายแล้ว

9. กลุ่มลูกค้าจะแตกเป็นชิ้นเล็ก ๆ fragmented market กระจายไปยัง community ต่าง ๆ การหาลูกค้าไม่ใช้ demographic อีกแล้วแต่ใช้ behavior เช่น ต้องการเข้าถึงคนที่ซื้อของเล่น เมื่อก่อนเป็นเด็ก ๆ ตอนนี้ไม่ใช่แล้ว เพื่อนผมอายุ 40 กว่ายังสะสมของเล่น ฉะนั้น การทาร์เก็ตลูกค้าต้องใช้ behavior และ lifestyle ซึ่งโฆษณาออนไลน์ช่วยได้ดี

10. influencer commerce อินฟลูเอนเซอร์มีอิทธิพลต่อการซื้อสินค้ามากขึ้น เจ้าของสินค้าหรือแบรนด์ต้องเรียนรู้การใช้อินฟลูเอนเซอร์ ต้องรู้ว่าคนไหนมีอิทธิพลต่อกลุ่มเป้าหมายของสินค้าเรา มีอินฟลูเอนเซอร์หลายกลุ่มที่จะเลือกได้ว่ากลุ่มไหนใช่ของเรา ตั้งแต่ระดับใหญ่ กลาง เล็ก ไป